ตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศคืออะไร

Last updated: 28 ต.ค. 2565  |  6520 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ

ตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศคืออะไร

         การตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ คือ การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศ ทั้งการทำงานแบบประจำและชั่วคราว เพื่อให้ทราบถึงความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและความพร้อมของจิตใจในการทำงาน ส่งผลเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของการงานออกมาเหมาะสมตามที่ได้รับมอบหมาย

 

       

        ลักษณะของงานในแต่ละสาขาอาชีพนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากขาดการป้องกันที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากหน้างาน หรือแม้กระทั่งปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเอง

        จึงทำให้ทุกอาชีพควรต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ยิ่งถ้าหากเป็นคนต้องทำงานในสถานที่อับอากาศ พื้นที่จำกัด คับแคบ หรือสภาพอากาศไม่เป็นใจ การตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ห้ามมองข้าม เพื่อให้มั่นใจว่าก่อนเริ่มงานร่างกายและจิตใจของผู้สมัครมีความพร้อมจริง ยืนยันได้จากใบรับรองแพทย์

 


นิยามของสถานที่อับอากาศ เพื่อตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ

       ตามกฎกระทรวงแรงงาน นิยามคำว่า สถานที่อับอากาศ (Confined Space) หมายถึง สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในการทำงานที่เป็นอันตรายกับร่างกาย เช่น ท่อ, เตา, ถังไซโล, อุโมงค์, หลุม, บ่อ, ห้องใต้ดิน, ห้องนิรภัย, หรืออื่นใดก็ตามที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ เป็นแหล่งสะสมของสารพิษ สารไวไฟที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้อสูดดมเข้าไป

       ส่วนคำว่าสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศอันตราย หมายถึง มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่า 23.5 โดยปริมาตร หรือมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟและระเบิดได้มากกว่าปริมาณที่กำหนด ทั้งนี้นายจ้างจะต้องทำการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศให้กับลูกจ้างที่ทำงานด้านนี้ทุกคนก่อนเริ่มงาน คล้ายเป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อยืนยันว่าพนักงานไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรืออื่นใดก็ตามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเมื่อมีการทำงานในสถานที่อับอากาศ

 

10 อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

1. ภาวะขาดออกซิเจน

       สถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อม เพื่อจะทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ การตรวจสุขภาพอับอากาศทุกปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานนี้

 

2. อุบัติเหตุไฟไหม้ เช่นแก๊สระเบิด (Combustible Gas)

       สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็น ท่อส่งแก๊ส หรือถังเก็บก๊าซ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ หรือ ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

 

3. การสูดฝุ่นละออง

       ฝุ่นละอองเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องสวมหน้ากากป้องการสูดฝุ่นละออง และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากในพื้นที่เสี่ยง

สูดดมแก๊สพิษ

4. ดมแก๊สพิษ

       ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ รวมถึงบางแห่งเกิดก๊าซจากการสะสมสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดก๊าซพิษได้ ดังนั้นต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง และ ตรวจสอบหน้ากากว่าต้องแนบสนิทกับใบหน้าทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ

 

5. อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ

        สถานที่อับอากาศบางแห่งอยู่สูงหรือลึกกว่าพื้นดิน ทำให้อุณหภูมิผิดปกติ ดังนั้นสุขภาพที่แข็งแรง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการปรับสมดุลของร่างกาย และอย่าลืมตรวจสุขภาพอับกาศเป็นประจำทุกปี

 

6. ประสิทธิภาพการได้ยินที่ลดลง

       แน่นอนเมื่อเราใส่ชุดป้องกันเพื่อความปลอดภัย ความชัดเจนของการได้ยินจะลดลง อีกทั้งในสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่จะมีเสียงก้อง ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลงอย่างมาก ดังนั้นการตรวจการได้ยินในโปรแกรมตรวจสุขภาพอับอากาศเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง

พื้นที่อับอากาศ ส่งผลต่อการมองเห็น

7. การมองเห็นในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

       การทำงานในพื้นที่อับอากาศ บ่อยครั้งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทำให้มีความเสี่ยงในการทำงานที่ผิดพลาดหรือ กรณีฉุกเฉินการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการหนีออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที

 

8. ภาวะเครียดหรือกดดันจากสภาพงาน ส่งผลการทำงานที่ผิดพลาด

       สถาวะแวดล้อมในพื้นที่อับอากาศให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน และลดทอนความเสี่ยงที่จะให้เกิดความเครียด เช่น วิธีการพูดหรือสื่อสารระหว่างกัน

