วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Influenza vaccine)

 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

 

ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน พบได้บ่อยในประชากรทุกกลุ่มอายุ อาการแสดงมีตั้งแต่อาการไข้ น้ำมูกไหล จนถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เพราะฉะนั้นการได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถช่วยให้ประชาชนสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ลดการป่วยและเสียชีวิต ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมได้ สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่สถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านคุณ


ไข้หวัดใหญ่คืออะไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม - มีนาคม) ของทุกปี อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ เป็นโรคที่ติดต่อจากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอและการจามของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำลาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-4 วัน 


อ้างอิงจาก :
 แพทย์หญิงกนกพร รังสิตเสถียร อาจารย์แพทย์หญิงวรรษมน จันทรเบญจกุล. โรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย


อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไปจะคล้ายไข้หวัดจากเชื้ออื่น ๆ ทั่วไป แต่อาจมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรง มีไข้ และเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่า ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว โดยทั่วไปจะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากหาย อาจมีอาการอ่อนเพลียมึนงงไปอีกหลายสัปดาห์

  • ในกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นจะมีอาการของไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น

  • ในเด็กเล็กจะมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางระบบอื่น เช่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน และชักจากไข้สูง 


ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของไข้หวัดใหญ่คือ ปอดอักเสบ ตำแหน่งอื่นที่พบภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ได้ คือระบบทางเดินประสาท และระบบกล้ามเนื้อ

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
  • ชนิดไม่รุนแรง

คือ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมพอง หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ

 

  • ชนิดรุนแรง

คือ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มมองอักเสบ เกิดอัมพาต ซัก แขนขา อ่อนแรง และโคม่า, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลอดเลือดดำอักเสบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการกำเริบของโรคเดิมที่เป็นอยู่

" ถ้ามีอาการของโรคแทรกซ้อน เช่น หายใจเร็ว แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ซึม ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไอเป็นเลือด

หรือผ่านไป 3 วันแล้วยังมีไข้สูงหรืออาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์ทันที "


วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่

วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
  • เมื่อมีไข้ควรหยุดเรียนหรือหยุดงาน ควรแยกตัวเองและสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น

  • นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ห้ามทำงานหนักและยังไม่ควรออกกำลังกายในระหว่างนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด น้ำเกลือแร่ น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ให้มาก ๆ 

  • เช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง ถ้าหากไข้ยังไม่ลดลง ให้รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamo) เพื่อลดไข้แก้ปวด ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin)

  • ถ้ามีอาการไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือให้รับประทาน ยาแก้ไอ สำหรับผู้ที่เจ็บคอ ให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น

  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ

นอนพักผ่อนเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
  • รับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น

  • เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเสมอ

  • ใช้ทิชชู่ในการสั่งน้ำมูกหรือเช็ดปาก หลังจากใช้เสร็จให้ทิ้งทิชชู่ลงถังขยะ ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า

  • งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้

  • สำหรับยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะใช้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคที่เรีย

  • ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีไข้สูงเกิน 39-40 องศาเซลเซียสและไข้ไม่ลดลงหลังจากรับประทานยาลดไข้ ไอมาก มีเสมหะ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว มีผื่นขึ้น, อาการต่าง ๆ แย่ลง หรือกังวลในอาการ เพื่อรับการรักษาไข้หวัดใหญ่จากแพทย์

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ปิด ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม

  2. ล้าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

  3. เลี่ยง หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย ถ้าจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง

  4. หยุด เมื่อป่วย ควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด

  5. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมทำงานหนักจนเกินไป

  6. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก, ผู้หญิงตั้งครรภ์


วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่คืออะไร

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว โดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้แต่อาการจะน้อยลง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ป้องกันไข้หวัดทั่วไปที่เกิดจากเชื้ออื่น ๆ ได้

 

องค์การอนามัยโลก(WHO) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ประจำปี 2023-2024 (The 2023-2024 Northern hemisphere influenza season) ประกอบด้วย

  1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ตระกูล Victoria (H1N1)

  2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ตระกูล Darwin (H3N2) (เปลี่ยนจากปี 2021)

  3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Austria (B/Victoria lineage) (เปลี่ยนจากปี 2021)

  4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Phuket (B/Yamagata lineage)


ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. ช่วยลดการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่

  2. ช่วยปกป้องคนรอบตัวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรง

  3. ช่วยป้องกันผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคเรื้อรังและเด็กเล็ก

  4. ช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่

  5. ช่วยลดการขาดงานหรือขาดเรียน

  6. ช่วยลดอัตราการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่

  7. ช่วยลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตจากโรค


กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

  2. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

  3. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี    วัคซีนที่เด็กวัยเราจำเป็นต้องฉีด

  4. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน

  5. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป

  6. ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

  7. โรคธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ)

  8. ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมหรือ BMI ตั้งแต่ 35ke/m2


ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ได้ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขา

 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. อาการเจ็บ แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีด

  2. ปวดศีรษะ

  3. ไข้

  4. คลื่นไส้

  5. อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย สามารถบรรเทาอาการปวด บวม บริเวณที่ฉีดโดยประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม

ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

การแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตมีน้อยมาก ถ้าหากเกิดขึ้นจะปรากฎ ภายใน 2 -3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีด หากมีอาการดังนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  1. หายใจไม่สะดวก

  2. เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง

  3. ลมพิษ ซีดขาว

  4. อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว

  5. วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ควรระวัง

  1. ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

  2. คนที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ผลิตจากไข่ไก่

  3. ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง

  4. ผู้ที่มีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน

  5. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน


เอกสารอ้างอิง :
 เอกสารแนะนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับประชาชน ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ด้วย "วัคซีน". สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เปรียบเสมือนเกราะป้องกันเชื้อโรค ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และลดความรุนแรงของโรคได้ ช่วยป้องกันอาการเรื้อรัง ส่งผลดีต่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่ต้องการคำปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือต้องการรักษาไข้หวัดใหญ่สามารถเข้ามาพบคุณหมอของเราที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขา โดยค้นหาจาก คลินิกใกล้ฉัน ใน Google หรือโทรสอบถามได้ตามที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์ค่ะ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 14/07/2023

page counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้