วัคซีนบาดทะยัก ป้องกันโรคติดเชื้อที่อันตรายถึงชีวิต

 

วัคซีนบาดทะยัก

 

วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่อยู่ในโปรแกรมพื้นฐานที่ต้องมีการฉีดให้กับเด็กทารก เป็นผลให้การระบาดของบาดทะยักน้อยลง นอกจากนั้นวัคซีนบาดทะยักจำเป็นต้องมีการรักษาภูมิคุ้มกันไว้ตลอดทำให้ต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับผู้ใหญ่ หรือหลังจากที่ได้รับวัคซีนจนครบขนาดของยาในวัยเด็กแล้ว โดยในวัยผู้ใหญ่จะต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจและรู้จักกับโรคบาดทะยักกันก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้ทราบอาการและสาเหตุ รวมไปถึงความรุนแรงของบาดทะยักด้วย เมื่อเรารู้ที่มาที่ไปแล้วก็จะได้หาวิธีป้องกันที่ถูกต้องไว้ได้ทันท่วงที

บาดทะยักคืออะไร

บาดทะยัก คืออะไร

บาดทะยัก (Tetanus) คือ โรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani ซึ่งผลิต exotoxin ที่มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

ทำให้มีการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw)

(อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข)


  คลิกดูราคาวัคซีนบาดทะยักได้ที่นี่

สาเหตุของโรคบาดทะยัก

เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็น anaerobic bacteria ย้อมติดสีแกรมบวก มีคุณสมบัติที่จะอยู่ในรูปแบบของสปอร์ (spore) ที่ทนทานต่อความร้อนและยาฆ่าเชื้อหลายอย่าง  เชื้อสามารถสร้าง exotoxin ที่ไปจับและมีพิษต่อระบบประสาท

เชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล

เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

  1. แผลสดที่มีสิ่งแปลกปลอมค้างเช่น ฝุ่น อุจาระ น้ำลาย

  2. แผลที่มีวัตถุค้างเช่น ตะปูดำ เข็มตำ หรือกิ่งไม้ดำ หรือ

  3. อาจจะเกิดจากของมีคมบาด

  4. แผลไฟไหม้

  5. แผลบดทับทำให้เกิดเนื้อตาย

  6. สัตว์กัดเช่น สุนัข แมว ค้างคาว หนู

  7. แผลเรื้อรังมีเนื้อตายหรือออกซิเจนเข้าไม่ถึงได้แก่

  8. แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ

  9. เช้าเข้าผ่านทางสายสะดือ

  10. ไม่ทราบสาเหตุ

ระยะฟักตัวของโรคบาดทะยัก

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้ว ระยะฟักตัวของบาดทะยักจะใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 10 วัน แล้วโรคบาดทะยักจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่สองสามวันแรกและอาจกินระยะเวลาหลายสัปดาห์ 

อาการของโรคบาดทะยัก

อาการของโรคบาดทะยัก

  1. ปวด คล้ายปวดกล้ามเนื้อ

  2. มีปัญหาในการกลืนอาหาร การอ้าปาก หรือการหายใจ

  3. มีไข้สูง มีเหงื่อออก หงุดหงิดง่าย

  4. มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะๆ คอเกร็ง หลังเกร็ง 

  5. มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

  6. มีอาการเกร็งรุนแรงจนกล้ามเนื้อสลายตัว หรือจนถึงขั้นกระดูกหัก

  7. กล้ามเนื้อหลังหดจนทำให้หลังค่อม

  8. เป็นตะคริว เป็นลมชัก

" บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ หรือมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติที่รุนแรง "

ฉีดวัคซีนบาดทะยัก

การป้องกันโรคบาดทะยัก

  1. ฉีดวัคซีนบาดทะยักตามอายุที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

  2. ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผล หรือเมื่อเกิดบาดแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่นานอย่างน้อย 10-15 นาที และรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก

 

 

การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (วัคซีนบาดทะยัก ฉีดตอนไหน)

1. หากในสมัยเด็ก ได้รับวัคซีนบาดทะยักครบตามกำหนด (ในเด็กเล็กจะเป็นวัคซีนรวมป้องกัน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก) เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น จะดูตามบาดแผลคือ

บาดแผลไม่ลึก

หากเป็นแผลสะอาด แผลไม่ลึก ขนาดแผลไม่ใหญ่ หากได้รับวัคซีนบาดทะยัก หรือวัคซีนรวมเข็มสุดท้ายมาไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเกิน 10 ปีแล้ว ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม

บาดแผลขนาดใหญ่

หากเป็นแผลสกปรก บาดแผลลึก ปากแผลแคบ หรือแผลมีขนาดใหญ่ หรือมีแผลจำนวนหลายแผล หากได้รับวัคซีนบาดทะยักเข็มสุดท้ายมาเกิน 5 ปีแล้ว ต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม แต่หากแผลใหญ่และสกปรกมาก อาจต้องได้รับอิมมูโนโกลบูลินต้านบาดทะยักด้วย

