ยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเพร็พ PrEP


ยาเพร็พ

 

ยาเพร็พ prep (Pre-Exposure Prophylaxis) ในปัจจุบันเป็นยาป้องกันเชื้อเอซไอวี HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ การรักษาและการป้องกันโรคเอดส์ หรือเอชไอวี การแพทย์มีการพัฒนาขึ้นมาก ในส่วนของยาป้องกันเชื้อสำหรับต้านไวรัสนั่นก็คือ ยาเพร็พ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงได้มีแนวทางในการป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาเพร็พ วันนี้อินทัชเมดิแคร์รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับยาเพร็พ PrEP วิธีกินยา หยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เพื่อไขข้อสงสัยกัน


สำหรับคนที่อยากรู้ในกรณีที่ตัวเองได้รับเชื้อมาแล้ว จะมีอาการอะไรบ้าง สามารถอ่านบทความ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณได้รับเชื้อ HIV เพิ่มเติมได้เลย แต่ขอบอกไว้ก่อนนะว่าการกินยาเพร็พ ป้องกันได้แค่เอชไอวี (HIV) เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่สำคัญที่สุดการยาเพร็พต้องมีวินัย กินยาให้ตรงเวลาและไม่ควรลืมเด็ดขาด

การติดเชื้อไวรัส HIV อันตรายอย่างไร

โรคติดเชื้อไวรัส HIV เป็นโรคติดต่อที่สำคัญและอันตรายมาก โดยที่ตัวไวรัสจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อฉวยโอกาสที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา ความสำคัญของโรคนี้คือในผู้ติดเชื้อช่วงแรกจะยังไม่มีอาการชัดเจน จึงทำให้ผู้ป่วยจะยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ แต่สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆได้ ผ่านทางเพศสัมพันธ์และเลือดเป็นหลัก และส่งผลทำให้ได้รับการรักษาล่าช้าด้วย


ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่มีอาการของโรค และมีชีวิตยืนยาวเท่าคนปกติได้หากทานยาสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อไวรัส HIV จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจมากกว่า เนื่องจากการทานยารักษาตลอดชีวิตย่อมมีผลข้างเคียง และโรคนี้ยังคงไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมมากนักแม้ว่าจะเป็นโรคติดต่อเหมือนโรคทั่วๆไป และสามารถใช้ชีวิตร่วมกันคนอื่นได้ตามปกติ ส่วนใครสนใจเข้ามาตรวจกับหมอโดยตรง ทางคลินิก intouchmedicare พร้อมให้บริการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบ One Step Test สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti HIV แบบ One Step Test


ป้องกันการติดเชื้อ HIV

เราสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคติดเชื้อไวรัส HIV นั้นสามารถติดต่อได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ และทางเลือด ที่พบบ่อยคือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ใช้สารเสพติด  เราจึงสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้โดยการใส่ถุงยางอนามัยตลอดการมีเพศสัมพันธ์  ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ลดพฤติกรรมเสี่ยง และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การป้องกันดังกล่าวยังมีข้อจำกัดใน ผู้เสี่ยงติดเชื้อบางกลุ่ม และยังมีโอกาสติดเชื้อได้แม้ป้องกันแล้ว ณ ปัจจุบัน จึงมีการคิดค้นยาทานป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มีประสิทธิภาพดีมาก ทั้งก่อนเสี่ยงและหลังเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งเรียกว่า HIV PrEP (Pre-exposure prophylaxis) และ HIV PEP (Post-Exposure Prophylaxis) 


ยาเพร็พ คืออะไร

HIV PrEP (Pre-exposure prophylaxis) คืออะไร

HIV PrEP (Pre-exposure prophylaxis) หรือเรียกว่า ยาเพร็พ เป็นการให้ยาต้าน HIV แก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV ก่อนการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากผู้ที่เป็นโรค ยาที่มีใช้ในไทย ในหนึ่งเม็ดประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ  Tenofovir (TDF) 300 มิลลิกรัม และ Emtricitabine (FTC) 200 มิลลิกรัม

ทั่วโลกมีผู้ใช้ยาเพร็พอยู่ประมาณ 650,000 คน และเป็นที่นิยมอย่างมากในหลายประเทศ เพราะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ดี แต่ในประเทศไทยยังมีผู้ใช้ค่อนข้างน้อยเพียงประมาณ 12,000 คนเนื่องจากเข้าถึงยาได้ยาก และข้อมูลที่ยังไม่แพร่หลาย รวมไปถึงค่านิยมของคนไทยที่ทำให้ผู้เสี่ยงติดเชื้อไม่กล้าเข้ารับการปรึกษา 


ยาเพร็พสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีแค่ไหน

ยาเพร็พ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV จากเพศสัมพันธ์ได้สูงถึง 99% เมื่อทานยาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติดได้ประมาณ 74%


ใครควรจะกินยาเพร็พ

ใครควรจะกินยาเพร็พบ้าง

  • ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ถุงยางอนามัยมากกว่า

  • ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่กำลังฉีดอยู่หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 3 เดือน

  •  ผู้ที่มาขอทานยาเป็ป PEP (ป้องกันหลังเสี่ยง) บ่อย โดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงได้

  • มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือไม่ทราบว่าคู่ติดเชื้อHIVหรือไม่  และมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงนี้อีกใน 3 เดือนข้างหน้า

  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา

  • หากไม่มีความเสี่ยงข้างต้นแต่อยากกินยาเพร็พ สามารถทำได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกินยา


ยาเพร็พอันตรายไหม อาการข้างเคียงของยาเพร็พมีอะไรบ้าง

ยาเพร็พที่ได้รับการดูแลโดยแพทย์
  • ยาเพร็พนับว่าเป็นยาที่ปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงน้อยและประสิทธิภาพดี แต่ยังต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ เนื่องจากหากใช้ยาไม่ถูกต้องและไม่ได้ตรวจเลือดอาจมีการดื้อยาและพบผลข้างเคียงที่อันตรายได้

ยาเพร็พทำให้อ่อนเพลีย
  • อาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย พบได้ 10% ในช่วงเริ่มยา และอาการจะค่อยๆดีขึ้นได้เอง

ยาเพร็พทำให้กระดูกบาง
  • กระดูกบางลง หรือค่าไตขึ้น พบได้น้อยมากเพียง 0.5-1% และกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดยา


ก่อนเริ่มกินยาเพร็พต้องทำอย่างไรบ้าง

ก่อนเริ่มกินยาเพร็พ เบื้องต้นผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว และต้องตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV ก่อนเริ่มยาทุกราย , ตรวจค่าไต ก่อนเริ่มยาในบางราย รวมถึงตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ซิฟิลิส และหนองใน ร่วมด้วยเพื่อการรักษา


กินยาเพร็พต้องกินอย่างไร

ยาเพร็พสามารถกินได้ 2 รูปแบบ คือ  การกินเพร็พแบบทุกวัน และ การกินเพร็พเฉพาะช่วง โดยจะแนะนำให้กินยาเพร็พแบบทุกวัน มากกว่าเนื่องจากทำได้ง่ายกว่า

การกินยาเพร็พแบบทุกวัน

1.การกินเพร็พแบบทุกวัน ( Daily PrEP)

  • กินยาเพร็พ วันละ 1 เม็ด ทุกวันในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  • ใช้ได้ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และทรานเจนเดอร์

  • เมื่อเริ่มยา ให้ป้องกันการติดเชื้อขณะมีเพศสัมพันธ์ด้วยถุงยางอนามัยใน 7 วันแรกร่วมด้วยเพราะระดับยาจะสามารถป้องกันโรคได้ดีที่สุดเมื่อทานไปแล้ว 7 วัน

การกินยาเพร็พเฉพาะช่วง

2. การกินเพร็พแบบเฉพาะช่วง (On demand PrEP)

