เล็บเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยปกป้องนิ้วมือของเรา หากเมื่อไหร่ที่เล็บมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็น เล็บฉีก เล็บหลุด เล็บหัก เล็บขบ หรือเล็บมีเชื้อรา ควรทำไปพบแพทย์ เพื่อประเมินว่าควรถอดเล็บที่มีปัญหานั้นออกหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตราย ทั้งนี้การถอดเล็บจะขึ้นอยู่กับอาการด้วย
หัวข้อเกี่ยวกับการถอดเล็บ
หากใครที่สงสัยว่าสามารถถอดเล็บเองได้ไหม แพทย์จะไม่แนะนำให้ถอดเองนะครับ เนื่องจากเสี่ยงที่จะตัดเล็บผิดทรง จนเสี่ยงให้บริเวณเล็บขบ หรือเล็บที่มีปัญหาอยู่อาการแย่ลงกว่าเดิม หรือเล็บฉีกในบางกรณี หากถอดเองไม่ดีพอ จะทำให้เล็บไม่งอก, แผลติดเชื้อ เกิดหนอง อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ครับ
“จากเคสที่แพทย์เคยพบ แนะนำว่า หากตัวเล็บใกล้จะหลุดแล้ว แต่บริเวณที่ฉีกขาดหรือหลุดมีลักษณะขอบแผลไม่เรียบ แนะนำมาพบแพทย์เพื่อประเมินรอยโรค บางกรณีอาจต้อง ถอดทั้งเล็บ หรือ บางกรณีอาจตัดเล็บส่วนที่ใกล้หลุดออก แล้วทำแผลโดยสังเกตอาการเบื้องต้นได้ หากไม่มั่นใจ สามารถมาพบแพทย์เพื่อประเมินก่อนได้ครับ”
นอนในท่าที่สะบาย นำขา หรือมือข้างที่ทำหัตถการวางไว้ที่ โซนทำหัตถการ
ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนิ้วที่ทำการถอดเล็บ ด้วย ยาฆ่าเชื้อแบบเฉพาะที่ ,แอลกอฮอล์ และน้ำเกลือ
ปูผ้าเจาะกลางสะอาดปลอดเชื้อ เพื่อแยกโซนสะอาด
ฉีดยาชาเข้าที่โคนนิ้วของเล็บที่จะทำหัตถการ โดยยาชาจะออกฤทธิ์เพื่อช่วยระงับความรู้สึกของทั้งนิ้ว ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ปวดในขณะทำหัตถการ
การถอดเล็บออก มีสองวิธีเบื้องต้น คือ
เอาออกบางส่วน สำหรับเคสเล็บขบ เพื่อลดการจิกของเล็บขบต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง
การถอดเล็บออกทั้งหมด ในกรณีเคสที่เล็บฉีกรุนแรงจนไม่สามารถเก็บเล็บที่บาดเจ็บไว้ได้
เย็บซ่อมพื้นเล็บ (Nail Bed) ขั้นตอนนี้ จะขึ้นอยู่กับกรณีการบาดเจ็บของคนไข้
ทำความสะอาดแผล ใส่ยาฆ่าเชื้อ ปิดด้วยก๊อซ และปิดแผลด้วย Plaster กันน้ำ
ถอดเล็บแล้ววิ่งได้ไหม?
ถอดเล็บแล้วเล่นกีฬาได้ไหม?
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย นายแพทย์พันไมล์ เปรมัษเฐียร, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 17/04/2024