ไข้หวัดใหญ่ อาการ สาเหตุที่คุณต้องรู้ และวิธีรักษาให้หายดี

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็ก มักระบาดในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ติดต่อได้ง่าย และมีอาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ การรักษาจะเป็นการให้ยาตามอาการ หากมีไข้สูง อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและการดูแลใกล้ชิดจากแพทย์

เรื่องน่ารู้ไข้หวัดใหญ่ เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ


รักษาไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เรียกว่า อินฟลูเอนซ่าไวรัส (Influenza virus) มีความรุนแรงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก พบได้ในทุกเพศทุกวัย จะระบาดมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว


 

ไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้ทางลมหายใจ ไอ จาม การหายใจรดกัน หรือติดต่อจากมือที่มีเชื้อไวรัสจากการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย นำไปสัมผัสที่จมูกหรือปากก็สามารถทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้


อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่มีดังนี้

  1. ไข้สูง หนาวสั่น

  2. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อมาก

  3. ปวดศีรษะ ปวดเบ้าตา

  4. ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูก

  5. อ่อนเพลียมาก รู้สึกเหนื่อยง่าย

  6. ในผู้ป่วยบางคนโดยเฉพาะเด็กเล็กอาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนร่วมได้ด้วย


  ดูราคายาต้านไข้หวัดใหม่ที่นี่

อาการเบื้องต้นที่แสดงไข้หวัดใหญ่

อาการเบื้องต้นไข้หวัดใหญ่ที่สังเกตได้คือจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น มักมีอาการปวดเมื่อยตามตัวมากโดยเฉพาะต้นแขน ต้นขา และบริเวณหลัง อ่อนเพลียมาก คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ ซึ่งหากใครที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือมีประวัติบุคคลใกล้ชิดเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ควรรีบมาพบแพทย์และเข้ารับการวินิจฉัยโดยเร็ว


 

อาการไข้หวัดใหญ่ที่ควรไปพบแพทย์

อาการไข้สูงเกิน 39 - 40 องศาเชียลเซียส และไข้ไม่ลดลงหลังได้ยาลดไข้ภายใน 1 - 2 วัน มีผื่นขึ้น ดื่มน้ำได้น้อยหรือกินอาหารได้น้อย ไอมาก มีเสมหะ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวแสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และอาการไม่ดีขึ้นหลังไข้ลง หรือหลังไข้ลงกลับมามีไข้อีก ควรรีบมาพบแพทย์และเข้ารับการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่โดยเร็ว


  ดูราคายาต้านไข้หวัดใหม่ที่นี่


ไข้หวัดใหญ่ กับ ไข้หวัด ต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ กับ ไข้หวัด ต่างกันอย่างไร

อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคไข้หวัดใหญ่หรือคนที่ได้รับการรักษาช้าสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

ไซนัสอักเสบ

อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่แบบไม่รุนแรง

อาการแทรกซ้อนแบบไม่รุนแรง คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ไซนัสอักเสบ (แน่นจมูก มีน้ำมูก เสมหะสีเขียวข้น เจ็บบริเวณหัวตา จมูกและคิ้ว), หลอดลมอักเสบ (ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก), หลอดลมพอง (เสมหะเกิดการคั่งอยู่ในหลอดลม หากเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจทำให้ไอเป็นเลือดได้) และอาจมีอาการหูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ 

ปอดอักเสบ

อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่แบบรุนแรง

อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มมองอักเสบ เกิดอัมพาต ชัก แขนขา อ่อนแรง และโคม่า เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลอดเลือดดำ อักเสบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการกำเริบของโรคเดิมที่เป็นอยู่


กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

คนที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย ได้แก่

  1. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน โรคทางสมอง โรคลมชัก โรคเลือดธาลัสซีเมีย

  3. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ

  4. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป

  5. เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี รวมถึงเด็กที่ทานยาต้านเกล็ดเลือดแอสไพรินเป็นเวลานาน

  6. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

  7. บุคคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย


วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

  1. เมื่อรู้ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

  2. แยกตัวเองและแยกของใช้จากผู้อื่น หากเป็นเด็กนักเรียนควรหยุดเรียนหรือวัยทำงานควรหยุดงาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

  3. ขณะที่เป็นไข้หวัดใหญ่ให้ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆอย่างน้อยวันละ 6 - 8 เพราะน้ำจะช่วยขจัดสารพิษจากร่างกายและฟื้นจากอาการไข้ได้เร็วขึ้น

  4. กินยาลดไข้พาราซตามอลตามแพทย์แนะนำ ไม่ควรกินยาแอสไพรินเพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางสมองได้

  5. รักษาสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

  6. สวมใส่หน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องมีการพูดคุยหรือใกล้ชิดกับคนอื่น

  7. งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุให้อาการรุนแรงขึ้น


  วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ให้หายเร็ว อ่านเพิ่มเติมที่นี่

การป้องกันไข้หวัดใหญ่

การป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และฟอกสบู่ทุกครั้ง

  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป

  3. หลีกเลี่ยงการอยุ่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไข้หวัด

  4. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำ

  5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

สนใจ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่


ไข้หวัดใหญ่กินอะไรไม่ได้บ้าง

ในขณะที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อยู่ควรทานอาการที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เนื่องจากแอลกอฮอล์และสารคาเฟอีนในชา กาแฟ มีฤทธิ์ขับน้ำในร่างกายซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและแร่ธาตุได้ นอกจากนี้ การรับประทานของทอดของมันก็อาจทำให้อาการไอ ระคายคอ คลื่นไส้อาเจียน แย่ลงอีกด้วย


พบแพทย์ ดีกว่าซื้อยากินเอง

วิธีรักษา ไข้หวัดใหญ่

วิธีรักษา ไข้หวัดใหญ่

ในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ซึ่งจะได้ประโยชน์มากที่สุดหากได้รับยานี้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการรับประทานติดต่อกัน 5 วัน ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการของโรคและการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

ส่วนการดูแลอื่นๆ จะเป็นการให้ยาตามอาการเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ให้ยาลดไข้ หรือหากมีอาการไอ มีน้ำมูกให้ใช้ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูกได้ตามอาการ


  ดูราคายาต้านไข้หวัดใหม่ที่นี่

หากไม่รักษาไข้หวัดใหญ่ หรือรักษาช้าจะส่งผลอย่างไร

ถึงแม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะสามารถหายเองได้ แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาที่ล่าช้าก็อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวไปจนอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้อาจยังเพิ่มความรุนแรงของอาการและเพิ่มโอกาสในการแพร่เชื้อให้แก่บุคคลใกล้ชิดได้อีกด้วย


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
  แก้ไขล่าสุด : 16/05/2023

website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้