ท้องเสีย หน้ามืด อ่อนเพลีย ให้น้ำเกลือ ที่คลินิก 

Intravenous therapy (IV Fluids)

 

ให้น้ำเกลือ คลินิก

เมื่ออ่อนเพลียหรือท้องเสีย เรามักจะคุ้นเคยกับการไปหาหมอ แล้วหมอให้น้ำเกลือ แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะได้รับการรักษาเช่นนี้ เนื่องจากว่าการให้น้ำเกลือจะอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น เพราะในน้ำเกลือมีส่วนผสมของสารหลายอย่างที่เฉพาะทางการแพทย์ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  รวมทั้งผู้ป่วยแต่ละคนมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเกลือแตกต่างกัน

และที่สำคัญการได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจส่งผลเสียตามมาได้ แพทย์จะพิจารณาจะให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเท่านั้น

น้ำเกลือ

น้ำเกลือ คืออะไร

น้ำเกลือ คือ สารละลายที่มีองค์ประกอบเกลือแร่ต่างๆ โซเดียมคลอไรด์  (Sodium chloride) ไบคาร์บอนเนต (Bicarbonate) ฟอสเฟต  (Phosphate) หรือบางชนิดก็มี โพแทสเซียม (Potassium) มีน้ำตาล ในปริมาณสัดส่วนต่างๆกัน ขึ้นกับชนิดของน้ำเกลือ

 

ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทางการแพทย์ เช่น ทำความสะอาดบาดแผล  ให้ความชุ่มชื้นกับตา ช่วยในการเอาเลนส์สัมผัสออกจากตา สามารถให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำหรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า “ให้น้ำเกลือ” นั่นเอง


ทำไมต้องให้น้ำเกลือ

การให้น้ำเกลือเป็นการช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงได้  ซึ่งน้ำเกลือสามารถทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปได้อย่างรวดเร็วหรือช่วยชดเชยพลังงานเวลาที่ผู้ป่วยอ่อนเพลียได้  เพราะน้ำเกลือมีระดับความเข้มข้นเท่ากับที่ร่างกายต้องการ

 

นอกจากนี้ยังอาจใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ตามปกติอีกด้วยรวมทั้งในกรณีอื่นๆ เช่น ให้น้ำเกลือก่อนและหลังการผ่านตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์


ชนิดของน้ำเกลือที่นิยมในการให้น้ำเกลือ

ชนิดของน้ำเกลือที่นิยมในการให้น้ำเกลือ

  1. นอร์มัลซาไลน์ (Normal saline solution/NSS) หมายถึง น้ำเกลือเกลือธรรมดาที่มีความเข็มข้น 0.9% ซึ่งเท่ากับกับความเข้มข้นของเกลือในกระแสเลือดของคนปกติ มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

  2. 5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึงน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้นข้น 5% ไม่มีเกลือแร่ผสม มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

  3. 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรส เข้มข้น 5% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา

  4. 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

การให้น้ำเกลือแต่ละชนิดกับผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี


วิธีการให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

  1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการให้น้ำเกลือผู้ป่วย ตรวจสอบป้ายข้อมือ ทวนชื่อ-สกุล ผู้ป่วยก่อนการให้น้ำเกลือ

  2. เลือกตำแหน่งหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็มให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เลือกตำแหน่งแทงเข็มบริเวณหลอดเลือดดำหลังมือและแขน ทั้ง metacarpal, cephalic, และ basilic veins

  3. รัดสายรัด (Tourniquet) เหนือตำแหน่งที่จะแทงเข็ม  จากนั้นเช็ดบริเวณที่จะแทงเข็มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ด้วยน้ำยาทำลายเชื้อรอให้แท้ง ได้แก่ 70% alcohol ทิ้งไว้ให้แห้งหรืออย่างน้อย15 วินาที่ หรือ โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-iodine) อย่างน้อย 2 นาที หรือ 2% Chlorhexidine gluconate in alcohol อย่างน้อย 30 วินาที

  4. แทงเข็มให้น้ำเกลือ (IV Catheter)  โดยให้เข็มอยู่ในแนว 30 องศา กับผิวหนังที่จะแทง ดันเข็มให้น้ำเกลือ เข้าหลอดเลือดดำอย่างระมัดระวัง และเบามือเมื่อเห็นเลือดย้อนขึ้นมาให้ดึงแกนนำร่อง (stylet)  ออกและต่อชุดให้น้ำเกลือ (Set IV Fluid) เข้ากับเข็มให้น้ำเกลือข้อต่อให้แน่น แล้วทดสอบการไหลของสารน้ำ

  5. ปิดทับด้วยแผ่นฟิล์มใสปิดแผลกันน้ำ (Transparent film) และปิดพลาสเตอร์ทับสายให้น้ำเกลือโดยให้สามารถเห็นบริเวณที่แทงเข็มที่ปิดด้วยแผ่นฟิล์มใสปิดแผลกันน้ำ เพื่อสามารถสังเกตหลอดเลือดดำ (Phlebitis) หรือการรั่ว (Extravasation) ได้ง่าย กรณีที่ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก หรือมีเลือดซึมบริเวณที่แทงเข็ม ให้ใช้ก๊อซปราศจากเชื้อปิดตำแหน่งที่แทงเข็ม

  6. ปรับจำนวนหยดตามแผนการรักษา เก็บอุปกรณ์ ถอดถุงมือและทำความสะอาดมือ


ผู้ป่วยที่ต้องให้น้ำเกลือ

ผู้ป่วยที่ต้องให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

1.ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ หรือกินข้าวและน้ำไม่ได้นาน ๆ ควรให้น้ำเกลือ เพื่อเป็นการรักษาระดับและทดแทนน้ำ เกลือแร่ วิตามิน โปรตีน ไนโตรเจน และพลังงาน

