TH
MM
EN
หน้าหลัก
บริการของเรา
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ล้างแผล ทำแผล
เย็บแผล
ตัดไหม
ให้น้ำเกลือ
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
คลินิกเบาหวาน คลินิกความดันโลหิตสูง
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
คลินิกตรวจรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์
วางแผนครอบครัว
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิดและถอดห่วงคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิด (ห่วงอนามัย)
ถอดห่วงคุมกําเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
ตรวจสุขภาพประจำปีแบบเคลื่อนที่ Mobile Check up
ยาเพร็พ (HIV PrEP) ,ยาเป๊ป (HIV PEP)
ยาเพร็พ (HIV PrEP)
ยาเป๊ป (HIV PEP)
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
สาขารามอินทรา กม.2
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
สาขาทั้งหมดที่เปิดให้บริการ
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
หลังฉีดยาคุม มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
บริการของเรา
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ล้างแผล ทำแผล
เย็บแผล
ตัดไหม
ให้น้ำเกลือ
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
คลินิกเบาหวาน คลินิกความดันโลหิตสูง
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
คลินิกตรวจรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์
วางแผนครอบครัว
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิดและถอดห่วงคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิด (ห่วงอนามัย)
ถอดห่วงคุมกําเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
ตรวจสุขภาพประจำปีแบบเคลื่อนที่ Mobile Check up
ยาเพร็พ (HIV PrEP) ,ยาเป๊ป (HIV PEP)
ยาเพร็พ (HIV PrEP)
ยาเป๊ป (HIV PEP)
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
สาขารามอินทรา กม.2
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
สาขาทั้งหมดที่เปิดให้บริการ
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
หลังฉีดยาคุม มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
TH
MM
EN
โรคหนองใน คืออะไร? อาการ ข้อปฏิบัติ พร้อมวิธีการรักษา
ถ้าหากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึง
โรคหนองใน
หรือ
หนองใน
คำสั้นๆ ที่ทุกคนเคยได้ยิน ซึ่งบางคนก็อาจกำลังประสบปัญหากับโรคนี้อยู่
โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งผู้หญิง (
หนองในผู้หญิง
) และผู้ชาย (หนองในผู้ชาย)
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบกันได้มากเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด
รวมไปถึง “
หนองในเทียม
” ที่หลายคนมักจะสงสัยว่าคืออะไร มีอาการแตกต่างจากหนองในอย่างไร วันนี้เราจะพาไปไขข้อสงสัยกันค่ะ
เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคหนองใน
โรคหนองใน คืออะไร
โรคหนองใน สำคัญอย่างไร
สาเหตุโรคหนองใน
โรคหนองในแพร่กระจายอย่างไร
หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคหนองจะส่งผลต่อทารกอย่างไร
โรคหนองในเทียมแตกต่างกับโรคหนองในแท้อย่างไร
เปรียบเทียบอาการโรคหนองในผู้ชายและหนองในผู้หญิง
โรคหนองใน อาการเป็นอย่างไร
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจโรคหนองใน
การตรวจวินิจฉัยโรคหนองใน
การรักษาโรคหนองใน
จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหนองในได้อย่างไร
การปฏิบัติตัวขณะเป็นโรคหนองใน และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้งได้เมื่อไร
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
รักษาโรคหนองในที่ไหนดี
โรคหนองใน คืออะไร
โรคหนองใน
(Gonorrhea)
คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และลำคอ โดยอุบัติการณ์ของโรคหนองในนั้นพบบ่อยมากในกลุ่มหนุ่มสาวอายุ 15-24 ปี
โรคหนองใน สำคัญอย่างไร
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพบว่าเชื้อตัวดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีภาวะดื้อยาเพิ่มขึ้นด้วย
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์ (STD) สนใจคลิกเลย
สาเหตุโรคหนองใน
โรคหนองใน
มีสาเหตุจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อหนองใน ซึ่งการติดเชื้อหนองในส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ลำคอ และเยื่อบุตา เป็นต้น
โรคหนองในแพร่กระจายอย่างไร
โรคหนองในติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือออรัลเซ็กซ์กับผู้ที่มีโรคหนองใน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหนองในสามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับทารกขณะคลอดบุตรได้
หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคหนองจะส่งผลต่อทารกอย่างไร
ทารกสามารถติดเชื้อหนองในจากมารดาได้ในระหว่างการคลอด ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงสำหรับลูกน้อยได้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย และรับรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งการรักษาโรคหนองในโดยเร็วที่สุดจะทำให้ปัญหาสุขภาพสำหรับลูกน้อยนั้นน้อยลง
