คลินิกเบาหวานและคลินิกความดันโลหิตสูง ใกล้บ้าน

 

คลินิกเบาหวาน และคลินิกความดันโลหิตสูง ใกล้บ้าน


ปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆมีมากมาย แต่สำหรับโรคใกล้ตัวเป็นโรคที่มักถูกมองข้ามไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคไม่ติดต่อที่อันตรายอย่างมากและไม่ควรมองข้าม คลินิกความดันโลหิตสูง และคลินิกเบาหวานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในตรวจรักษาพร้อมดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิด ใกล้บ้าน สะดวกรวดเร็ว ไม่แออัด เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

 เมื่อมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็น หรือมีความเสี่ยง จะต้องทำการคัดกรอง , ตรวจวินิจฉัยโรค และเมื่อพบว่าเป็นจะต้องทำการรักษาโดยทันที อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคลินิกความดันโลหิตสูงและคลินิกเบาหวาน ใกล้บ้านจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เราจะพาไปรู้จักกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกันให้มากขึ้นค่ะ

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวานคือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่ส่งผ่านแป้ง และน้ำตาลที่เรากินเข้าไปในรูปของกลูโคสในกระแสเลือดไปสู่ระบบเนื้อเยื่อต่าง ๆเพื่อนำไปเผาผลาญ และแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานนั่นเอง

 

จากสถิติการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์พบว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงมากขึ้นอีกด้วย


โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

โรคเบาหวานในเด็ก

โรคเบาหวานประเภทที่ 1

เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลย ผู้ป่วยจะต้องฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลินจนมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างฉับพลัน และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังได้ ซึ่งโรคเบาหวานประเภทนี้พบได้น้อยมากมีเพียงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานในไทยเท่านั้นมักพบในเด็ก และวัยรุ่น

โรคเบาหวานกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

โรคเบาหวานประเภทที่ 2

เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากคิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานในไทยโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป


อาการของโรคเบาหวานที่สังเกตได้เอง

การสังเกตความผิดปกติของตนเองเป็นอีกหนึ่งวิธีเบื้องต้นที่จะเช็คว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดยมีวิธีเช็คตัวเองดังนี้

อาการของโรคเบาหวาน
  1. ปัสสาวะบ่อยขึ้นทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยปัสสาวะบ่อยครั้งขนาดนี้

  2. รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น เพราะร่างกายมีการขับน้ำมากขึ้นจึงทำให้เกิดภาวการขาดน้ำ และกระหายน้ำมากขึ้นนั่นเอง

  3. รู้สึกหิวบ่อยขึ้น กินเก่งมากกว่าเดิม โดยเฉพาะขนมของหวานต่าง ๆ

  4. รู้สึกคันยุกยิกตามตัว มีภาวะติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อราตามผิวหนัง และเป็นตกขาวบ่อยขึ้น

  5. รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียแม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายนำนำตาลไปใช้ไม่ได้นั่นเอง

  6. เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัวมองภาพไม่ชัดเจนทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็นเลย

  7. มีอาการชาตามแขนขาเนื่องจากปลายประสาทเสื่อม



รู้ได้ยังไงว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

เมื่อสังเกตตัวเองแล้วพบว่าเข้าข่ายอาการของโรคเบาหวานขั้นตอนต่อไปคือ เข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพดีที่สุด ซึ่งก่อนจะทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจะต้องงดน้ำ และงดอาหารอย่างน้อยเป็นเวลา 8 ชั่วโมง โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

รู้ได้ยังไงว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า หรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังมีการงดน้ำ และงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

  • มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า หรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผลของระดับน้ำตาลในเลือด
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า หรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ที่ 2 ชั่วโมง ภายหลังจากการทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมที่รับประทานเข้าไป

  • มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) มากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป

วิธีรับมือ และเตรียมความพร้อมหากเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิดถ้าหากปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกวิธี ซึ่งหากพบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้นไม่ต้องตกใจ ให้ทำการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนักร่างกาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการทานยาจะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ไม่เกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนได้

 

 

อ้างอิงวีดิโอ : โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไร กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค

 

แต่หากเป็นโรคเบาหวานที่ต้องพึ่งยาฉีดอินซูลินจะต้องเรียนรู้การฉีดอินซูลินด้วยตนเองอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งควบคุมอาหาร ออกกำลังกายเบา ๆ และทำจิตใจให้สดใส ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ และทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่นั่นเอง

พบแพทย์ที่คลินิกเบาหวาน

อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานอาจเป็นโรคที่ดูไม่ร้ายแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้ละเลยไม่รักษาอย่างถูกวิธีจะส่งผลให้น้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆได้ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง


โรคความดันโลหิตคืออะไร

โรคความดันโลหิตคืออะไร

โดยปกติความดันโลหิตเป็นค่าความดันของกระแสเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว และจะลดลงเมื่อหัวใจคลายตัวลง

