วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

 

ไวรัสตับอักเสบบี (hepatotrophic virus) โรคร้ายที่หลายคนมองข้ามและชะล่าใจในการป้องกัน เนื่องจากโรคชนิดนี้แฝงอยู่ไม่ปรากฏอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วการรักษาให้หายได้ยาก จนในผู้ป่วยบางรายเป็นโรคเรื้อรังลุกลามเกิดเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คือการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีซึ่งหากร่างกายมีภูมิแล้ว จะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต

ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อตับ โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งเป็นหลัก (blood borne) เมื่อเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีอาจมีอาการป่วยไม่รุนแรงอยู่สองสามสัปดาห์ หรืออาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยที่รุนแรงตลอดชีวิตได้ 


อาการของผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี

ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน

ทำให้เจ็บป่วยในระยะสั้นซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนแรกหลังจากที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจมีอาการดังนี้

  • มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาเจียน

  • เป็นดีซ่าน (ตัวเหลืองหรือตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระเป็นสีโคลน)

  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดท้อง

ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง

ทำให้เจ็บป่วยระยะยาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่อยู่ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับเชื้อและเข้าสู่ภาวะของโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังจะไม่แสดงอาการแต่งคงเป็นอันตรายอยู่มากและอาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ทำให้ตับได้รับความเสียหาย (ตับแข็ง)

  • มะเร็งตับ

  • เสียชีวิต

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส

  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดยาเสพติด

  3. เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติการที่มีโอกาสสัมผัสกับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือด

  4. การใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เช่น แปรงสีฟัน มีดโกนหนวด เป็นต้น

  5. การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก

  6. ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด 

    ฉีดวัคซีนเด็กสำคัญอย่างไร? 


 การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ หากไม่ทราบว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจเลือด

  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการให้เลือดหรือส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดโดยไม่จำเป็น

  3. ไม่ใช้ของมีคม เข็มฉีดยาและหลอดฉีดยาร่วมกัน หรือไม่ใช้ภาชนะในการดื่มน้ำ รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพาหะ

  4. คู่สามีภรรยา ถ้ามีผู้ใดเป็นพาหะ อีกฝ่ายหนึ่งควรได้รับวัคซีนป้องกัน


วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบ หากได้รับวัคซีนครบโดสตั้งแต่อายุไม่เกิน 6 เดือน อาจช่วยให้มีผลป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต เมื่อเวลาผ่านไประดับภูมิคุ้มกันน้อยลง หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเข้าไป ภูมิคุ้มกันก็จะกลับมาทำงานได้


 ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

  1. บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  2. บุคคลที่เป็นโรคตับ หรือ โรคไตอักเสบเรื้อรัง

  3. บุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

  4. ผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องมีการล้างไต (kidney dialysis patients)

  5. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์

  6. ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อโรค

* สำหรับบุคคลที่สงสัยว่าเป็นภูมิแพ้ต่อยีนส์ โดยเฉพาะที่แพ้อย่างรุนแรง (severe allergies) ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด


ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ราคา

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

ปัญหาเล็กน้อยที่พบได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่

  • มีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคขึ้น มีไข้สูง 99.90F (37.7*C) หรือสูงกว่า อาการนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังการฉีดวัคขึ้นและจะมีอาการเพียง 1 หรือ 2 วัน

  • รู้สึกหน้ามืดวิง เวียน ตาพร่ามัว หรือหูอื้อ

  • มีอาการปวดไหล่

     

เอกสารอ้างอิง

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี .เอกสารข้อมูลวัคซีน  by the Immunization Action Coalition

วัคซีนน่ารู้. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ  (Hepatitis). สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

  แก้ไขล่าสุด : 16/09/2022

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้