โรคหนองในเทียมแตกต่างกับโรคหนองในแท้อย่างไร
หนองในแท้
เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhoeae มีระยะเวลาการฝักตัว 1 – 10 วัน เมื่อเป็นแล้ว ในผู้หญิงจะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ และปากมดลูกอักเสบ มีหนองไหลออกมาจากปากมดลูก ในผู้ชายมีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ มีอาการปวด อักเสบ และแสบมากเมื่อปัสสาวะ
หนองในเทียม
เกิดจากเชื้อ Chlamydia Trachomatis มีระยะเวลาการฝักตัวมากกว่าหนองในแท้ ไม่ค่อยมีอาการหรือมีอาการรุนแรงน้อยกว่าหนองในแท้ ผู้หญิงมีอาการคล้ายตกขาวแต่เป็นสีเหลืองออกมาจากปากช่องคลอดตลอดเวลา ผู้ชายมีลักษณะเป็นคราบเหลืองๆ ติดอยู่ที่กางเกงชั้นใน อาการจะไม่รุนแรงเท่าหนองในแท้ แต่จะเป็นเรื้อรัง
เปรียบเทียบอาการโรคหนองในผู้ชายและหนองในผู้หญิง
โรคหนองใน
มักไม่มีอาการ แต่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ แม้จะไม่มีอาการก็ตาม ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหนองในมักไม่มีอาการใดๆ โดยหากมีอาการ ก็มักไม่รุนแรงและอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ หรือช่องคลอดติดเชื้อ
อาการหนองในในเพศหญิงที่ พบบ่อย ได้แก่
ปัสสาวะแสบขัด รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ
ตกขาวเพิ่มขึ้น มีสีหรือกลิ่นผิดปกติ
เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน
อาการหนองในในเพศชาย ที่พบบ่อย ได้แก่
ปัสสาวะแสบขัด รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ
มีหนองสีขาว เหลือง หรือเขียวออกจากปลายองคชาต
มีอาการปวดหรืออัณฑะบวมขึ้น (พบได้น้อย)
การติดเชื้อทางทวารหนัก อาจมีอาการแสดง ดังต่อไปนี้
มีหนอง
มีเลือดออก
คันบริเวณรอบรูทวารหนัก
แสบร้อน
ปวดบิดท้องหรือทวารหนัก
หากสังเกตพบอาการดังที่กล่าวมา ควรปรึกษาแพทย์ และพาคู่นอนมาตรวจ รวมถึงหากคู่ของคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน คุณควรเข้ารับการตรวจยืนยันเช่นกันแม้ไม่มีอาการ
คลิกเพื่อปรึกษาแพทย์
โรคหนองใน อาการเป็นอย่างไร
1. ไม่มีอาการ
50-90% ของผู้หญิง และ 10% ของผู้ชายที่ได้รับเชื้อดังกล่าว มักไม่แสดงอาการ
2. โรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ท่อปัสสาวะอักเสบ มีปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ มักพบบ่อยในผู้ชาย
ปากมดลูกอักเสบ ในผู้หญิง มีอาการตกขาวเป็นมูกหนอง อาจร่วมกับการมีเลือดออกทางช่องคลอด และมีปัสสาวะขัดได้เช่นกัน
ทวารหนักอักเสบ ส่วนมากมักไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะมีอาการปวดเบ่ง มีสารคัดหลั่งหรือเลือดไหลออกจากรูทวารหนัก
3. โรคหนองในในช่องคอ
มักไม่มีอาการ อาการเจ็บคอทั่วไป หรือคอเป็นหนอง มักจะหายได้เอง อย่างไรก็ตามหากมีประวัติเจ็บคออักเสบ หลังการ Oral sex ให้พิจารณารับยาที่ครอบคลุมการรักษาหนองในด้วยเช่นกัน
4. โรคหนองในในเยื่อบุตา
พบได้ไม่บ่อย มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีเชื้อหนองในบริเวณระบบสืบพันธุ์แล้วรับเชื้อเข้าไปในเยื่อบุตา อาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เป็นหนอง รวมถึงกระจกตาเป็นแผลได้
5. โรคหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ เช่น การติดเชื้อลามเข้าไปในอุ้งเชิงกราน มักมีอาการปวดท้องมีไข้สูงจากมดลูกหรือปีกมดลูกอักเสบมีหนอง
ภาวะแทรกซ้อนแพร่กระจาย เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด มักจะมีไข้สูง ซึมลง อาจเกิดการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง และลิ้นหัวใจร่วมด้วยได้
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจโรคหนองใน
อย่างที่ทราบว่า
โรคหนองใน
สามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย กับคู่นอนที่เป็นโรคหนองใน
หากคุณมีพฤติกรรมดังกล่าว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ โดยให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เพื่อรับการตรวจโรคหนองในหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
1. หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก แนะนำว่าควรตรวจโรคหนองในทุกปี
2. หากมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด แนะนำว่าควรได้รับการตรวจโรคหนองในทุกปีในกรณีที่
อายุน้อยกว่า 25 ปี
อายุ 25 ปีขึ้นไปที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีคู่นอนใหม่ มีคู่นอนหลายคน หรือมีคู่นอนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตรวจวินิจฉัยโรคหนองใน
ในกรณีที่มีปัสสาวะแสบขัด สามารถตรวจวินิจฉัยโดยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งเพาะเชื้อ แต่หากมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือมีอาการแสดงบริเวณช่องปากหรือลำคอ อาจเก็บตัวอย่างจากลำคอ
หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือมีอาการแสดงบริเวณทวารหนัก อาจเก็บตัวอย่างจากทวารหนัก หากมีอาการแสดงบริเวณอวัยวะเพศ อาจเก็บตัวอย่างจากปลายองคชาต หรือบริเวณปากมดลูก (ตรวจภายใน)