 

9. การอพยพหรือหนีภัยออกจากพื้นที่ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

        อุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การซ้อมการหนีภัยและการอพยพเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรละเลย ควรจะตั้งใจและตระหนักถึงความสำคัญ เพราะเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเวลา

พื้นที่อับอากาศ ส่งผลต่อการมองเห็น

10. ผิวหนังอักเสบหรือไหม้จากสารพิษ

       เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศมีโอกาสสัมผัสสารพิษ หรือ แมลงหรือสัตว์พิษบางชนิด ดังนั้นการสวมชุดอับอากาศที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น


 

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศต้องตรวจหาอะไรบ้าง

        ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อขอใบรับรองแพทย์สำหรับทำงานในสถานที่ดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

  1. การสอบถามข้อมูลสุขภาพ การตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ

  2. ตรวจร่างกายและค้นหาความเสี่ยงในการทำงานในสถานที่อับอากาศ

  3. การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และตรวจเลือด สำหรับตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ

 

ส่วนที่ 1 การสอบถามข้อมูลสุขภาพการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับสถานที่อับอากาศ

       แพทย์จะทำการสอบถามประวัติการเจ็บป่วยหรือถามข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว

  2. โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและหลอดเลือดหัวใจ

  3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  4. โรคหัวใจโต

  5. โรคถุงลมโป่งพอง

  6. โรคหอบหืด

  7. โรคปอด

  8. โรคลมชัก

  9. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  10. โรคหลอดเลือดสมอง

  11. โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

  12. โรคเกี่ยวกับข้ออักเสบ

  13. ความผิดปกติของกระดูกและข้อ

  14. โรคกลัวที่แคบ

  15. โรคทางจิตเวช

  16. โรคเบาหวาน

  17. ภาวะเลือดออกง่าย

  18. โรคไส้เลื่อน

  19. ตั้งครรภ์อยู่หรือไม่

  20. ครั้งสุดท้ายที่เป็นประจำเดือน

 

ส่วนที่ 2 ตรวจร่างกายและค้นหาความเสี่ยงก่อนเริ่มงานเมื่อต้องทำงานกับสถานที่อับอากาศ

  1. ดัชนีมวลกาย

  2. ความดันโลหิต

  3. อัตราเร็วชีพจร

  4. การมองเห็นระยะไกล

  5. การได้ยินเสียงพูด

 

ส่วนที่ 3 การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และตรวจเลือด เพื่อเช็คสุขภาพก่อนทำงานในสถานที่อับอากาศ 

  1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  2. เอ็กซ์เรย์ทรวงอก

  3. ตรวจสมรรถภาพของปอด

  4. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

  5. ตรวจการตั้งครรภ์

 

        ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อับอากาศ ควรมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน การตรวจสุขภาพประจำทุกปี หรือตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ กรณีมีโรคที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายเมื่อปฏิบัติงานควรประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพก่อนเริ่มทำงาน หรือหลีกเลี่ยงการทำงานนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อพนักงานทุกคน บริษัทหรือห้างร้านจึงควรการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศให้กับพนักงานที่ทำงานเป็นประจำทุกปี

 

 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศกับอินทัชเมดิแคร์

  1. อินทัชเมดิแคร์มีการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศด้วยโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ พร้อมทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อทำให้ผู้เข้าปฏิบัติงานมีความพร้อมทั้งกายและใจต่อการทำงานในสถานที่ดังกล่าว

  2. เลือกสถานที่ตรวจได้จากทั้ง 5 สาขาของเรา เพียงค้นหาคลินิกใกล้ฉัน แล้วเดินทางไปเข้ารับการตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศได้อย่างรวดเร็ว

  3. ใบรับรองแพทย์ของอินทัชเมดิแคร์ สามารถใช้เพื่อยืนยันเข้าปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศได้ (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจ ของ จป. ด้วย)

  4. ผู้เข้ารับการตรวจก่อนเริ่มงานจะรู้ถึงสุขภาพร่างกายของตนเองว่าเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคใด ๆ หรือไม่

 

คลิกดูตรวจสุขภาพ ทำงานในสถานที่อับอากาศ 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 
    ไลน์เพิ่มเพื่อน
  @qns9056c
  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้