ยาเป๊ป ยาต้านเอดส์ฉุกเฉิน ป้องกัน HIV ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา PEP

ยาเป๊ป ยา pep

ยาเป๊ป  (Post-Exposure Prophylaxis) ยาต้านเอชไอวีฉุกเฉิน เป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชม. ซึ่งยา PEP มีวิธีกินยา การหยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เป็นยาต้าน hiv ฉุกเฉิน ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักกันมากเท่าไรนัก

เนื่องจากเป็นยาที่ต้องทำการสั่งจ่ายโดยแพทย์และสถานพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อกินเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ดังนั้น ก่อนที่จะได้รับยาต้านเชื้อชนิดนี้ ต้องมีการซักประวัติ และตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ พร้อมทั้งคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้อง เราไปดูกันเลยว่าการกินยาต้องทำอย่างไร ผลข้างเคียงของเป๊ปเป็นอย่างไรบ้าง ส่งผลอันตรายกับร่างกายมากน้อยแค่ไหน อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบให้คุณค่ะ

ยาเป๊ป คืออะไร

ยาเป๊ป (Post-Exposure Prophylaxis) คืออะไร

เป๊ป หรือ PEP ชื่อย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV แบบฉุกเฉิน เป็นยาต้านไวรัสกรณีฉุกเฉินหลังสัมผัสเชื้อ ต้องกินยาหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV ภายใน 72 ชั่วโมงและกินยาต่อเนื่องนาน 30 วัน

การสัมผัสเชื้อ HIV ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากเชื้อไวรัส HIV สามารถแบ่งตัวได้เร็วมากภายใน 24-36 ชั่วโมง จึงต้องได้รับยาเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์เสี่ยง และช้าสุดไม่เกินภายใน 72 ชั่วโมง

สูตรยาเป๊ป ที่แนะนำ ประกอบด้วยยา 3 ตัวรวมในเม็ดเดียว ได้แก่ KOCITAF (TAF) 25 mg Emtricicabine (FTC) 200 mg และ dolutegravir (DTG) 50 mg นอกจากนี้ยังมีสูตรยาอื่นๆ อีกซึ่งแพทย์จะปรับยาตามเงื่อนไขของผู้รับบริการแต่ละราย


 

ยา pep ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ดีแค่ไหน

ยาเป๊ปได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถป้องกันการการติดเชื้อได้อย่างน้อย 80%  แต่เนื่องจากยา pep เป็นยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินหลังจากเสี่ยงได้รับเชื้อมาแล้ว ประสิทธิภาพของยาจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระยะเวลาเริ่มยายิ่งเริ่มเร็วก็จะป้องกันได้ดีกว่า ลักษณะและระยะเวลาของการได้รับเชื้อ ปริมาณเชื้อในผู้ติดเชื้อหากมีเชื้อมากประสิทธิภาพก็จะน้อยลง เป็นต้น 

 

" ควรกินยาเมื่อฉุกเฉินเท่านั้น
ถ้าเสี่ยงบ่อยแนะนำให้กินยาเพร็พ
(ป้องกันก่อนเสี่ยง)
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงจะดีกว่า "


 


  ดูราคา pep คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ


พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรรับยา

1. มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย โดยเฉพาะทางทวารหนัก แม้จะเป็นฝ่ายรับหรือฝ่ายรุก

กรณีไม่ป้องกันดังที่กล่าวมานี้จัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวีค่ะ


2. มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์

การมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือเรียกว่าการทำออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) ทั้งคู่รักชายชาย คู่รักผู้หญิงกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายหรืออวัยวะเพศหญิงที่มีบาดแผล มีหนองหรือมีเลือดไหล โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ซึ่งการให้ยาเป็บก็จะพิจารณาเป็นกรณีไปว่ามีองค์ประกอบอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงหรือไม่


ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว

3. ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว

ใช้ถุงยางอนามัยแล้วถุงยางแตก หลุด รั่ว ฉีกขาด ขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นถุงยางของผู้ชาย ถุงยางสำหรับผู้หญิง ถุงยางนิ้วที่นิยมมากในคู่รักหญิงหญิง ถุงยางลิ้น 

กรณีควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมง หรือหากมาเร็วก็จะยิ่งดี ไม่ต้องลังเล เพราะการได้รับ pep เร็วก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง


4. สัมผัสเลือดหรือโดนเข็มตำ

การสัมผัสเลือดจากอุบัติเหตุหรือสัมผัสเลือดที่เห็นด้วยตา เช่น โดนเข็มหรือใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับคนอื่น เข็มที่ตำเป็นเข็มกลวง ถูกเข็มตำลึก มีเลือดติดอยู่ที่เข็มซึ่งมองเห็นได้ รวมทั้งการมีแผลเลือดออกที่อวัยวะเพศอยู่แล้วก่อนที่จะไปมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

5. มีคู่นอนหลายคน

เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ มีความสัมพันธ์แบบ one night stand หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ โดยไม่มีการป้องกัน และได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ที่สงสัยว่ามีเชื้อ HIV


6. ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน

การใช้อุปกรณ์เซ็กส์ทอยร่วมกัน ก็คือมีการนำเซ็กส์ทอยสอดใส่อวัยวะเพศของอีกฝ่าย แล้วนำมาสอดใส่อวัยวะเพศของตนเองโดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนถุงยางอนามัย


โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ

7. โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ

เป็นความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ และได้สัมผัสกับสารคัดหลั่ง น้ำลาย บาดแผลจากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก 

ในกรณีดังต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น คือ การข่มขืนระหว่างชายต่อชาย, การข่มขืนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีอัตราความชุกของโรคสูง, ถูกข่มขืนจากคนหลายคน, ถูกข่มขืนผ่านทางทวารหนัก และการข่มขืนแล้วมีเลือดออกหรือมีแผลบริเวณอวัยวะเพศทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ 


8. ได้รับเลือดหรือสารคัดหลั่ง

ได้รับเลือดหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา เข้าปาก เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายหรือสัมผัสผ่านผิวหนังที่มีบาดแผล รอยแตก


การสัมผัสสารคัดหลั่งใดบ้างที่ทำให้ติดเชื้อได้

  • เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำคร่ำ และหนอง โดยสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ หรือโดนผิวหนังที่มีแผลเปิด

  • ส่วนน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน อุจจาระและปัสสาวะ หากไม่ปนเปื้อนเลือดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้


ผลข้างเคียงของยาเป็ป

ยา PEP อันตรายไหม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

pep หรือยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินมีความปลอดภัยมาก หากผู้รับบริการกินยาอย่างถูกต้องและอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผลข้างเคียงของยาเป๊ปรุ่นใหม่ไม่รุนแรงเท่ายาในอดีตแล้ว อาการข้างเคียงที่พบได้ เช่น

  • คลื่นไส้

  • อ่อนเพลีย

  • เวียนศีรษะ

  • ถ่ายเหลว

อาการข้างเคียงต่างๆ มักจะเป็นเพียงช่วงแรกของการทานยาและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากอาการรุนแรงมากสามารถแจ้งแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้การรักษาและตรวจเพิ่มเติม

หมายเหตุ : กินยาเพียง 30 วัน จึงไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียงระยะยาว

สนใจ ยาเป๊ป

ก่อนเริ่มกินยา PEP ต้องทำอย่างไรบ้าง

ข้อควรรู้ก่อนเริ่มกิน ยา pep ยาป้องกันเอดส์ ฉุกเฉิน ผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ และต้องทำการตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV , ค่าไตและค่าตับ ก่อนกินยาทุกราย และตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตับอักเสบชี ซิฟิลิส หนองใน ร่วมด้วยเพื่อรักษา


กินยาเป๊ปต้องกินอย่างไร กินนานแค่ไหน

เริ่มกิน 1 เม็ดเร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ (1-2 ชั่วโมง) ช้าสุดไม่เกิน 72 ชั่วโมง และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดใกล้เคียงเวลาเดิมเป็นเวลา 30 วัน หรือ 4 สัปดาห์