2.ผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของกรด-ด่าง

3.ผู้ป่วยที่สูญเสียน้ำและเกลือแร่ปริมาณมากๆ รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์  (Electrolyte)

4.ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเลือดหรือรับการผ่าตัด เพราะต้องอดอาหารและน้ำก่อนและหลังผ่าตัด

5.ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาทางหลอดเลือดดำ

6.ผู้ป่วยที่ขาดน้ำ ท้องเดิน อาเจียนรุนแรง

7.ผู้ป่วยที่น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เนื่องจากอดอาหารนาน ๆ ดื่มเหล้าจัด ผู้ที่ใช้ยารักษาเบาหวานเกินขนาด


ประโยชน์ของการให้น้ำเกลือ 

  1. ทดแทนสารน้ำในร่างกายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

  2. การให้น้ำเกลือจะสามารถทดแทนเกลือแร่ในร่างกายที่สูญเสียไปได้อย่างรวดเร็ว

  3. เพื่อเป็นการทดแทนน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลต่ำได้อย่างรวดเร็ว

  4. ช่วยให้การรักษาอื่นๆเป็นไปได้สะดวก เช่น ให้น้ำเกลือช้าๆ คากับหลอดเลือดดำในคนที่ต้องฉีดยาวันละหลายๆครั้ง


 

หมอจะให้น้ำเกลือในกรณีใดบ้าง

  1. ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ/กำลังสูญเสียน้ำ

  2. มีการสูญเสียเกลือแร่จากอาการป่วยที่ต้องการการทดแทนโดยเร็ว

  3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอได้เอง รวมทั้งในกรณีที่จำเป็นจะต้องงดน้ำงดอาการทางปาก

  4. ความดันโลหิตต่ำจากสภาวะขาดน้ำ

  5. เกลือแร่บางชนิดในร่างกายผิดปกติ

  6. ผู้ที่มีระดับน้ำตาลให้เลือดต่ำ

  7. ใช้ร่วมกับการรักษาอื่น เช่น ร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะ

ข้อควรระวังการให้น้ำเกลือ

ข้อควรระวังการให้น้ำเกลือ

1. เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่นัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัดทำกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง

2. ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็ม เช่น ไม่มีบาดแผล หรือแผลไหม้ที่ทำให้หลอดเลือดถูกทำลาย รวมทั้งได้รับการผ่าตัด ห้ามเจาะเลือดแขนข้างนั้นเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและการรัดสาย Tourniguet จะขัดขวางระบบไหลเวียนแขนอาจบวมได้

3. ไม่ควรใช้ Antecubital vein ถ้ายังมีหลอดเลือดอื่นที่พอจะหาได้เพราะการงอแขนของผู้ป่วยจะทำให้เข็มให้น้ำเกลือเลื่อน

4. ไม่ควรใช้หลอดเลือดที่ขาเนื่องจากอาจเกิดอันตรายการไหลเวียนของเลือดไม่ดีได้ง่าย

5. ไม่ใช้หลอดเลือดดำบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด เนื่องจากบริเวณนี้หลอดเลือดดำถูกรบกวนจากการได้รับการผ่าตัด

ผู้ป่วย ให้น้ำเกลือ

6.กรณีให้น้ำเกลือในทารกแรกเกิด ให้แทงเข็มบริเวณ Scalp vein เนื่องจากเห็นชัด ตำแหน่งของเข็มเลื่อนหลุดได้ยากกว่าเมื่อทารกดิ้น

7. คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้น้ำ สารน้ำชนิด Hypertonic เนื่องจากสารน้ำมีความเข้มช้นของสารละลายสูง และมีความหนืดควรเลือกหลอดเลือดเส้นใหญ่ในการให้สารน้ำ

8. ผู้ป่วยที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ เช่น ยาปฏิชีวนะ โพแทสเซียมคลอไรด์อาจมีการระคายเคืองและปวด บริเวณหลอดเลือด

9. ควรเปลี่ยนตำแหน่งหลอดเลือดทุก 72-96 ชม. การแทงเข็มให้เริ่มจากตำแหน่งส่วนปลายของหลอดเลือดเข้าหาส่วนต้นในทิศทางเข้าหาหัวใจ

10. ในผู้ป่วยที่มีคำสั่งการรักษาต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาหลายวัน ควรเลือกเข็มเบอร์เล็ก ความยาว สั้น ให้เหมาะสม

11. หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับเพราะจะทำให้เข็มเคลื่อนไปมา ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด

ผลข้างเคียง ให้น้ำเกลือ

ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนของการให้น้ำเกลือ

  1. หากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้น้ำเกลือและน้ำยาที่ใช้ไม่สะอาด หรือเทคนิคการให้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้

  2. หากเกิดฟองอากาศ เพราะไล่อากาศจากสายน้ำเกลือไม่หมด ฟองอากาศจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจอาจเป็นอันตรายได้

  3. มีอาการไข้และหนาวสั่น ปวดศีรษะและปวดเมื่อย ตามตัว จากการแพ้น้ำเกลือ

  4. หากให้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าความเข้มข้นของเกลือในเลือด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก

  5. ถ้าให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้มีอาการบวม มีน้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายถึงตายได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตอยู่ก่อน


ให้น้ำเกลือผู้ป่วย

ค่าใช้จ่ายบริการให้น้ำเกลือที่คลินิก ราคาเท่าไร

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมบริการ ให้น้ำเกลือที่คลินิก ราคาเริ่มต้น 1,900 บาท 

หมายเหตุ
1. ราคานี้ยังไม่ร่วมค่ายา 
2. การให้น้ำเกลือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ตามความเหมาะสม

 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล , แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
  แก้ไขล่าสุด : 12/06/2566

free web counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้