การรักษาโรคหนองใน
โรคหนองใน
รักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรได้รับในรูปแบบฉีดหรือรับประทาน โดยความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยถือเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา
ปัจจุบันโรคหนองใน มีอุบัติการณ์ดื้อยามีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากหลังจากได้รับการรักษาครบ แล้วพบว่ายังคงมีอาการแสดงอยู่ แนะนำให้กลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหนองในได้อย่างไร
วิธีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบแน่นอน คือการไม่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือออรัลเซ็กซ์
หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ วิธีการลดโอกาสของการเป็นโรคหนองในมีดังนี้
มีคู่นอนคนเดียว ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่พบโรคหนองใน
ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การปฏิบัติตัวขณะเป็นโรคหนองใน และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายทั้งผู้ป่วยและคู่นอน และภายในช่วงเวลา 7 วัน หลังจากที่ให้การรักษาจนหายดีแล้วถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย
รับประทานยา หรือรับการรักษาจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดร่างกาย และความสะอาดของเสื้อผ้าชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำ ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
ดูแลความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังขับถ่ายโตยล้างจากต้านหน้าไปด้านหลัง แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชชูที่สะอาด
มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหลจากอวัยวะเพศ ควรไปพบแพทย์
ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
หากคู่นอนมีอาการน่าสงสัย ควรแนะนำ พามาพบแพทย์และรักษาคู่นอนที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันภายในช่วง 60 วัน ก่อนวินิจฉัย
โรคหนองใน
สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้งได้เมื่อไร
สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้ หลังจากทานยาฆ่าเชื้อครบไปอีก 7 วัน ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาเสร็จสิ้นและอาการหายไป เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อหนองในซ้ำ
ผู้ที่เป็นโรคหนองในควรได้รับการตรวจซ้ำประมาณสามเดือนหลังการรักษาการติดเชื้อครั้งแรก แม้ว่าคู่รักจะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม
โรคหนองในสามารถติดเชื้อซ้ำได้ ถึงแม้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จึงควรป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
โรคหนองใน
ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและถาวรได้
1. ในผู้หญิง
โรคหนองในที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน (PID) ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น
การก่อตัวของพังผืด ปิดกั้นท่อนำไข่
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
ภาวะมีบุตรยาก
ปวดอุ้งเชิงกราน/ปวดท้องเรื้อรัง
2. ในผู้ชาย
โรคหนองในอาจทำให้เกิดอาการปวดหน่วงท้องน้อย และอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้ในบางกรณีโรค
หนองใน
ที่ไม่ได้รับการรักษามักจะแพร่กระจายไปยังเลือดหรือข้อต่อได้ ซึ่งภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
รักษาโรคหนองในที่ไหนดี
ในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหรือคลินิกนรีเวชเพื่อให้บริการรักษาทางด้านนี้โดยเฉพาะ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ เครื่องมือที่ทันสมัยมีมาตรฐาน บริการรวดเร็วไม่ต้องรอคิวนาน ราคาสบายกระเป๋า ดังนั้นหากคุณมีอาการในลักษณะดังที่กล่าวมาแนะนำให้รีบไปตรวจเพื่อสุขภาพทางด้านนรีเวชของคุณเอง เพราะหากตรวจพบเร็วแพทย์ก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที
หากสนใจสอบถามรายละเอียดหรือต้องการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ
หนองใน
สามารถค้นหา คลินิกรักษาหนองใน ใกล้ฉัน บน google หรือทักแชทมาที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมได้เลยค่ะ เรามีแพทย์และเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการ คุณหมอใจดี เข้ารับบริการแบบไร้กังวล ราคาสบายกระเป๋า
อ้างอิงข้อมุล
แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองในเฉพาะที่, เวชบันทึกศิริราช
แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ. 2562,
กรมควบคุมโรค
โรคหนองใน 2556, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Gonorrhea – CDC Basic Fact Sheet
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line
081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงเรณุกา ไหมสุทธิสกุล
แก้ไขล่าสุด : 26/09/2022
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด