ไขข้อสงสัย ฝากครรภ์แต่ละครั้งต้องตรวจอะไรบ้าง

 
ไขข้อสงสัย ฝากครรภ์แต่ละครั้งต้องตรวจอะไรบ้าง
 

 

     หลังจากทำการฝากครรภ์แล้ว แพทย์จะนัดตรวจครรภ์ตลอดช่วงที่ตั้งครรภ์ไปจนถึงตอนก่อนคลอด โดยหากคุณฝากท้องแล้วก็สามารถอุ่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลรวมถึงคำแนะนำต่างๆ จากคุณหมอที่รับฝากครรภ์ ซึ่งในแต่ละครั้งต้องตรวจอะไรบ้างนั้นเรานั้นเรามาดูรายละเอียดกันเลย

 

นัดตรวจครั้งแรก

    เมื่อเริ่มตั้งท้องควรพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ครั้งแรก ซึ่งแพทย์จะทำตารางนัดให้คุณแม่เข้ารับการตรวจเป็นระยะตามช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ นับตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับการฝากครรภ์ โดยการตรวจครรภ์ครั้งแรกมีรายละเอียด ดังนี้   

 

ซักประวัติ

ครั้งแรกของการฝากครรภ์ เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ตั้งครรภ์ ได้แก่ วันแรกของการมีรอบเดือนครั้งล่าสุด ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว การใช้ยาหรือรับประทานอาหารเสริมของผู้ตั้งครรภ์ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อประเมินสุขภาพและให้คำแนะนำต่อไป

 

ตรวจร่างกาย

การฝากครรภ์ครั้งแรกแพทย์จะตรวจร่างกายผู้ฝากท้องอย่างละเอียด โดยเริ่มจากชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อประเมินระดับความยากง่ายในการคลอดธรรมชาติ ต่อมาแพทย์จะวัดสัญญาณชีพจร รวมทั้งตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ปากและฟัน เต้านมและหัวนม หรือตรวจคลำหน้าท้อง เพื่อดูปัญหาสุขภาพอื่น ๆ รวมทั้งตรวจช่องคลอดและปากมดลูก

 

ตรวจเลือด

เมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์ครั้งแรก แพทย์ผู้รับฝากครรภ์จะตรวจเลือดเพื่อนำไปวินิจฉัยหมู่โลหิตระบบอาร์เอช ฮีโมโกลบิน การติดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกัน และการติดเชื้ออื่น ๆ

  1. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rhesus, Rh) และคัดกรองโรค

  2. การติดเชื้ออื่น ๆ การตรวจเลือดยังช่วยตรวจหาการติดเชื้อหลายอย่างได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี

  3. ตรวจตัวอย่างปัสสาวะ แพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้ออื่น ๆ


นัดตรวจครั้งต่อไป

     เมื่อเริ่มกระบวนการฝากครรภ์ในครั้งแรกแล้ว แพทย์จะนัดตรวจครั้งต่อไป โดยแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงอายุครรภ์ 4-28 สัปดาห์, ช่วงอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ และช่วงอายุครรภ์ 36 ไปจนถึงครบกำหนดคลอด รวมถึงอาจมีการดูแลเพิ่มเติมด้วยการตรวจหลังคลอด เพื่อนำมาประเมินสุขภาพของแม่และลูกอีกครั้งด้วย

การตรวจทารกในครรภ์ แพทย์จะตรวจวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนี้

 

อัลตร้าซาวด์ทารก

ในช่วงของการตั้งท้องและเข้ารับการฝากครรภ์ การทำอัลตร้าซาวด์จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ภาพรวมของร่างกายทารกได้ รวมทั้งยังช่วยระบุเพศของทารกด้วยการใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงประมวลภาพทารกในครรภ์ออกมา

 

วัดการเจริญเติบโตของทารก

อีกเรื่องที่ต้องทำเมื่อเข้ารับการฝากครรภ์ก็คือวัดการเจริญเติบโตของทารก โดยแพทย์จะวัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ด้วยการคลำประเมินจากขนาดหน้าท้องที่ขยายขึ้นในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์

 

ฟังการเต้นของหัวใจทารก

หลังฝากครรภ์เมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์ในไตรมาสที่ 2 แพทย์จะให้ผู้ตั้งท้องฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ โดยใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ (Doppler) จับจังหวะการเต้นของหัวใจทารกและประมวลผลออกมาเป็นเสียง หรือใช้หูฟังตรวจ (Strethtoscope) ซึ่งแพทย์จะฟังเสียงหัวใจทารกเต้นเอง โดยทั่วไปแล้ว จะได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 10-12 สัปดาห์

 

ประเมินการเคลื่อนไหว

เมื่ออายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มักดิ้นหรือถีบท้อง ซึ่งผู้ตั้งครรภ์บางรายที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจพบว่าลูกดิ้นก่อนอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ทั้งนี้หากทารกในครรภ์เกิดอาการดังกล่าวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ


ตรวจท่าทางของทารกในครรภ์

เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด แพทย์จะวัดน้ำหนักและตรวจท่าของทารกว่าหันศีรษะไปทางช่องคลอดหรือไม่ หากศีรษะของเด็กไม่หันไปทางช่องคลอด แพทย์จะอธิบายความเสี่ยงและแนะนำการผ่าตัด ร่วมกับอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจระดับน้ำคร่ำด้วย


    จะเห็นได้ว่าการฝากครรภ์นั้นเป็นประโยชน์ทั้งกับแม่และทารกในครรภ์ เพราะทำให้ทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อยและความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายระหว่างการตั้งครรภ์ ช่วยให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลยังอาจรวมถึงการดูแลและให้คำปรึกษาหลังคลอดด้วย เช่น การรับวัคซีนในช่วงวัยต่างๆ หรือตรวจสุขภาพตามช่วงเวลาที่กำหนดเป็นต้น


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 

line ติดต่อ สอบถาม


  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้