วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV

 

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

ที่เราต้องให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งคิดเป็นผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 6 คนต่อวัน* ทั้งที่มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และในปัจจุบันแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

ผู้หญิงหลายคนมีความเข้าใจผิดว่าตนเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง หรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่น่าจะเกิดโรคร้ายนี้ได้ จึงไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นบทความนี้จะพาท่านมาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปากมดลูกให้มากขึ้น สาเหตุการเกิดโรค กลุ่มเสี่ยง อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก รวมไปถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

 

เอกสารอ้างอิง : คนึงนิจ กิตติจันทร์เมธี, ภ.บ.*, จันทร์พร ก้องวัชรพงศ์, ภ.บ.(บริบาลทางเภสัชกรรม), ว.ภ. (เภสัชบำบัด). บทความโรคและยาใหม่, วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 9 สายพันธุ์ 

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และพบอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 50 สำหรับประเทศไทยในแต่ละวันจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก 18 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกโดยเฉลี่ยต่อวันถึง 6 คน  โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 17 ปี) มีคู่นอนหรือมีสามีหลายคน หรือมีสามีมีคู่นอนหลายคน

 

ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV ,ไวรัสเอชพีวี) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุในอวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้เชื้อไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ที่ปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูก จนกลายเป็นเนื้อเยื่อหรือเซลล์อักเสบเรื้อรังและเป็นมะเร็งในที่สุด

สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

  1. เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์

  2. อายุ ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

  3. มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น

  4. สูบบุหรี่

  5. มีบุตรจำนวนมาก

  6. ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)

  7. ไม่เคยตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  8. ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก 

อาการเหล่านี้บอกถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

  1. เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ สวนล้างช่องคลอด ตรวจภายใน

  2. เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่รอบประจำเดือน

  3. เลือดออกทางช่องคลอดหลังจากหมดประจำเดือนไปนานแล้ว (วัยทอง)

  4. ตกขาวมากขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน

  5. ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ  หรืออุ้งเชิงกราน

  6. เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

ผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัด (Surgery)

ในมะเร็งปากมดลูกระยะแรก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ส่วนบนของช่องคลอด รวมไปถึงเนื้อเยื่อด้านข้าง และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน แต่หากมะเร็งปากมดลูกมีขนาดเล็กมากและเป็นระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจจะได้รับการผ่าตัดเพียงปากมดลูกและมดลูก (simple hysterectomy)

การใช้รังสีรักษามะเร็งปากมดลูก

การใช้รังสีรักษา (Radiation)

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced cervical cancer) แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลัก แพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติ วิธีการรักษาอีกประเภทคือ การให้รังสีระยะใกล้ (Brachytherapy) โดยแพทย์จะให้แร่ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ

การให้เคมีบำบัดรักษามะเร็งปากมดลูก

การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)

แพทย์จะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อยร่วมกับการใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่  สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายแพทย์มักจะรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก

วิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 

ทั้งการตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และการตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (Thin Prep Pap Test) การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว

สนใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คลิกที่นี่  
ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

เป็นวิธีหนึ่งในการที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US. FDA) ให้การรับรองแล้วว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูก มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์หลักได้ถึง 100% ถ้าหากได้รับวัคซีนก่อนมีการติดเชื้อ และยังป้องกันมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และโรคหูดหงอนไก่ ที่อวัยวะเพศ (ชนิด 4 สายพันธุ์) ได้อีกด้วย และได้รับการยอมรับและผ่านการอนุมัติการใช้แล้วกว่า 70 ประเทศทั่วโลก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) 9 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้น  เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อาจเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว  สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นๆ เพิ่มได้ด้วย 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกอาจมีเพียงเล็กน้อย เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด  คลื่นไส้  เวียนศีรษะ มีไข้ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงไม่มาก แต่มีรายงานอาการรุนแรงในกลุ่มที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดอื่น ๆ ซึ่งต้องซักถามประวัติให้ดี

 
อาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม ซึ่งพบได้บ่อยในวัยรุ่น เพื่อป้องกันการเป็นลม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเป็นลม แนะนำให้ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก  (HPV) นั่งพักอยู่กับที่ เป็นเวลา 15 นาที

เอกสารอ้างอิง

มะเร็งปากมดลูก โดย ผศ. นพ.ภุชงค์ ลิขิตธนสมบัติ สืบค้นจากเว็บไซต์ www.rama.mahidol.ac.th

ฤดีวิไล สามโกเศศ. วัคซีนป้องกันเอชพีวี


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

ติดต่อ สอบถาม

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 13/09/2022

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้