ตรวจสุขภาพสมัครงาน จำเป็นหรือไม่ ทำไมต้องตรวจ?

 

ตรวจสุขภาพสมัครงาน

เวลาที่เราไปสัมภาษณ์งานหรือเข้าทำงานที่ใหม่ หลายคนอาจได้รับการแจ้งจากฝ่ายบุคคลว่าจะต้องนำใบรับรองแพทย์ผ่านการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพของคลินิกตรวจสุขภาพสมัครงานแต่ละแห่งก็แตกต่างกันออกไป มีทั้งตรวจสุภาพพื้นฐานทั่วไปราคาหลักร้อยต้นๆ ไปจนถึงราคาหลักพัน


ทำให้หลายคนสงสัยว่า งานที่เราเข้าไปทำก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับสุขภาพที่ต้องตรวจสักเท่าไหร่ แล้วมีความจำเป็นอะไร ทำไมบริษัทจึงกำหนดให้ไปตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน วันนี้เราจึงมาไขข้อสงสัย ว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

ทำไมต้องตรวจสุขภาพสมัครงาน

การตรวจสุขภาพสมัครงาน เป็นการเช็คสภาพร่างกายของผู้เข้าทำงานให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะเริ่มงานกับทางบริษัท ในขณะที่บางบริษัทใช้เป็นการประเมินสุขภาพเบื้องต้นของผู้สมัครงาน อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือผู้ที่ทำงานบนเรือ ซึ่งการตรวจสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นมาก ด้วยข้อจำกัดของสถานที่ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งค่อนข้างมาก

หากร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจเกิดสภาวะฉุกเฉินที่เป็นอันตรายได้โดยไม่รู้ตัว หรือหากเกิดโรคติดต่อจะเกิดการระบาดขึ้นในพื้นที่ที่จำกัดได้ง่าย ทำให้ต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้สมัครงานเพื่อช่วยในการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานในองค์กร เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและเพื่อนร่วมงาน


ปฏิเสธการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

ถ้าไม่อยากตรวจสุขภาพสมัครงาน สามารถปฏิเสธได้หรือไม่

ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานและสาธารณสุขใด ที่บังคับให้ผู้สมัครงานส่งผลการตรวจร่างกายให้กับบริษัทก่อนเข้าทำงาน ยกเว้นตำแหน่งงานนั้นมีสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับอันตราย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรทำงานในสถานที่ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจ

เช่น การทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอันตราย อย่างเช่น เชื้อโรค, สารเคมี, สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่นที่อันตรายต่อปอด, สภาพแวดล้อมที่อาจเกิดเสียงดังที่ทำให้เสี่ยงต่อการตกใจจนทำให้โรคหัวใจกำเริบ ซึ่งกฎหมายได้มีข้อบังคับนี้กำหนดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทเข้าไปเสี่ยงอันตรายโดยไม่รู้ตัว

แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้บังคับให้ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน แต่ใช่ว่าบริษัทจะไม่สามารถกำหนดให้ผู้สมัครงานเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ แม้ว่าบริษัทที่เรากำลังจะเข้าทำงานไม่ได้อยู่ในข้อกฎหมายที่บังคับไว้ ซึ่งเราสามารถปฏิเสธการไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพได้ก็จริง

แต่นั่นก็หมายความว่า บริษัทมีสิทธิ์ปฏิเสธการรับเข้าทำงานโดยไม่ผิดกฎหมายได้เช่นกัน เพราะกระบวนการสมัครงานยังไม่สิ้นสุดลงตามเกณฑ์ของบริษัท ถ้าหากบริษัทมีความต้องการให้ผู้สมัครงานเข้ารับการตรวจสุขภาพแสดงว่าต้องมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างแน่นอน


ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ที่คลินิกตรวจสุขภาพสมัครงาน

การตรวจสุขภาพสมัครงานต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่คลินิกตรวจสุขภาพสมัครงานหรือโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีรายการตรวจดังนี้

1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ (Physical Examination) 

แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อคัดกรองข้อมูลเบื้องต้น อาทิ ตรวจวัดความดันโลหิต, ตรวจชีพจร, ตรวจภาวะโรคอ้วน, ตรวจโรคหัวใจ เป็นต้น

2. ใบรับรองแพทย์ 5 โรค (Medical Certificate)

ในบางบริษัทจะมีการระบุจำเป็นต้องใช้ ใบรับรองแพทย์ 5 โรค จากคลินิกตรวจสุขภาพสมัครงานหรือโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ ซึ่ง 5 โรคที่ส่งผลต่อการทำงานได้แก่ วัณโรคในระยะแพร่เชื้อ, โรคเท้าช้าง, โรคที่เกิดจากสารเสพติด, โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคเรื้อรังหรือร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีการแสดงอาการอย่างชัดเจนจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงและปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา

ตรวจวัดสายตา

3. ตรวจวัดสายตา

ในปัจจุบันนิยมตรวจวัดสายตาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบปัญหาสายตา โดยเฉพาะ การตรวจตาบอดสี (Color Blind Test) ซึ่งมีผลต่อการทำงานบางประเภทที่ต้องใช้สายตาในการแยกแยะสี

4. ตรวจหาหมู่เลือดและตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) 

เป็นการตรวจเลือดโดยใช้ห้องปฏิบัติการ (LAB) เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์โดยรวมของร่างกาย โดยดูจาก ความเข้มข้นของเลือด ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอล วัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด ค่าฮอร์โมนต่างๆ คัดกรองภาวะโลหิตจาง ค่าไต หรือความผิดปกติอื่นๆ

ตรวจปัสสาวะและตรวจสารเสพติด

5. ตรวจปัสสาวะและตรวจสารเสพติด (Urine Met, Amphetamine) 

