TH
MM
EN
หน้าหลัก
บริการของเรา
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ล้างแผล ทำแผล
เย็บแผล
ตัดไหม
ให้น้ำเกลือ
รักษาไข้หวัดใหญ่
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
ตรวจการตั้งครรภ์
ฝากครรภ์ ฝากท้อง ราคาสบายกระเป๋า
คลินิกเบาหวาน คลินิกความดันโลหิตสูง
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์ สมัครเรียน
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
คลินิกตรวจรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์
วางแผนครอบครัว
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิดและถอดห่วงคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิด (ห่วงอนามัย)
ถอดห่วงคุมกําเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
ตรวจสุขภาพประจำปีแบบเคลื่อนที่ Mobile Check up
ยาเพร็พ (HIV PrEP) ,ยาเป๊ป (HIV PEP)
ยาเพร็พ (HIV PrEP)
ยาเป๊ป (HIV PEP)
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
สาขารามอินทรา กม.2
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
สาขาทั้งหมดที่เปิดให้บริการ
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
หลังฉีดยาคุม มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
บริการของเรา
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ล้างแผล ทำแผล
เย็บแผล
ตัดไหม
ให้น้ำเกลือ
รักษาไข้หวัดใหญ่
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
ตรวจการตั้งครรภ์
ฝากครรภ์ ฝากท้อง ราคาสบายกระเป๋า
คลินิกเบาหวาน คลินิกความดันโลหิตสูง
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์ สมัครเรียน
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
คลินิกตรวจรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์
วางแผนครอบครัว
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิดและถอดห่วงคุมกำเนิด
ใส่ห่วงคุมกำเนิด (ห่วงอนามัย)
ถอดห่วงคุมกําเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
ตรวจสุขภาพประจำปีแบบเคลื่อนที่ Mobile Check up
ยาเพร็พ (HIV PrEP) ,ยาเป๊ป (HIV PEP)
ยาเพร็พ (HIV PrEP)
ยาเป๊ป (HIV PEP)
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
สาขารามอินทรา กม.2
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
สาขาทั้งหมดที่เปิดให้บริการ
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมกำเนิด เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
หลังฉีดยาคุม มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
TH
MM
EN
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจภายใน
คือ การตรวจดูอวัยวะเพศผู้หญิงตั้งแต่ภายนอกถึงภายในตั้งแต่ปากช่องคลอด ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูกและรังไข่ ในบางรายอาจใช้เครื่องมือช่วยในการตรวจเพื่อทำการดูปากมดลูกและตรงช่องคลอดได้ชัดเจนมากขึ้น สูติแพทย์จะใช้หลัก “ดู คลำ รีด ใส่เครื่องมือ กด” ผู้หญิงสามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงอายุ การตรวจภายในจะสามารถช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาการติดเชื้อในช่องคลอด ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคอื่นๆ ได้
การ
ตรวจภายใน
และการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นการตรวจคนละอย่างกันค่ะ หากแต่ว่าสามารถทำพร้อมกันได้โดยส่วนใหญ่แล้วหากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจภายในไปพร้อมกัน
เลือกเนื้อหาที่คุณต้องการ
ตรวจภายในสำคัญอย่างไร?
หลักการตรวจภายในของแพทย์
ทำไมต้องตรวจภายใน?
เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อใด?
สาวโสดจำเป็นต้องตรวจภายในหรือไม่?
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?
วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ใครบ้างที่ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูก
การเตรียมตัวก่อนตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
แพ็คเกจตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจภายในสำคัญอย่างไร?
เพื่อตรวจค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ ทั้งที่มีและไม่มีอาการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก เมื่อพบโรคแล้ว จะได้รับการรักษา, ป้องกันการลุกลามของโรคและติดตามอาการอย่างเหมาะสม
เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากระบบอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
หลักการตรวจภายในของแพทย์ ดู คลำ รีด ใส่เครื่องมือ กด
การดู
พิจารณาดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การคลำ
คลำดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้แก่ แคมใหญ่ และแคมเล็กสองข้าง
รีด
รีดดูรูปัสสาวะว่ามีหนองอยู่ภายในหรือไม่
ใส่เครื่องมือ
ใส่ speculum ขนาดพอเหมาะ (รูปร่างคล้ายปากเป็ด) เพื่อตรวจดูช่องคลอดและปากมดลูก
กด
ใช้นิ้วสองนิ้ว คือนิ้วชี้และนิ้วกลาง สอดใส่เข้าไปในช่องคลอด อีกมือกดที่หน้าท้องเพื่อตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายในได้แก่ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ และอุ้งเชิงกราน ขั้นตอนในการตรวจทั้งหมดประมาณ 3-5 นาที และไม่เจ็บเลยนะคะ สบายใจได้
ทำไมต้องตรวจภายใน?
ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจหาการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น การติดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย
ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม โรคเริม ดูปากมดลูกก็ได้ หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หูด/หงอนไก่
ตรวจและหาสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ตกขาวผิดปกติ เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ ภาวะมดลูกหย่อน อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณหลัง
ตรวจก่อนการคุมกำเนิด เพื่อดูว่าอุปกรณ์ที่จะใช้มีความเหมาะสม เช่น การใส่ห่วงอนามัย
ตรวจเมื่อเริ่มตั้งครรภ์
เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อใด?
เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตามและร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วอย่างน้อย 3 ปี
สามารถหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ เมื่ออายุ 65-70 ปี โดยที่ผลการตรวจ
คัดกรองปกติ 3 ครั้ง ใน 10 ปี ก่อนหยุดตรวจ ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้ว ร่วมกับมีผลการตรวจก่อนหน้าปกติ
ผู้หญิงที่เคยตรวจพบความผิดปกติแล้ว ควรตรวจสม่ำเสมอตามแพทย์นัด
ผู้ที่ได้รับ HPV vaccine แล้วยังคงต้องตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine
การตรวจภายในนั้น ควรตรวจทุก 1 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น อาจตรวจได้ทุก 3 ปี
สาวโสดจำเป็นต้องตรวจภายในหรือไม่
ผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป แม้ไม่มีอาการผิดปกติ แนะนำให้ตรวจภายในเป็นการตรวจร่างกายประจำปี คัดกรองหามะเร็งปากมดลูก และคัดกรองการติดเชื้อโรค ตั้งแต่เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ และ
สำหรับผู้หญิงทุกวัย หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีแผล แสบคันอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก มีตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ ควรได้รับการตรวจภายในทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบระยะการตรวจ
สรุปว่า ไม่ว่าจะสาวโสด ไม่โสด หรือไม่เคยโดนสอดใส่ + - อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในทุกปี แม้สาวโสดจะเสี่ยงน้อยต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคภายใน เช่น เสี่ยงต่อการเกิดช่องคลอดอักเสบ เชื้อราในช่องคลอด เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ช็อกโกแลตซีสต์ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ เป็นต้น
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกมักเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี อีกทั้งผู้ป่วยจำนวนมากจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย
ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย โดยส่วนใหญ่มักมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 17 ปี) มีคู่นอนหลายคน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ดังนั้น การตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการลุกลามของมะเร็งที่ปากมดลูกได้ เพราะเซลล์ปากมดลูกสามารถกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง โดยที่คุณไม่ทราบหรือไม่มีอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด หากไม่รับการตรวจและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เซลล์นั้นก็จะกลายไปเป็นเซลล์มะเร็งที่รุนแรงและลุกลามไปที่อื่น ทำให้ยากต่อการรักษามากขึ้น
วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1. ตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear)
เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยที่สูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างขยายช่องคลอด ทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าได้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นที่ปากมดลูกหรือไม่ ข้อดีก็คือ สามารถตรวจพบโรคก่อนมะเร็งทุกระดับความรุนแรงได้ เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ประหยัดเวลา และมีราคาไม่สูง
2. การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (Thin Prep Pap Test)
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC) หรือนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ จัดเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบใหม่ สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65% ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบมาตรฐานอีกวิธีหนึ่ง
ข้อดีของการตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ คือ ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น ลดอัตราการเกิดผลลบลวงได้ และสามารถนำตัวอย่างเซลล์ไปตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ
ใครบ้างที่ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูก
มีอายุมากกว่า 35 ปี มากกว่า 21 ปี ก็ pap ตาม ASCCP 2013 (แต่ 35 ปี ความเสี่ยงก็เยอะกว่า)
มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนที่อายุน้อยมากหรือหลังจากที่มีประจำเดือนได้ไม่นาน
เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนหลายคน หรือมีคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากเรา
เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
เป็นผู้ที่มีเชื้อ เอช ไอ วี
สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาเส้นเป็นประจำ
เคยไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) แล้วพบว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย กรณีนี้ควรไปตรวจซ้ำทุกปีหรือสองปี เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อผิดปกตินั้นหยุดการเจริญเติบโตอย่างแน่นอน
การเตรียมตัวก่อนตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด
ก่อนไปพบแพทย์ควรทำความสะอาดช่องคลอดให้สะอาด โดยการล้างด้วยสบู่ธรรมดาที่อ่อนโยนต่อผิวบริเวณนั้น และล้างเฉพาะภายนอกเท่านั้น ไม่ต้องสวนล้างเข้าไปภายใน และเช็ดให้แห้งก็เพียงพอแล้ว
ไม่ควรตรวจหากกำลังมีประจำเดือน
ควรไปตรวจหลังหมดประจำเดือนแล้วอย่างน้อย ประมาณ 7 วัน แพทย์จะไม่ตรวจภายในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่มดลูกอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดอย่างน้อย 2 วันก่อนตรวจ
งดการสวนล้างช่องคลอด (ซึ่งตามปกติผู้หญิงก็ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดอยู่แล้ว) เนื่องจากจะทำให้ส่วนที่เป็นสาเหตุของโรคหลุดออกไปได้ อาจวินิจฉัยไม่ได้หรือตรวจไม่พบ
ควรงดมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจ
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจ อย่างน้อย 2 วัน เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และผลการวินิจฉัยไม่คลาดเคลื่อน
ไม่จำเป็นต้องโกนขน
คุณผู้หญิงไม่จำเป็นต้องโกนขน และหายกังวลเรื่องนี้ไปได้เลย เนื่องจากโรคบางอย่างต้องตรวจสอบและวินิจฉัยจากการดูลักษณะขนบริเวณอวัยวะเพศด้วย หากโกนขนออกไปอาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคยากขึ้น
สวมใส่ชุดสบายๆ ถอดสะดวก
การตรวจภายในจะต้องมีการถอดกางเกง ดังนั้นคุณผู้หญิงควรสวมใส่กางเกงที่หลวมๆ สบายๆ หรือจะเป็นกระโปรงก็ได้ งดใส่กางเกงยีนส์เพราะเป็นปัญหามากเวลาถอดและสวมใส่
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อนตรวจภายใน
ควรงดใส่ผ้าอนามัยชนิดสอด, โฟมคุมกำเนิด, เจลลี่ หรือ ครีมหรือยาที่ใช้ทางช่องคลอดอื่นๆ อย่างน้อย 2 วัน ก่อนมาตรวจ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีประสิทธิภาพไม่คลาดเคลื่อน
เตรียมตอบคำถามแพทย์
ก่อนการตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแต่ละครั้ง ข้อมูลที่แจ้งแพทย์จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการวินิจฉัยโรค ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะอายแพทย์นะคะ ให้ตอบคำถามตามความเป็นจริงได้เลยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองค่ะ
คำถามที่สูตินรีแพทย์มักจะถามก็ได้แก่ มีแฟนไหม เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไร แล้วมาตามปกติหรือผิดปกติไหม ถามเรื่องการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอดลูก รวมไปถึงการแท้งลูกด้วย
วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นการเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจ จะได้ไม่ต้องกังวลและช่วยลดอาการเขินอายเมื่อเข้าตรวจ เพราะหากเราเตรียมตัวและมีข้อมูลส่วนตัวพร้อม ก็จะทำให้ผลการตรวจออกมามีประสิทธิภาพ ได้ทราบเรื่องสุขภาพด้านนรีเวชของตัวเองแบบไม่คลาดเคลื่อน ด้วยค่ะ
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม มีบริการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการด้านสุขภาพสำหรับสุภาพสตรี ทำการวินิจฉัยและตรวจรักษาด้วยความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้จากที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ หรือค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google ปัญหาภายในเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม และการตรวจภายในไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ดังนั้นควรละทิ้งความอาย แล้วเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้รักษาให้ถูกต้อง ถูกโรคมากที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line
081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 11/08/2022
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด