รายการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศเพื่อขอใบรับรองแพทย์

Last updated: 23 เม.ย 2567  |  13942 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รายการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ

การทำงานในสถานที่อับอากาศ มีความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงานและอันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศตลอดเวลา เช่น หน้ามืด , หมดสติ , หมดแรง , มือเท้าชา เนื่องจากต้องทำงานในพื้นที่ขนาดจำกัด, มืด, อับ,ชื้น ออกซิเจนน้อย ขณะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนมากปกติ ดังนั้น ต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานเพื่อตรวจสอบความพร้อมของร่างกายว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่

เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนโดยตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์ ทำงานที่อับอากาศ และหมั่นตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มาดูกันว่ารายการตรวจสุขภาพที่อับอากาศ ต้องตรวจอะไรบ้าง


รายการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ

  1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination

  2. ใบรับรองแพทย์สำหรับปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ (Medical Certificate For Working In Confined Space)

  3. เอกซเรย์ปอด / Chest X-Ray

  4. การตรวจสายตาเบื้องต้น / Visual Acuity Test

  5. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด / CBC

  6. ตรวจการตั้งครรภ์ / Pregnancy Test

  7. ตรวจการได้ยิน / Audiometric Test

  8. ตรวจสมรรถภาพปอด / Pulmonary Function Testing

  9. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ / Electrocardiogram

  10. ระยะเวลาการตรวจและรายงานผล

ดูราคาตรวจสุขภาพที่อับอากาศ


ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination

  • เป็นคำถามคัดกรองถึงความเสี่ยงในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ หอบหืด ความผิดปกติของระบบประสาท ระบบเลือดต่างๆ

  • สาเหตุเนื่องจากการทำงานในที่อับอากาศจะมีปฏิบัติงานในสถานที่คับแคบ ประวัติโรคข้างต้นจึงจำเป็น

    เพื่อประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมทางร่างกายต่อการปฏิบัติงานเพียงใด 

  • รวมไปถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการปฏิบัติงานอีกด้วย


ใบรับรองแพทย์สำหรับปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ (Medical Certificate For Working In Confined Space)

  • ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพจะได้รับใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศโดยเฉพาะ โดยมีรายการตรวจตามที่กฎกระทรวงกำหนด

  • นายจ้างสามารถอ้างอิงความเห็นของแพทย์ตามข้อมูลในรับรองแพทย์ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศได้


เอกซเรย์ปอด / Chest X-Ray

ภาพรังสีทรวงอกหรือเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)

  • ช่วยคัดกรองภาวะอักเสบในเนื้อปอดจากสารเคมี

  • ช่วยคัดกรองการติดเชื้อในปอดในระยะแพร่กระจาย เช่น วัณโรคระยะแพร่กระจาย 

  • ภาวะดังกล่าวจัดว่ามีความเสี่ยง ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ


ตรวจสมรรถภาพกางมองเห็น (Visual Acuity Test)

  • เป็นการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล ทั้งสองตา

  • หากผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตาเกินค่าที่ยอมรับได้ จะต้องทำการแก้ไขโดยการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ให้สามารถมองเห็นได้ชัด จึงจะสามารถปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศได้

รับบริการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ


ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

  • คัดกรองภาวะโลหิตจางรุนแรง จะทำให้หมดสติในสถานที่อับอากาศได้ง่าย

  • ตรวจปริมาณเกล็ดเลือด ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อการเลือดออก หรือเสียเลือดมาก จากการกระทบกระแทกได้ง่าย เมื่อปฏิบัติงานในสถานที่คับแคบ


ตรวจการตั้งครรภ์ในผู้หญิง (Pregnancy Test)

ตรวจการตั้งครรภ์ในผู้หญิง (Pregnancy Test)

  • ผู้ที่มีการตั้งครรภ์อยู่ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศเนื่องจากสถานที่แคบและอากาศไม่ไหลเวียน ทำให้มีโอกาสได้รับสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานได้มากกว่าปกติ เช่น ไอตะกั่ว ตัวทำละลายในสีหรือกาว ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้


ตรวจสมรรถภาพการได้ยินเสียงพูด (Audiometric Test)

  • การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศจำเป็นจะต้องได้ยินเสียงเตือนของผู้ร่วมงาน รวมถึงสัญญาณเตือนต่างๆได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

  • หากมีปัญหาทางการได้ยิน ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับกาศ และควรตรวจหาสาเหตุและรักษา กับแพทย์หู คอ จมูกต่อไป


ตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Testing)

  • เป็นการตรวจเป่าลมหายใจผ่านเครื่องมือตรวจวัด เพื่อประเมินการขยายตัวของปอด จากปริมาตรและอัตราการไหลของลมหายใจ

  • หากมีความผิดปกติในการขยายตัว หรือผิดปกติแบบอุดกลั้นแบบปานกลางถึงรุนแรง ไม่ควรทำงานในสถานที่อับอากาศ ควรพบอายุรแพทย์ทรวงอกเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)

  • ช่วยคัดกรองโรคหัวใจบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติงาน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ,ภาวะหัวใจโต รวมไปถึงภาวะการนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจถูกขัดขวางบางชนิด 
    ผู้ที่มีภาวะดังกล่าว ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ


ระยะเวลาการตรวจและรายงานผล

  • ระยะเวลาตรวจสุขภาพตั้งแต่การซักประวัติ เจาะเลือด เก็บตัวอย่างปัสสาวะ จนถึงพบแพทย์ ใช้เวลา 45 – 60 นาที โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้รับบริการอาจส่งผลให้บางขั้นตอนใช้เวลาไม่เท่ากัน

  • ผู้รับบริการสามารถรับใบรายงานผลตรวจสุขภาพ 1-3 วันทำการ

 มีบริการส่งผลตรวจ ไม่ต้องมารับเอง
คิดค่าส่งตามระยะทางจริง 


ระยะเวลาการตรวจและรายงานผล

หากสนใจตรวจสุขภาพอับอากาศ เพื่อขอใบรับรองแพทย์ พื้นที่อับอากาศ สามารถใช้บริการหรือขอคำปรึกษาได้จากอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google หรือสอบถามโดยตรงจากช่องทางการติดต่อที่ให้ไว้บนหน้าเว็บไซต์


 

อาชีพที่แนะนำให้ตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ

ตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศที่อินทัชเมดิแคร์

บทความที่น่าสนใจ


 

เรียบเรียงโดย : นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม สาขาตลิ่งชัน (8 มิถุนายน 2565)
อ้างอิง : Guideline for Health Examination of Confined-space Workers (2561). มูลนิธิสัมมาอาชีวะ 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้