 

สำหรับโรคความดันโลหิตเปรียบเสมือนเพชรฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนไม่น้อย โดยเกิดจากความผิดปกติจากความดันโลหิตจนทำให้เกิดภาวะโรคความดันโลหิตต่ำ และความดันโลหิตสูงนั่นเอง


โรคความดันโลหิตต่ำเกิดจากอะไร

เกิดจากภาวะความดันเลือดซิสโตลิกมีค่าต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน และวิตามินซี เป็นต้น โดยสามารถพบโรคนี้ได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชายไม่ว่าอายุเท่าใดก็สามารถเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้


อาการของโรคความดันโลหิตต่ำ

อาการของโรคความดันโลหิตต่ำที่สังเกตได้

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม หรือมีอาการหน้ามืดจากการเปลี่ยนท่านั่ง หรือยืนกะทันหัน ซึ่งเกิดจากภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

  • ใจเต้นแรง ใจสั่น เกิดอาการตาพร่ามัว และคลื่นไส้อาเจียนได้

  • เหนื่อยง่ายมากขึ้น รู้สึกอ่อนเพลีย และกระหายน้ำ


การดูแลร่างกายหากเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

โรคความดันโลหิตต่ำสามารถหายได้เอง และจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งหากเป็นโรคนี้แล้วไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิดหากดูแลตนเองดังนี้

  • ปรับเรื่องอาหารการกิน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจได้ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นแรงมากขึ้น

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีน และวิตามินซีห้ามขาด

  • หากมีอาการหน้ามืดควรนั่งพัก หรือนอลงทันที และพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองให้เพียงพอ

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบหนัก ๆ ควรออกกำลังกายเบา ๆไม่ควรหักโหมจนเกินไป

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามอย่านอนดึก เพราะหากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ความดันต่ำลงได้

อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตต่ำสามารถรักษาได้ หากปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้บรรเทาอาการของโรคนี้ได้


โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร

โรคความดันโลหิตสูงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเมื่อทำการวัดค่าความดันโลหิตแล้วจะมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะเป็นโรคความดันโลหะสูงเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการชัดเจนในช่วงแรกที่เป็น จึงทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจ และหลอดเลือด

 



 

สาเหตุ และอาการของโรคความดันโลหิตสูงมีอะไรบ้าง

โรคความดันโลหิตสูงเปรียบดัง “เพชรฆาตเงียบ” เพราะผู้ป่วยส่วนมากกว่าร้อยละ 85 จะไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่หากมีการตรวจพบจากโรค หรือภาวะอื่น ๆ เช่นโรคไต หลอดเลือดแดงตีบ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นต้น 

สูบบุหรี่ สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อวัดค่าความดันโลหิตจึงพบว่ามีค่าความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และพบผู้ป่วยส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอาการผิดปกติ เช่น ปวดวิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว และมีเลือดกำเดาไหล เมื่อทำการตรวจวัดค่าความดันพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และสามารถรักษาได้ทันก่อนที่จะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น 

 

นอกจากนี้พฤติกรรม และการดำรงชีวิตยังเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคความดันหิตสูง  เช่น การรับประทานอาหารที่มีรสจัด การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ออกกำลังกาย รวมถึงพันธุกรรม เป็นต้น


การดูแลร่างกายเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีความร้ายแรง ส่วนมากไม่มีทางรักษา แต่สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้หากดูแลตัวเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองดังนี้

การดูแลร่างกาย เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้ ธัญพืช ลดปริมาณเนื้อสัตว์ในมื้ออาหาร หลีกเลี่ยงทานอาหารที่มีรสจัดมาก ๆ

  • ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหม หรือออกกำลังกายแบบหนัก ๆมากเกินไป

  • ทำจิตใจให้สงบ อย่าไปเครียดกับสิ่งรอบข้างมากจนเกินไป

  • หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์


โรคความดันโลหิตไม่ว่าจะโรคความดันโลหิตต่ำ หรือโรคความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งหากเกิดอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้

 

จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่เหมือนกัน และพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงควบคู่ไปด้วย

พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

อย่างไรก็ตามถึงแม้ทั้งสองโรคนี้จะเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด แต่หากควบคุมพฤติกรรมการดำรงชีวิต หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ หรือซื้อโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานความดัน

 

ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาล และคลินิกเบาหวานความดัน พร้อมแพ็คเก็จตรวจคัดกรองในราคาสบายกระเป๋ามากมายหลายแห่ง ตรวจไว เจอไว รักษาได้ทันท่วงที ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้อีกด้วยค่ะ

 


รักษาและตรวจสุขภาพ

เบาหวานความดัน เริ่มต้น 500 บาท


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 

line ติดต่อ สอบถาม

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล

  แก้ไขล่าสุด : 19/07/2022

counter for website
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้