  • กินยาเพร็พ 2 เม็ดใน 2-24 ชั่วโมงแรกก่อนมีเพศสัมพันธ์ และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดจนถึง 2 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย

  • แนะนำใช้วิธีนี้แค่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องประสิทธิภาพในผู้ใช้กลุ่มอื่น

ตรวจ HIV ก่อนเริ่มใช้ยาเพร็พ

ถ้าไม่เสี่ยงติดเชื้อ HIV ทานยาเพร็พได้หรือไม่

ยาเพร็พ ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV เท่านั้น และควรทำการตรวจ HIV ก่อนเริ่มใช้ยา PrEP และตรวจซ้ำทุกๆ 3 เดือน หากบุคคลนั้นเลือกทานยา PrEP การทดสอบอาจทำโดยผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สถานพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการ หากบุคคลใดเลือกใช้ PrEP แบบฉีด ควรทำการตรวจ HIV เป็นประจำทุก 8 สัปดาห์ในระหว่างการนัดตรวจเพื่อฉีดครั้งถัดไป

PrEP แบบฉีดจะออกฤทธิ์นานมากกว่า ยาเพร็พ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีสภาพแวดล้อมในชีวิตที่ยุ่งยาก แทนที่จะรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด


ยาเพร็พ ซื้อที่ไหน

ยาเพร็พไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้ ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น ซึ่งก่อนกินยาจะต้องได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ก่อน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรับคำแนะนำในการกินยา เนื่องจากเป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ สามารถรับบริการได้ที่คลินิกเอกชนใกล้บ้าน และโรงพยาบาล


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยาเพร็พ (ยา PrEP)

สามารถหยุดยาได้เมื่อไม่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว หรือมีผลข้างเคียงมาก และไม่ต้องการทานยาต่อ โดยแนะนำกินยาเพร็พจนถึง 7 วัน หลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายจึงหยุด และสามารถกลับมาปรึกษาเพื่อกินยาเพร็พใหม่ได้หากเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงอีก และก่อนหยุดกินทุกครั้งต้องตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อทุกครั้ง

แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามในระหว่างกินยาเพร็พ ทุก 1-3 เดือน เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และอาจมีติดตามค่าไต ทุก 3-6 เดือนในบางราย รวมถึงติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยาเพร็พ

ถ้าหากผู้รับบริการมีคู่เป็นผู้ติดเชื้อ HIV และวางแผนที่จะตั้งครรภ์  การกินยาเพร็พ สามารถป้องกันการติดเชื้อสู่แม่และลูกได้ โดยการกินยาเพร็พต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง

สามารถกินยาเพร็พได้ โดยยาเพร็พ ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 35 กิโลกรัม

สามารถใช้ยาเพร็พร่วมกับการคุมกำเนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น ยากินคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด โดยไม่เกิดอันตราย

การกินยาเพร็พป้องกันเพียงการติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคอื่นๆ และไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ยาเพร็พ เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับยาเพร็พได้ที่โรงพยาบาล และคลินิกใกล้บ้านที่มียาเพร็พบริการ

ถึงแม้ว่าการทานยา PrEP จะช่วยสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อเอขไอวีได้มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ควรใช้วิธีทานยาควบคู่กับถุงยางร่วมกัน เพื่อป้องกันโอกาสในการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และควรมีวินัยทานยา PrEP ให้ตรงเวลาเสมอ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

เอกสารอ้างอิง

  • Centers for Disease C, Prevention.PREEXPOSURE PROPHYLAXIS FOR THE PREVENTION OF HIV INFECTION IN THE UNITED STATES – 2021 UPDATE,Clinical practice guideline

  • Centers for Disease C, Prevention. Interim guidance for clinicians considering the use of preexposure prophylaxis for the prevention of HIV infection in heterosexually active adults. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2012;61(31):586-9.

  • กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อ HIV ประเทศไทย ปี 2564/2565

  • กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการจัดการบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564

  • กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
  แก้ไขล่าสุด : 29/05/2023

free web counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้