ล้างแผล ทำแผล ล้างแผลคืออะไร ขั้นตอนการทำแผล และวิธีดูแลแผลหลังทำแผล

ล้างแผล ทำแผล

การล้างแผล ทำแผล เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมากเมื่อเราเกิดบาดแผลขึ้น แผลจะหายดีหรือมีอาการแทรกซ้อน แผลติดเชื้อ ก็เกิดจากขั้นตอนนี้ ดังนั้นจึงถือเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลอย่างดีตั้งแต่ต้นจนถึงตอนบาดแผลหายดี ขั้นตอนการล้างแผล ทำแผล ทำไมเราต้องไปล้างแผลทุกวันตามแพทย์นัด และวิธีการดูแลแผลหลังทำแผลต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำแผล ล้างแผล

  1. ล้างแผลคืออะไร

  2. ขั้นตอนในการทำแผล ล้างแผลทั่วไป

  3. ขั้นตอนในการทำแผล ล้างแผลเป็นฝี/หนอง

  4. ทำไมถึงต้องทำแผล ล้างแผลทุกวัน

  5. หากลืมล้างแผลต้องทำอย่างไร

  6. หัตถการแบบไหนบ้างที่ต้องล้างแผล (เพราะอะไร)

  7. การดูแลแผลหลังทำแผลที่บ้านต้องทำอย่างไร

  8. ค่าใช้จ่ายทำแผล ล้างแผล

ล้างแผลคืออะไร

ล้างแผล คือ การทำความสะอาดขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล ตกแต่ง และค้ำจุนแผล โดยการล้างแผลมีวัตถุประสงค์คือ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลทางผิวหนัง ป้องกันไม่ให้แผลได้รับอันตรายเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น โดยแบ่งการล้างแผลออกเป็น 2 วิธี

การล้างแผลชนิดแห้ง

การล้างแผลชนิดแห้ง (Dry dressing) คือ การล้างแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้น ช่วยในการหายของแผล ใช้ในการล้างแผลที่สะอาด ปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดซึ่งเป็นแผลที่สะอาด และเย็บไว้ เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แผลไม่มีลักษณะของการอักเสบและไม่มีสารคัดหลั่งออกมาจากแผล

การล้างแผลชนิดเปียก

การล้างแผลชนิดเปียก (Wet dressing) คือ การล้างแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้น ช่วยในการหายของแผล ใช้ในการล้างแผลเปิด การล้างแผลชนิดนี้จะใช้เมื่อแผลมีการสูญเสียเนื้อเยื่อ หรือ มีการหายแบบทุติยภูมิ เพื่อช่วยในการขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เช่น แผลกดทับ แผลมีหนอง แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก เป็นต้น เหมาะสำหรับแผลที่มีสารคัดหลั่งและมีการอักเสบที่บริเวณแผล


สนใจเข้ารับบริการ ทำแผล ล้างแผล



ขั้นตอนในการทำแผล ล้างแผลทั่วไป

โดยการปฏิบัติทุกขั้นตอนต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้ออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่บาดแผลผู้ป่วย และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากบาดแผลออกสู่ภายนอก

  1. เตรียมอุปกรณ์ และจัดท่าผู้ป่วยให้สะดวกในการทำแผล ล้างแผล

  2. เปิดแผลผู้ป่วย หากเป็นพลาสติกปิดแผล ต้องลอกไปตามแนวเดียวกับแนวขน ไม่ลอกย้อนแนวขน เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บ ใช้นิ้วกดผิวหนังบริเวณรอบไว้เพื่อช่วยลดการดึงรั้งของผิวหนัง หากเป็นผ้าปิดแผลควรลอกอย่างช้า ๆ และและระมัดระวัง ถ้าแผลแห้งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บและอาจจะมีเนื้อแผลลอกติดมาด้วย การใช้น้ำเกลือล้างแผลชโลมไว้ให้ทั่วผ้าปิดแผล แล้วค่อยลอกออกสามารถช่วยได้

  3. เปิดชุดล้างแผล และเทน้ำยาที่ใช้ในการล้างแผล เช่น น้ำเกลือ 0.9% แอลกอฮอล์ 70% หรือโปวิโดน-ไอโอดีน 10%

  4. การล้างแผลชนิดแห้ง ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวคีบก้อนสำลีชุบน้ำยาที่ใช้ในการล้างแผล ประมาณ 2/3 ของก้อนหรือพอหมาด ส่งให้ปากคีบ มีเขี้ยว นำไปเช็ดชิดขอบแผลและวนออกจากขอบแผล ประมาณ 2-3 นิ้ว จนสะอาด

  5. การล้างแผลชนิดเปียก ทำความสะอาดขอบแผลเช่นเดียวกับการล้างแผลชนิดแห้ง และใช้สำลีชุบน้ำยาที่ใช้ในการล้างแผลเช็ดภายในแผลจนสะอาด จากนั้นใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำยาใส่ในแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดูดซับสิ่งคัดหลั่ง และให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ

  6. ปิดแผลด้วยผ้าก็อซและติดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว


ล้างแผลเป็นฝี มีหนอง

ขั้นตอนในการทำแผล ล้างแผลเป็นฝี/หนอง

จะมีการชะล้างแผล (wound irrigation) โดยการชะล้างแผลจะทำกับแผลเปิดที่มีความลึก มีหนองไหลออกจากแผล และมีเศษเนื้อตายติดอยู่กับแผล วิธีการทำเช่นเดียวกับการล้างแผลชนิดเปียก และใช้กระบอกสูบ syringe สำหรับดูดน้ำยาใส่เข้าไปในแผล ฉีดล้างจนแผลสะอาด แล้วปิดแผลให้เรียบร้อย


ทำไมถึงต้องทำแผล ล้างแผลทุกวัน

  1. ทำแผลป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลทางผิวหนัง

  2. ส่งเสริมกระบวนการหายของแผล

  3. เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแผล เฝ้าระวังอาการอักเสบ และติดเชื้อของแผล


หากลืมล้างแผลต้องทำอย่างไร

พบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประเมินลักษณะของแผล รวมถึงอาการบวม แดง หนอง เพื่อทำแผล ล้างแผลให้เหมาะสม และพิจารณารับยาปฏิชีวนะหากพบการติดเชื้อ


หัตถการที่ต้องล้างแผล

หัตถการแบบไหนบ้างที่ต้องล้างแผล (เพราะอะไร)

  1. หัตถการการเย็บ (Suture) เพราะป้องกันสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่แผล จนกระทั่งรอวันนัดกำหนดตัดไหม

  2. หัตถการผ่ากรีด (Incision and Drainage) เพราะช่วยดูดซับและเก็บกักสิ่งคัดหลั่ง (Exudate) ออกมาจากแผลได้

  3. หัตถการผ่าตัดชิ้นเนื้อออก (Excision) เพราะป้องกันการคั่งค้างหรือสะสมของสิ่งคัดหลั่ง (Exudate) ในแผล ทำให้บาดแผลตื้นขึ้น

  4. หัตถการถอดเล็บ (Nail extraction) เพราะส่งผลให้เกิดสภาวะที่ดีเหมาะแก่การงอกของเนื้อเยื่ออย่างสมบูรณ์


การดูแลแผลที่บ้านต้องทำอย่างไร

  1. หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรก หรือเปียกน้ำ เพราะจะทำให้แผลหายช้า และอักเสบ ติดเชื้อได้

  2. ควรล้างแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น กรณีแผลซึมมาก รวมถึงมาตัดไหมตามนัด โดยทั่วไปนัดประมาณ 7 วัน

  3. ส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตมายังแผล โดยดูแลไม่ให้ผ้าพันแผลรัดแน่นเกินไป ระยะ 24-48 ชั่วโมงแรกที่บาดเจ็บ ประคบเย็นโดยความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ปริมาณเลือดที่ไหลมาสู่บาดแผลลดลง ช่วยลดอาการบวมได้ ส่วนการประคบร้อนหลังจากนั้นจะทำให้หลอดเลือดขยาย เลือดไปเลี้ยงบาดแผลมากขึ้น กล้ามเนื้อหย่อนตัว จึงลดอาการปวดได้

  4. ยกบริเวณที่มีบาดแผลไว้สูง เพื่อให้เลือดดำและน้ำเหลืองไหลกลับสะดวก ช่วยลดอาการบวม

  5. รับสารอาหารที่เพียงพอ และมีประโยชน์ต่อกระบวนการหายของแผล เช่น วิตามินเอ

  6. วิตามินบี วิตามินซี และโปรตีน เพราะสารอาหารมีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือด และสร้างเส้นใยคอลลาเจน (collagen fiber)

  7. พักผ่อนร่างกายและอวัยวะที่มีบาดแผลให้มากที่สุด เพราะการพักผ่อนจะลด กระบวนการเผาผลาญภายในเซลล์ที่ไม่จำเป็น เนื้อเยื่อสามารถนำออกซิเจนและสารอาหารไปใช้ได้ เพียงพอ และการพักบริเวณที่มีบาดแผลจะช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนบาดแผล


คลินิก ล้างแผล

ค่าใช้จ่ายทำแผล ล้างแผล

คลินิกล้างแผล อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมให้บริการทำแผล ล้างแผล

ราคาเริ่มต้น 745 บาท 

หมายเหตุ

1. ราคานี้ยังไม่ร่วมค่ายา 

2. การทำแผล ล้างแผล ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์


 




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท 
  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย พญ.สุพรรษา เหนียวบุบผา

  แก้ไขล่าสุด : 08/02/2024 

website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้