ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง? รู้ไว้ก่อนไปฝากครรภ์ครั้งแรก

ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง

ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง” “ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง เป็นคำถามสำหรับคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่รู้ว่าตั้งครรภ์ต้องกำลังสงสัยแบบนี้อยู่แน่นอน เพราะการไปฝากครรภ์เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลใจว่าการฝากครรภ์ครั้งแรก หมอตรวจอะไรบ้าง ฝากครรภ์ครั้งแรก ค่าใช้จ่ายเท่าไร

คุณแม่ที่อ่านบทความนี้จนจบรับรองว่าหมดข้อสงสัยและลดความกังวลใจในการไปฝากครรภ์ครั้งแรกแน่นอน และพร้อมไปฝากครรภ์ที่คลินิกสูตินรีเวชใกล้บ้านได้ทันที

ฝากครรภ์แต่ละครั้งต้องตรวจอะไรบ้าง


ฝากครรภ์ครั้งแรก

ฝากครรภ์ครั้งแรก

การฝากครรภ์ครั้งแรก ควรฝากที่คลินิกฝากครรภ์ใกล้บ้านหรือสถานพยาบาลที่เดินทางไปได้สะดวก เพราะต้องไปตรวจครรภ์หลายรอบแนะนำให้เลือกคลินิกใกล้บ้านจะดีกว่า ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง รายละเอียดมีดังนี้  

  1. ซักประวัติคุณแม่

  2. ตรวจร่างกาย

  3. ตรวจเลือดคุณแม่

  4. ตรวจเลือดคุณพ่อ

  5. จ่ายยาบำรุงครรภ์


รับบริการที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

ซักประวัติคุณแม่

ฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะซักประวัติและข้อมูลเบื้องต้นของคุณแม่ ได้แก่ วันแรกของการมีรอบเดือนครั้งล่าสุด ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว การใช้ยาหรือรับประทานอาหารเสริมของผู้ตั้งครรภ์ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อประเมินสุขภาพและให้คำแนะนำต่อไป


ตรวจร่างกาย

แพทย์จะตรวจร่างกายของคุณแม่อย่างละเอียดในครั้งแรกที่ฝากครรภ์ โดยเริ่มจากชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อประเมินระดับความยากง่ายในการคลอดธรรมชาติ ต่อมาแพทย์จะวัดสัญญาณชีพจร รวมทั้งตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ปากและฟัน เต้านมและหัวนม หรือตรวจคลำหน้าท้อง เพื่อดูปัญหาสุขภาพอื่น ๆ รวมทั้งตรวจช่องคลอดและปากมดลูก


ตรวจเลือดคุณแม่

ตรวจเลือดคุณแม่

การตรวจเลือดเป็นอีกอย่างที่สำคัญในการฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อนำไปวินิจฉัยหมู่โลหิตระบบอาร์เอช การติดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกัน และการติดเชื้ออื่น ๆ

  1. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rhesus, Rh) และคัดกรองโรค

  2. การติดเชื้ออื่น ๆ การตรวจเลือดยังช่วยตรวจหาการติดเชื้อหลายอย่างได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี 

  3. ตรวจตัวอย่างปัสสาวะ แพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้ออื่น ๆ

ตรวจเลือดคุณพ่อ

ตรวจเลือดคุณพ่อ

นอกจากต้องตรวจเลือดคุณแม่แล้ว การตรวจเลือดคุณพ่อก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้รู้ว่าสุขภาพของคุณพ่อแข็งแรงดีหรือไม่ หรือมีโรคอะไรที่อาจติดต่อไปสู่คุณแม่และลูกน้อยได้ไหม

เช่น โรคซิฟิลิส โรคตับอักเสบบี หรือโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย 

โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น กรณีที่ผลเลือดมารดาผิดปกติ มีการติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

จ่ายยาบำรุงครรภ์

คุณแม่ทุกคนจำเป็นที่จะต้องได้รับยาบำรุงครรภ์ตามความเหมาะสมตลอดระยะเวลาการฝากครรภ์ และเป็นไปตามแผนการฝากครรภ์ของสูตินรีแพทย์ ได้แก่ กรดโฟลิก หรือโฟเลท หรือวิตามิน บี9 , ธาตุเหล็ก, แคลเซียม , วิตามินรวม ไม่ควรรับประทานยาหรือวิตามินนอกจากที่แพทย์กำหนด เพราะวิตามินเสริมต่างๆ อยู่ในอาหารที่คุณแม่รับประทานอยู่แล้ว



ฝากครรภ์ครั้งแรกที่อินทัช
ค่าใช้จ่ายเท่าไร??
คลิกดูราคาก่อนได้เลย

ฝากครรภ์ครั้งถัดไป

ฝากครรภ์ครั้งถัดไป

หลังฝากครรภ์ในครั้งแรกแล้วแพทย์จะนัดตรวจครั้งต่อไป โดยแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงอายุครรภ์ 4-28 สัปดาห์, ช่วงอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ และช่วงอายุครรภ์ 36 ไป จนถึงครบกำหนดคลอด แพทย์จะตรวจวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. อัลตร้าซาวด์ทารก