วัคซีนบาดทะยักสำหรับเด็ก

ดังนั้น หากเคยฉีดวัคซีนครบมาก่อนแล้ว และได้ฉีดกระตุ้นไป 1 เข็มในช่วงนี้ หลังจากนี้ หากเกิดบาดแผลเล็กๆ แผลไม่สกปรก แผลไม่ลึก ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนไปได้อีกนานเป็น 10 ปี

 

2. แต่หากในสมัยเด็ก ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด ควรฉีดวัคซีนบาดทะยักให้ครบ 3 เข็ม และหลังจากนั้น จะฉีดกระตุ้นตามลักษณะของบาดแผลดังข้อ 1

อ้างอิงข้อมูล : แพทย์หญิงสลิล ศิริอุดมภาส, การพิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยัก (ถามแพทย์) 

 


  คลิกดูราคาวัคซีนบาดทะยักได้ที่นี่

วัคซีนบาดทะยัก คนท้อง

การฉีดวัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ (วัคซีนบาดทะยัก คนท้อง)

1. หญิงมีครรภ์ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 มล. โดย

  • เข็มที่ 1ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ จะเป็นระยะตั้งครรภ์เดือนไหนก็ได้

  • เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน

  • เข็มที่ 3ฉีดห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน แต่หากฉีดไม่ทันในขณะตั้งครรภ์ให้ฉีดหลังคลอด

 

สรุป คือ ฉีด 3 เข็ม ระยะห่าง 0, 1, 6 เดือนและให้วัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี

เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักแล้ว

2. หากหญิงมีครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้ว 1 ครั้ง ควรให้อีก 2 ครั้ง โดยมีระยะห่าง 0, 6 เดือน

เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก 2 ครั้ง

3. หากหญิงมีครรภ์เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักมาแล้ว 2 ครั้ง ควรให้อีก 1 ครั้ง โดยมีระยะห่างระหว่าง ครั้งที่ 2 กับครั้งที่ 3 อย่างน้อย 6 เตือน และให้วัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี

ได้รับวัคซีนบาดทะยักครบแล้ว

4. หากหญิงมีครรภ์เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักครบชุด คือ 3 ครั้ง มาแล้ว 5 ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง แต่ถ้าเคยฉีดครบชุดมาแล้วไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องฉีดกระตุ้น ในกรณีที่ประวัติไม่ชัดเจนให้ถือว่าไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักมาก่อน ให้วัคซีนตามข้อ 1

อ้างอิงข้อมูล : ธีราพร ชนะกิจ.คำถามที่พบบ่อยในการให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์ FAQs: Vaccination in pregnancy. อาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำแนะนำในการดูแลภายหลังฉีดวัคซีนบาดทะยัก

ภายหลังได้รับวัคซีนแล้วผู้ที่ฉีดวัคซีนอาจจะมีอาการ ไข้ ปวดบวม แดงร้อนบริเวณที่ฉีด แต่ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง หากมีอาการหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวข้างต้น แนะนำให้ปฏิบัติตน ดังนี้

อาการปวดบวมหลังฉีดวัคซีนบาดทะยัก

1. ปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีด 24 ชั่วโมงแรกหลังฉีด ถ้าปวดมากให้ใช้น้ำเย็นประคบ และให้รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์

รับประทานยาแก้ปวด

2. ผู้ที่ฉีดวัคซีนบาดทะยักบางรายอาจมีอาการปวดบวมที่แขนบริเวณที่ฉีดลามไปถึงบริเวณหัวไหล่ ข้อศอกหรือทั้งแขน อาการดังกล่าว เกิดจากการที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยักในระดับสูง ซึ่งไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เป็นอาการที่พบได้น้อย สามารถรักษาให้หายได้และไม่มีผลแทรกซ้อนในระยะยาว

มีไข้ต่ำให้เช็ดตัวลดไข้

3. สำหรับผู้ที่มีไข้ต่ำๆ ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาโดยเฉพาะบริเวณชอกคอ ข้อพักต่างๆ ควรเช็ดมากๆ เพื่อช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายและรับประทานยาลดไข้ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

นอกจากนี้ก่อนการฉีดวัคซีนบาดทะยัก ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ดูแล ตรวจความพร้อมของร่างกาย  หลังการฉีดวัคซีนควรพักบริเวณจุดให้บริการเป็นเวลา 30 นาที เพื่อเฝ้าดูอาการให้แน่ใจว่าไม่มีการแพ้รุนแรง จึงกลับบ้านได้ค่ะ

 

วัคซีนบาดทะยัก

 

 หากต้องการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือสอบถามรายละเอียด
ทักแชทมาได้ทุกช่องทาง เรายินดีให้บริการค่ะ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 

สนใจทักแชท
  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 18/10/2023

web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้