การตรวจหาสารเสพติด เพื่อสมัครงาน มักทำควบคู่กับการตรวจปัสสาวะ เพราะเราสามารถใช้ปัสสาวะในการตรวจหาสารเสพติดได้เลย โดยการตรวจปัสสาวะจะตรวจหาแนวโน้มของโรคไต โรคเบาหวาน หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ส่วนการตรวจหาสารเสพติดจะตรวจหาสารบ่งชี้ในร่างกาย เช่น สารแอมเฟตามีน (Amphetamine) และสารเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เป็นต้น

6. เอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray) 

เป็นการตรวจเอกซเรย์เพื่อดูช่วงทรวงอก ปอดและหัวใจ ตรวจหาอาการติดเชื้อและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่องปอดหรือหัวใจ ดูระบบหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจการตั้งครรภ์

7. ตรวจการตั้งครรภ์ (Pregnancy Test)

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อนสมัครงานหรือก่อนเข้าทำงาน นั่นเป็นเพราะบางงานที่มีลักษณะหรือความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้ง รวมถึงอาการแพ้ท้องในแต่ละคนที่แตกต่างกัน ซึ่งควรให้บริษัทและเพื่อนร่วมงานรับทราบเพื่อที่จะได้ระมัดระวังให้มากขึ้น

8. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับเกิดการอักเสบและยังทำลายเซลล์ตับจนทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ การตรวจหาเชื้อไวรัสในกระแสเลือดหากพบ HBsAg หรือ แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี แสดงว่า มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกาย ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อที่ติดค่อนข้างยาก เพราะติดต่อผ่านทางเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางบาดแผล, การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น กรรไกรตัดเล็บ, แปรงสีฟัน, ที่โกนหนวด ฯลฯ แต่ไม่ติดต่อกันผ่านลมหายใจ การทานอาหารหรือดื่มน้ำร่วมกัน

เจาะเลือดตรวจหาเชื้อ hiv

9. ตรวจหาเชื้อเอดส์ หรือ HIV 

เอดส์ หรือ HIV ไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรงที่ติดต่อได้ง่ายเพราะการแพร่เชื้อจะต้องผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่งเท่านั้น แต่การที่บริษัทบังคับให้ยื่นเอกสารหรือขอดูผลการตรวจนั้น เป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้สมัครมากเกินไป

หากผู้สมัครงานคิดว่าไม่เหมาะสมหรือมีความจำเป็นมากพอที่จะต้องยื่นผลการตรวจหาเชื้อเอดส์ หรือ HIV ก็สามารถปฏิเสธได้ เพราะถ้าหากว่าบริษัทไม่สามารถรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV เข้าทำงานได้ก็จะมีการแจ้งอย่าชัดเจนอย่างแน่นอน


ในแต่ละบริษัทจะมีรายการตรวจแตกต่างกันไป แนะนำให้สอบถามและตรวจสอบรายการที่ทางบริษัทต้องการให้ตรวจ และสอบถามกับทางคลินิกตรวจสุขภาพสมัครงาน จะช่วยให้เราประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

การเตรียมตัวตรวจสุขภาพสมัครงาน

นัดหมายแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

1. ติดต่อสอบถามกับคลินิกตรวจสุขภาพสมัครงานหรือโรงพยาบาล เกี่ยวกับรายการที่ต้องการตรวจและนัดหมายให้เรียบร้อย

เตรียมบัตรประชาชน

2. เตรียมบัตรประชาชน และเอกสารที่แจ้งรายการตรวจสุขภาพจากฝ่ายบุคคล หากมีประวัติสุภาพ ยา/อาหารเสริมที่ทานประจำหรือฟิล์มเอกซเรย์เก่า ควรนำติดตัวไปด้วย

งดน้ำ งดอาหาร ก่อนเจาะเลือด

3. ถ้าหากไม่มีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก็ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร แต่ถ้ามีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ และจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย

สวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือด

4. สวมใส่เสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน

พักผ่อนให้เพียงพอก่อนตรวจสุขภาพ

5. นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพราะการอดนอนจะทำให้ความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจผิดปกติ

งดตรวจสุขภาพช่วงมีประจำเดือน

6. สำหรับคุณผู้หญิง ช่วงที่มีประจำเดือนจะตรวจปัสสาวะไม่ได้ ควรเว้นช่วงตรวจก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน และถ้าสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ

โดยทั่วไปแล้วการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน แม้จะไม่มีข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานและสาธารณสุขแต่หลายบริษัทก็มีข้อกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยคลินิกตรวจสุขภาพสมัครงานหรือโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ เพราะเพราะสุขภาพที่ดีของพนักงานย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพในการทำงาน และปลอดภัยของเพื่อร่วมงาน

ซึ่งเป็นผลดีโดยตรงต่อบริษัททั้งในเรื่องของการบริหารจัดการและภาพลักษณ์แล้ว และยังส่งผลดีต่อผู้สมัครงานที่จะได้รับรู้ถึงปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงของตนเอง ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข มี Work-Life Balance ที่ดี


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
สนใจทักแชท
   @qns9056c
   อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน แบบมาตรฐาน

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (ชุดมาตรฐาน)

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน อาชีพ

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเฉพาะกลุ่ม พนักงานโรงงานทั่วไป, พนักงานห้องอาหาร, พนักงานโรงแรมทั่วไป

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน อาชีพ

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเฉพาะกลุ่ม กลุ่มพนักงานออฟฟิศ, กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ, กลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง, กลุ่มพี่เลี้ยงเด็กและผู้สูงอายุ

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล
  แก้ไขล่าสุด : 28/09/2022

website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้