  2. วัดการเจริญเติบโตของทารก

  3. ฟังการเต้นของหัวใจทารก

  4. ประเมินการเคลื่อนไหว

  5. ตรวจท่าทางของทารกในครรภ์

อัลตร้าซาวด์ทารก

ในช่วงของการตั้งท้องและเข้ารับการฝากครรภ์ การทำอัลตร้าซาวด์จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ภาพรวมของร่างกายทารกได้ รวมทั้งยังช่วยระบุเพศของทารกด้วยการใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงประมวลภาพทารกในครรภ์ออกมา


วัดการเจริญเติบโตของทารก

อีกเรื่องที่ต้องทำเมื่อเข้ารับการฝากครรภ์ก็คือวัดการเจริญเติบโตของทารก โดยแพทย์จะวัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ด้วยการคลำประเมินจากขนาดหน้าท้องที่ขยายขึ้นในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์


ฟังการเต้นของหัวใจทารก

ฟังการเต้นของหัวใจทารก

เมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์ในไตรมาสที่ 2 แพทย์จะให้ฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ โดยใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ (Doppler) จับจังหวะการเต้นของหัวใจทารกและประมวลผลออกมาเป็นเสียง หรือใช้หูฟังตรวจ (Strethtoscope)

ซึ่งแพทย์จะฟังเสียงหัวใจทารกเต้นเอง โดยทั่วไปแล้วจะได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 10-12 สัปดาห์


ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

ประเมินการเคลื่อนไหว

เมื่ออายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มักดิ้นหรือถีบท้อง ซึ่งผู้ตั้งครรภ์บางรายที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจพบว่าลูกดิ้นก่อนอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากเกิดกรณีนี้ขึ้นกับคุณแม่


ตรวจท่าทางของทารกในครรภ์

เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด แพทย์จะวัดน้ำหนักและตรวจท่าของทารกว่าหันศีรษะไปทางช่องคลอดหรือไม่ หากศีรษะของเด็กไม่หันไปทางช่องคลอด แพทย์จะอธิบายความเสี่ยงและแนะนำการผ่าตัด ร่วมกับอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจระดับน้ำคร่ำด้วย


 อ่านเพิ่มเติม : ข้อดีของการฝากครรภ์คุณภาพคืออะไร ต้องฝากครรภ์กี่ครั้ง?

เจ็บครรภ์ เสี่ยงแท้ง

ครรภ์ที่เสี่ยงแท้ง

ภาวะการแท้งลูกมักเกิดขึ้นภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยคุณแม่จะปวดหน่วงที่บริเวณท้องน้อยคล้ายปวดท้องประจำเดือน มีเลือดออกจากช่องคลอด แปลว่าคุณแม่กำลังเสี่ยงแท้ง ต้องรีบไปพบแพทย์ 

แพทย์จะทำการหาสาเหตุ ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้แท้งได้ ทำการวางแผนการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ตามปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่พบ

ครรภ์เสี่ยงเบาหวาน ต้องกลืนน้ำตาล

ครรภ์เสี่ยงโรคเบาหวาน

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน แพทย์จะตรวจคัดกรองโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โดยวิธีกลืนน้ำตาล 50 กรัม หากผลผิดปกติจะทำการตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วย วิธีกลืนน้ำตาล 100 g 

และจะแนะนำการปฎิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ลดอาหารจำพวกแป้ง , งดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง , ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นเกินเกณฑ์สำหรับคนท้อง , ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นต้น

ตรวจดาวน์ซินโดรม

การตรวจดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรมสามารถเกิดได้ในทุกการตั้งครรภ์และทุกช่วงอายุ แพทย์ที่คลินิกจึงแนะนำให้คุณแม่ทุกคนตรวจดาวน์ซินโดรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีครรภ์ความเสี่ยงสูง คือ คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี เคยมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็น หรือตรวจอัลตราซาวด์แล้วพบลักษณะว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เป็นต้น 

การตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรมตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงและเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลต่อไป

ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

จะเห็นได้ว่าการฝากครรภ์นั้นมีขั้นตอนและรายละเอียดของการตรวจแตกต่างกันไป แต่ก็เพื่อประโยชน์ทั้งกับแม่และทารกในครรภ์ เพราะทำให้ทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อยและความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายระหว่างการตั้งครรภ์ได้ค่ะ

สำหรับการฝากครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจอีกแต่ไปแล้วใช่ไหมคะ เพราะอ่านจนจบมาถึงท้ายบทความนี้ ก็สามารถไขข้อสงสัยได้แล้วว่าฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง ทุกหัวข้อที่กล่าวมาจะช่วยคุณแม่คลายความกังวล ตื่นเต้น และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปฝากครรภ์ได้ดีขึ้น 


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
  แก้ไขล่าสุด : 23/05/2024

visitor counter for website
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้