วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดป้องกันโรคหลังสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด

 

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด คนหรือสัตว์ที่มีอาการของโรคจะเสียชีวิตทุกราย โรคนี้พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ซึ่งในประเทศไทยสุนัขยังคงเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญที่สุด ในปีหนึ่งๆ มีคนถูกสุนัขกัดมากกว่า 1 ล้านคน ส่วนหนึ่งของคนที่ถูกกัดจะมารับบริการที่สถานพยาบาล การตัดสินใจให้วัคซีนและหรืออิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ หากผู้สัมผัสโรคนี้ได้รับการดูแลรักษาไม่ถูกต้องอาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ (rabies) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัดหรือข่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนูเป็นต้น เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเรบีส์ (rabies)

 

ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาหาย แต่สามารถป้องกันได้ ผู้ป่วยมักคงสภาพอยู่ได้นานไม่เกิน 1 สัปดาห์ และเสียชีวิต เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ ในประเทศไทยยังมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าโดยสาเหตุหลักเกิดขึ้นจากสุนัข

 อาการโรคพิษสุนัขบ้าในคน

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า

ผู้ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า อาการแสดงของโรคมักเป็นการอักเสบของสมองและเยื่อสมอง ในระยะ 2-3 วันแรก ผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ คันหรือปวดบริเวณรอยที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว

 

ต่อมาจะหงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้น ไวต่อสิ่งเร้ารอบกาย ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อคอกระตุก เกร็งขณะพยายามกลืนอาหารหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการ "กลัวน้ำ" ต่อมาจะเริ่ม เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก

 

ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นอัมพาต โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรง หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด

" สำหรับในสัตว์ อาการจะคล้าย ๆ ในคน แต่การกำเนิดของโรคจะเร็วกว่าและเสียชีวิตเร็วกว่าในคน "

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

  1. หากได้รับเชื้อจากกการโดนสัตว์กัด ข่วน ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบชุด รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักร่วมด้วย

  2. ฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อต้องเดินทางไปที่มีความเสี่ยง หรือต้องทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ รวมถึงการทำงานกับเชื้อไวรัสเรบีส์ ต้นเหตุโรคพิษสุนัขบ้าในห้องปฏิบัติการ

  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เมื่อเดินทางไปในที่ที่มีการแพร่ระบาด สอนให้ลูกรู้ถึงอันตรายจากการสัมผัสหรือการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ และคอยระมัดระวังตนเอง

  4. เมื่อพบว่าลูกหลานเกิดแผลตามตัว ควรไต่ถามถึงที่มาว่าเกิดจากสัตว์หรือมีการสัมผัสกับน้ำลายสัตว์หรือไม่ เพื่อให้สามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที

  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์ตัวอื่นและแพร่มายังเจ้าของ

  6. คอยเฝ้าดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้คลาดสายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์อื่น โดยเฉพาะเลี้ยงสัตว์เล็กอย่างกระต่าย หรือตระกูลหนูทั้งหลายที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้

  7. แจ้งเทศกิจเมื่อพบเจอสัตว์เร่ร่อน

  8. ป้องกันไม่ให้ค้างคาว พาหะหนึ่งของโรคพิษสุนัขบ้ามาอาศัยอยู่ตามบริเวณบ้าน

การพิจารณาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากลักษณะการสัมผัสกับสัตว์

ในการจะพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดที่ถูกสัตว์สัมผัส กัด หรือข่วน จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและอิมมูนโกลบูลินหรือไม่นั้น ในแต่ละประเทศจะมีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะการควบคุมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีความเข้มงวดแตกต่างกันและมีความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นโรคไม่เท่ากัน สำหรับในประเทศไทยนั้นมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

หมายเหตุ :

* จะหยุดฉีดเมื่อสัตว์ (เฉพาะสุนัขและแมว) เป็นปกติตลอดระยะเวลากักขังเพื่อดูอาการ 10 วัน

** กรณีที่ถูกกัดเป็นแผลที่บริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ มือ และนิ้วมือ หรือเป็นแผลลึก แผลฉีกขาดมาก หรือถูกกัดมาหลายแผล ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงและมักมีระยะเวลาฟักตัวของโรคสั้น แพทย์จึงจำเป็นต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินโดยเร็วที่สุด (แต่ถ้าฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข็มแรกไปแล้ว 7 วัน ก็ไม่ต้องฉีดอิมมูนโกลบูลิน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว) และต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ เนื่องจากผู้ที่ถูกกัดและได้รับการรักษาแต่เสียชีวิตจะเป็นผู้ที่ถูกกัดที่ใบหน้า ศีรษะ คอ แทบทั้งสิ้น

*** พิจารณาความเสี่ยงมากน้อยตามลักษณะเป็นราย ๆ ไป

ข้อมูลหัวข้อ : การพิจารณาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากลักษณะการสัมผัสกับสัตว์ จาก medthai.com

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ฉีดป้องกันโรคหลังสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด) 

หมายเหตุ : ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการคลินิกแล้ว
                   ราคาไม่รวมค่าทำแผล,ล้างแผล และวัคซีนบาดทะยัก
                   * ราคานี้สำหรับกรณีฉีดวัคซีนครั้งแรกที่อินทัชเมดิแคร์



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

   อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 01/03/2023

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้