  ดูราคาเป๊ปคลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

ขั้นตอนการให้บริการ PEP

ระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไรบ้าง 

ในระหว่างกิน pep ผู้รับบริการควรงดบริจาคเลือด และใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง หากเกิดความเสี่ยงขึ้นระหว่างทานยาให้ทานยาต่อเนื่องไปก่อนแล้วแจ้งแพทย์ เพื่อปรับเพิ่มระยะเวลากินให้นานขึ้นในบางราย

แนะนำผู้รับบริการสังเกตอาการของการติดเชื้อระยะแรก เช่น ไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ผื่นขึ้น อ่อนเพลียน้ำหนักลด เป็นต้น เนื่องจากการติดเชื้อระยะแรกอาจจะยังตรวจไม่พบเชื้อได้ หากมีอาการต้องแจ้งแพทย์เสมอเพื่อวางแผนการติดตามให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล

ตรวจเลือดหลังรับยาเป็ป

หลังกินยา pep ครบ 30 วันแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อบ้าง

แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามหลังกินยาเป็ป  ที่ 1 และ 3 เดือนหลังกินยา เพื่อตรวจ HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยา

ซึ่งการนัดตรวจหลังกินยา pep  มีความสำคัญอย่างมาก ผู้รับบริการควรมาติดตามผลเลือดอย่างสม่ำเสมอ และประเมินความเสี่ยงต่อ หากยังมีแนวโน้มมีพฤติกรรมเสี่ยง แพทย์จะแนะนำให้ผู้รับบริการกินยาเพร็พต่อเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น


ตรวจเลือด HIV ที่คลินิก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PEP

หากตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรสามารถกินยาเป๊ปได้หรือไม่

  • หญิงตั้งครรภ์สามารถกินเป๊ปได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และตัวยาไม่มีผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง

หากสัมผัสเชื้อมาเกิน 72 ชั่วโมงสามารถกินยา pep ได้หรือไม่

  • สามารถกินได้ แต่ผู้รับบริการต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเพื่อวางแผนแนวทางการกินยาร่วมกัน และแพทย์จะพิจารณาการกินเป็นรายๆไป

หากกินยาเป๊ปบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

หากกินยาเป๊ปบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

  • กินยาเป๊ปบ่อยไม่มีความอันตราย แต่เป็นการแสดงถึงแนวโน้มว่าผู้รับบริการมีความเสี่ยงสูง จึงแนะนำให้ทานยาเพร็พจะป้องกันได้ดีกว่า

สามารถหยุดกิน pep ก่อน 30 วันได้หรือไม่

  • สามารถหยุดได้ กรณีที่มั่นใจว่าคู่นอนตรวจไม่พบการติดเชื้อ HIV และไม่มีความเสี่ยงเพิ่มอีก ทั้งตัวผู้รับบริการและคู่นอน แต่ต้องรับการปรึกษาจากแพทย์ก่อนหยุดยาทุกครั้ง และแนะนำให้กินครบ 30 วันจะปลอดภัยกว่า

สนใจ ยาเป๊ป

ช่วงอายุที่สามารถรับยาเป๊ปได้

  • สามารถรับยาได้ทุกช่วงอายุ โดยวัยรุ่นที่มีอายุ 15-18 ปี และน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาเป็ปได้ หากอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับสูตรยาให้เหมาะสม


สามารถรับยาเป๊ปได้ที่ไหนบ้าง

  • ยาเป๊ป เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับได้ที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาล และคลินิกที่มียาบริการหลังการเสี่ยงติดเชื้อให้เร็วที่สุด


เป๊ป เป็นยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV แบบฉุกเฉิน หลังได้รับเชื้อหรือหลังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องรีบรับยาภายใน 72 ชั่วโมง และต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน

ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 80% หากต้องการรับยา pep สามารถติดต่อได้ที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล แนะนำว่าควรติดต่อรับยาให้เร็วที่สุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี

เอกสารอ้างอิง



บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
 
 แก้ไขล่าสุด : 13/10/2023

free web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้