ตัดไหมเจ็บไหม? เมื่อไรที่ต้องไปตัดไหม

 

ตัดไหม

 

หลังจากการเย็บแผลแล้ว แน่นอนว่าก็ต้องมาถึงการตัดไหม ซึ่งแพทย์จะแจ้งเวลากำหนดการตัดไหมให้ผู้ป่วยทราบหลังจากเย็บแผลเสร็จแล้วแต่กรณีไป หรือบริเวณที่ทำการเย็บแผลไว้ เพราะบางจุดจะใช้เวลาให้แผลปิดสมานกันดีไม่เท่ากัน เมื่อต้องมาตัดไหม หลายคนอาจจะสงสัยว่าเวลาตัดไหมเจ็บไหม หรือและขั้นตอนในการตัดไหมจะเป็นอย่างไร อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบไปดูกันเลย 


การตัดไหมคืออะไร ?

ตัดไหม คือ การตัดเชือกเย็บแผลจะเป็นด้ายไหมหรือเอ็นก็เรียกว่า " ตัดไหม "  ทั้งสิ้น โดยจะมีระยะเวลาในการตัดไหมแตกต่างกันออกไปตามจุดที่เย็บ เวลาในการตัดไหมนี้ไม่ได้แน่นอนอะไร มีหลักอยู่ว่าถ้าเอาออกเร็วจะเกิดแผลเป็นจากรอยเย็บน้อยและถ้าแผลติดดีแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเอาไหมไว้อีก หากทิ้งไหมไว้นานจะเป็นบ่อเกิดของหนองในรอยเย็บได้


ตัดไหมเมื่อไร

ต้องไปตัดไหมเมื่อไหร่?

โดยทั่วไป แพทย์จะพิจารณาตัดไหม 7-10 วัน หลังเย็บแผล ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งของแผล และลักษณะของบาดแผล

  • แผลบริเวณใบหน้าจะพิจารณาตัดไหม 4-7 วัน หลังการเย็บแผล

  • แผลบริเวณข้อที่มีการขยับตลอดเวลา เช่น ข้อศอก ข้อเข่า จะพิจารณาตัดไหม 10-14 วัน หลังการเย็บแผล

  • แผลบริเวณอื่นๆในร่างกาย จะพิจารณาตัดไหม 7-10 วัน หลังเย็บแผล

ควรตัดไหมตามระยะเวลาที่แพทย์นัด หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดหนองหรือสิ่งผิดปกติอย่างอื่นได้ ถ้าตัดไหมแล้วแผลแยกออกจากกันเล็กน้อย สามารถดึงให้เข้ามาติดกันได้โดยใช้ผ้าปลาสเตอร์ธรรมดาดึงเข้าหากัน 2-3 วัน


ไหมเย็บแผลมีแบบไหนบ้าง

การแบ่งชนิดหลักๆ จะแบ่งได้ดังนี้

ไหมละลาย

ไหมละลาย 

จะพิจารณาใช้กับแผลตำแหน่งที่เป็นเยื่อบุภายในร่างกาย (บริเวณริมฝีปากด้านใน) หรือแผลที่เป็นแผลสะอาด เช่น แผลฝีเย็บหลังผ่าตัดคลอด เป็นต้น เนื่องจากกลไกการละลายนั้นเกิดจาก Enzyme หรือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรา กระตุ้นให้ไหมเกิดการละลายอย่างช้าๆ ไหมจะมีแรงดึงลดลงตามเวลา ทั้งนี้กลไกดังกล่าวอาจทำให้เกิดการอักเสบได้เล็กน้อย จึงไม่นิยมใช้ในการเย็บแผลอุบัติเหตุภายนอก เนื่องจากไหมที่คาอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ร่วมกับแผลสกปรก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลเพิ่มเติมได้มากกว่าแผลสะอาด

ไหมไม่ละลาย

ไหมไม่ละลาย

จะพิจารณาใช้กับแผลทั่วไป เช่น แผลอุบัติเหตุภายนอก ไหมเย็บพวกนี้ไม่มีผลต่อการกระตุ้นการอักเสบบริเวณแผล (หรือมีต่ำ) ทำให้แผลไม่เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไหมชนิดนี้สามารถควบคุมแรงตึงบริเวณแผลได้ง่ายกว่า (แรงตึงแผลไม่ลดลงมากเท่าไหมละลาย ในเวลาที่เท่ากัน) จึงเป็นที่นิยมใช้ในแผลทั่วไปมากกว่า


 

ขั้นตอนการตัดไหม

ขั้นตอนในการตัดไหม

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกตึงแผลเล็กน้อยขณะมีการตัดไหม  ขั้นตอนมีดังนี้

  1. แกะผ้าก๊อซที่ปิดแผลอย่างระมัดระวัง

  2. ก่อนการตัดไหม ให้ทำแผลแห้งโดยการเช็ดด้วยสำลีชุปแอลกอฮอล์จนสะอาด

  3. แพทย์หรือพยาบาล ใช้เครื่องมือหนีบบริเวณใต้ปมของไหม แล้วยกขึ้นเล็กน้อย 

  4. จากนั้นใช้มีดปลายแหลมหรือกรรไกรตัดไหมส่วนที่ชิดผิวหนัง ใต้ปมที่ผูกไว้ แล้วค่อยๆ ดึงไหมออกเบาๆ 
    หากขอบแผลแยกให้หยุด และปิดด้วยวัสดุที่ช่วยดึงรั้งขอบแผล

  5. หลังตัดไหมทำความสะอาดด้วยสำลีชุปแอลกอฮอล์อีกครั้ง

  6. ปิดทับด้วยผ้าก๊อซบางๆ และระวังอย่างให้แผลสกปรก


ลืมตัดไหม

หากลืมตัดไหมมีผลเสียอย่างไร

หากไม่ตัดไหม ไหมที่ตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้

 

นอกไปจากนั้น ไหมถือเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย ไหมเย็บจะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรา ทำให้มีปฏิกิริยากับไหมเย็บที่ตกค้างอยู่ และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ปวด หรือมีอาการคันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อ


แผลแบบไหนบ้างที่จะต้องตัดไหม

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแจ้งหลังจากเย็บแผลเสร็จว่าแผลที่เย็บจะต้องตัดไหมหรือไม่ แผลที่เย็บด้วยไหมชนิดไม่ละลายจะต้องตัดไหม

 

แผลแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องตัดไหม

แผลที่ไม่ต้องตัดไหม จะเป็นแผลที่เย็บด้วยไหมละลาย ยกเว้นว่า แผลนั้นๆมีการอักเสบหรือติดเชื้อก่อน แพทย์อาจจำเป็นต้องตัดไหมบางส่วนออกเพื่อระบายการอักเสบและติดเชื้อดังกล่าว


ตัดไหม ราคา

ค่าใช้จ่ายในการตัดไหม

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมให้บริการตัดไหม ราคาเริ่มต้น 700 บาท 

หมายเหตุ

1. ราคานี้ยังไม่ร่วมค่ายา 

2. การตัดไหมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

 

 




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจติดต่อ

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล

  แก้ไขล่าสุด : 27/01/2023 

free website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้