ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด (ฝั่งยาคุมกำเนิด) เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?

 

ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด

 

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวมีหลายหลายตามที่หลายคนทราบกันดี เช่น การฉีดยาคุมกำเนิดรายเดือน การกินยาคุมแบบเม็ด การฝังยาคุม เป็นต้น ซึ่งการคุมกำเนิดทุกประเภทมีผลข้างเคียงมากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของผู้ที่ฝังยาคุมด้วย

 

ถ้าหากจะเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการฝั่งยาคุมกำเนิดก็มีหลายอาการ แต่ละอาการมีโอกาสพบมากน้อยแตกต่างกันไป รวมทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดต่อสุขภาพด้วย ก่อนอื่นเรามาทราบกันก่อนว่า ยาคุมกำเนิดแบบฝังคืออะไร

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง

ยาฝังคุมกำเนิด หรือยาคุมกำเนิดแบบฝัง เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิง ที่ทำเป็นแท่งเล็กๆ เข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด

 

ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกายและไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 

ตารางเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด
 

ตารางเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการฝั่งยาคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงที่มีโอกาสพบจากการฝังยาคุมกำเนิด

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ

มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติโดยเฉพาะช่วงแรก แต่ต่อมาประจำเดือนจะค่อยๆ น้อยลงและจะหายไปโดยไม่มีอีกเลยตลอดช่วงที่ฝังยา (ทำให้ผู้ใช้กังวลว่าอาจตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว เกิดความไม่ชอบหรือเลิกใช้ จึงควรทำความเข้าใจก่อนการฝังยา)

 

  • ประจำเดือนมาบ่อยและมานานขึ้น (พบได้น้อยมาก)

หลังฝังยาคุม ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ประจำเดือนกะปริดปะปรอย ประจำเดือนมาทุกวัน ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย


ในส่วนของผลข้างเคียงเกี่ยวกับประจำเดือนจะคล้ายกับผลข้างเคียงจากการฉีดยาคุมกำเนิด  คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบในการตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดได้

ปวดแขนบริเวณที่ฝังยาคุม
  • ปวดแขน อักเสบ หรือมีรอยแผลเป็นบริเวณที่ฝังยาคุม

อาจพบรอยฟกช้ำและรู้สึกเจ็บแขนเล็กน้อยบริเวณรอบแท่งฮอร์โมน โดยรอยช้ำจะค่อยๆ หายไปเอง หลัง 7 วัน หากฝังยาคุมมาเกิน 7 วันแล้ว ถ้ามีอาการปวดมากโดยเฉพาะเวลาที่มีการเคลื่อนไหวของแขนข้างที่ฝังยาคุม

แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่ายาฝังคุมกำเนิดมีการเคลื่อนที่ไปไกลจากจุดที่ฝังยาไว้ หรือเคลื่อนที่ลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อหรือเปล่า (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้)


  การดูแลรักษาแผลหลังการฝังยาคุม

ผลข้างเคียงจากการฝังยาุคมทำให้ซึมเศร้า
  • อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า

มีผู้หญิงที่ฝังยาคุมแล้วเกิดอารมณ์แปรปรวน และเป็นซึมเศร้า แต่พบได้น้อยมาก และความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อย ในบางรายรบกวนความรู้สึกทางเพศด้วย


  • มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม

อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากผลของยาฝังคุมกำเนิด หรืออาจเกิดการมีการอักเสบของเต้านม หากอาการเจ็บเต้านมเป็นไม่มาก

แนะนำควรสังเกตอาการไปก่อนในเบื้องต้น ก็ไม่ควรไปบีบนวดคลึงเต้านม ใส่ชุดชั้นในที่พอดี ไม่แน่นจนเกินไป 

เวียนศีรษะจากการฝังยาคุม
  • เวียนศีรษะ

อาการปวด หรือเวียนศีรษะ เกิดโอกาสที่จะพบผลข้างเคียงน้อย และส่วนใหญ่จะค่อยๆ หายไปเอง

 

  • บวมน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

ผลข้างเคียงจากการฝั่งยาคุมกำเนิดทำให้บางรายน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น พบได้ค่อยข้างน้อย และส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักขึ้นเพียงไม่มาก คือประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมักเป็นในเพียงช่วงแรก อาจต้องสังเกตพฤติกรรมในการทานอาหารของตนเองด้วย

  • อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

มีการอักเสบของหลอดเลือดดำร่วมกับมีลิ่มเลือด (thrombophlebitis) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (thromboembolic disorders) พบได้น้อย แต่ส่งผลต่อสุขภาพมาก ควรรีบไปพบแพทย์

เกิดสิว ฝ้า
  • เกิดสิว ฝ้า

เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก ซึ่งต้องสังเกตควบคู่ไปกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว และฝ้า

ช่องคลอดอักเสบและแห้ง
  • ช่องคลอดอักเสบและแห้ง

ยาฝังคุมกำเนิด เป็นฮอร์โมนชนิดโปรเจสเตอโรน การได้รับฮอร์โมนชนิดนี้ต่อเนื่องนานๆ อาจมีผลทำให้ช่องคลอดแห้ง ซึ่งไม่ได้มีผลต่อสุขภาพค่ะ

เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก (กรณีที่เกิดการตั้งครรภ์)

ยาฝังคุมกำเนิด เป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงมากๆ ประมาณ 95-99% โอกาสตั้งครรภ์มีน้อยมากถึงแทบไม่มีในขณะที่ฝังยา การตั้งครรภ์นอกมดลูกก็เกิดได้น้อยมากเช่นกัน 

  • ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง  และมีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับที่รุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แพทย์หญิงสลิล ศิริอุดมภาส, ถามแพทย์ 


 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
 ติดต่อ สอบถาม   
  @qns9056c
  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 03/10/2022 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้