โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีความซับซ้อนมากขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยพบว่าจะมีสภาวะที่ซับซ้อนมากขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในแง่ของการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ การเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจะต้องได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัย และไม่ติดต่อไปสู่ผู้อื่น


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีชื่อเรียกโดยย่อว่า โรค STD (Sexually Transmitted Disease) โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ก่อนใช้คำว่า “กามโรค” ในการเรียกโรคเหล่านี้ ได้แก่ โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคแผลริมอ่อน (Chancroid) โรคซิฟิลิส (Syphillis) เป็นต้น แต่ปัจจุบันพบว่ามีโรคติดต่ออีกหลายชนิดที่สามารถติดต่อได้ด้วยทางอื่นนอกจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ทางการแพทย์เรียกรวมเรียกโรคเหล่านี้ว่า “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” เช่น โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อ Human Immunodeficiency Virus (HIV) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น การแบ่งตามชนิดของเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา


ปัจจัยที่สำคัญในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อายุ โดยพบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุวัยรุ่นจนถึง 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีพฤติกรรมของความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศสัมพันธ์
การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และไม่มีการป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายรักร่วมเพศ
อาการของผู้ป่วยที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในขั้นต้นอาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ หรืออาจจะมีอาการตกขาวลักษณะผิดปกติในสตรี มีแผลที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะขัดหรืออาจมีความผิดปกติในระบบอื่นของร่างกายก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของเชื้อ และระยะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง


การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือการงดการมีเพศสัมพันธ์ กรณีที่ไม่สามารถงดได้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ดังนี้
ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆและป้องกันโดยการที่ผู้ชายต้องใส่ถุงยาง
ให้ผู้ชายใส่ถุงยางทุกครั้ง โดยเฉพาะกรณีมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า
ตรวจเลือดประจำปีทุกครั้ง เพื่อหาเชื้อโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะคู่ที่แต่งงานใหม่
ห้ามร่วมเพศหากมีประจำเดือนเพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคมากขึ้น
ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเพราะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ


การปฏิบัติตัวในผู้ที่ทราบว่าติดเชื้อ
ควรแจ้งให้คู่สามี/ภรรยา หรือคู่นอนของตัวเอง ให้ทราบเพื่อรีบทำการรักษา
งดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังคนอื่น
ให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทันท่วงทีและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง


อ้างอิงข้อมูลจาก : บทความ เรื่องควรทราบเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย อ.ดร.ภก.คณินทร์ รังสาดทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1. ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบ Screening ราคา 1,350 บาท
2. ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบเชิงลึก ราคา 1,690 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
