TH
MM
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
TH
MM
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์
Last updated: 2022-03-25
|
688 จำนวนผู้เข้าชม
|
การฝากครรภ์ (Antenatal Care) หรือฝากท้อง
คือ การดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด โดยสตรีที่เริ่มตั้งท้องควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์ทันที แพทย์จะทำการตรวจครรภ์และเก็บประวัติด้านสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมตลอดอายุครรภ์ ซึ่งระหว่างที่อยู่ในการดูแลนั้นอาจจะมีการตรวจสุขภาพ, ตรวจมะเร็งปากมดลูก, ตรวจภายใน หรือไม่ก็ทำอัลตร้าซาวน์เพื่อให้ทราบถึงเพศหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นและอาจมีการตรวจหลังคลอดด้วยขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เลือกและสถานพยาบาล ทั้งนี้ระหว่างตั้งท้องคุณแม่ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามภาวะครรภ์และรับแนวทางการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตามในการฝากครรภ์โดยเฉพาะกับท้องแรกด้วยแล้วคุณแม่หลายท่านอาจจะมีความกังวลหรือข้อสงสัยต่างๆ มากมาย เราเลยรวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์ มาไว้ในบทความนี้เพื่อให้คุณพ่อและคุณเองใช้เป็นแนวทางในการดูแลลูกน้อยในระหว่างตั้งครรภ์
เลือกเนื้อหาที่คุณต้องการ
ฝากครรภ์คุณภาพคืออะไร
ทำไมต้องฝากครรภ์ต่อเนื่อง
สามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน
ทำไมอายุครรภ์มากขึ้น แพทย์ต้องนัดถี่มากขึ้น
ความเสี่ยงของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ กับทารกในครรภ์มีอะไรบ้าง
ถ้าตรวจพบว่าคู่ของเรามีความเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นธาลัสซีเมีย จะทำอย่างไร?
ทำไมต้องเจาะเลือดหลายครั้งในการฝากครรภ์
ทำไมต้องกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจเบาหวานในการฝากครรภ์
ทำไมการฝากครรภ์ต้องให้สามีเจาะเลือดด้วย
ทำไมฝากครรภ์แล้วต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
1. ฝากครรภ์คุณภาพคืออะไร
การฝากครรภ์คุณภาพ คือ การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์และการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตลอดระยะเวลาของการตั้งท้อง เพื่อให้คุณแม่และลูกในท้องได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุดระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดลูกด้วย
2. ทำไมต้องฝากครรภ์ต่อเนื่อง
การที่ควรต้องฝากครรภ์ต่อเนื่องนั้นก็เพื่อลดอัตราเสี่ยงของความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งช่วยให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกและสุขภาพร่างกายมารดาได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสมด้วย
3. สามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน
หนึ่งในคำถามที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่สงสัยมากที่สุดเมื่อมีการตั้งครรภ์และฝากท้องก็คือจะสามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศของลูกน้อยได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน คำตอบของเรื่องนี้ก็คือสามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศของลูกได้ระหว่างอายุครรภ์ช่วง 18-24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตอนอัลตร้าซาวด์จะรู้เพศได้ ขึ้นอยู่กับท่าขดตัวของลูกในครรภ์ด้วย
4. ทำไมอายุครรภ์มากขึ้น แพทย์ต้องนัดถี่มากขึ้น
ช่วงใกล้คลอดลูกคุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้นเป็นทุกสัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด อาจมีการวางแผนการคลอดลูกในคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดเองได้ มีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการติดตามการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการอัลตราซาวด์ดูปริมาณน้ำคร่ำ ระหว่างนี้คุณแม่ควรนับครั้งที่ลูกดิ้นทุกวัน ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการเตรียมแผนการคลอดร่วมกันของทีมคุณหมอและคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
5. ความเสี่ยงของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ กับทารกในครรภ์มีอะไรบ้าง
อีกเรื่องที่เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยก็คือโรคและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งท้องทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งโรคที่อาจพบได้ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นก็คือ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และอาการครรภ์เป็นพิษ โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อฝากครรภ์คุณแม่ทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานระหว่างที่ตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่หลังคลอดลูกภาวะผิดปกติที่พบจะหายไป ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจพบได้ก็คือธาลัสซีเมียซึ่งเป็นความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ถ่ายทอดกันได้ทางพันธุกรรม
6. ถ้าตรวจพบว่าคู่ของเรามีความเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นธาลัสซีเมีย จะทำอย่างไร?
อย่างที่บอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าโรคธาลัสซีเมียสามารถเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม แต่ไม่ต้องกังวลใจมากจนวิตกเนื่องจากแพทย์จะยิ่งให้ความสำคัญในการตรวจอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อหาความรุนแรงที่อาจส่งผลไปยังทารกในครรภ์ และให้แนวทางในการดูแลรักษาที่เหมาะสมมากที่สุดต่อไป ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรมีการวางแผนการตั้งครรภ์และตรวจสุขภาพล่วงหน้าเพื่อหาความผิดปกติต่างๆ
7. ทำไมต้องเจาะเลือดหลายครั้งในการฝากครรภ์
ใครที่เคยผ่านการตั้งครรภ์หรือฝากท้องมาบ้างรวมทั้งคุณแม่มือใหม่ด้วยอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องมีการเจาะเลือดหลายครั้ง ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ต้องทำการเจาะเลือดบ่อยๆ นั้นประกอบไปด้วย
เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด และตรวจหาภาวะซีด
เพื่อตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย โดยหากพบว่าคุณแม่มีความผิดปกติแฝง คุณพ่อจะต้องตรวจเพิ่มด้วย
เพื่อตรวจโรคที่มากับเพศสัมพันธ์ คือ HIV และซิฟิลิส (Syphilis) รวมทั้งโรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B ) หากคุณแม่มีการติดเชื้อ ต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของลูกในครรภ์
ตรวจหากรุ๊ปเลือด
การตรวจเลือดเป็นการคัดกรองหาความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งท้อง มีประโยชน์ในด้านการวินิจฉัย การให้การรักษา รวมถึงการป้องกันภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้
8. ทำไมต้องกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจเบาหวานในการฝากครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยจะต้องกลืนน้ำตาล เพื่อดูว่าร่างกายของเรานั้นจัดการกับน้ำตาลได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
ตรวจแบบคัดกรอง โดยไม่ต้องงดน้ำ-งดอาหาร กินน้ำตาล 50 กรัม รอ 1 ชั่วโมง เจาะเลือด 1 ครั้ง
ตรวจแบบวินิจฉัย ต้องงดน้ำ-งดอาหาร เจาะเลือดก่อนกินน้ำตาล มี 2 แบบ
2.1.กินน้ำตาล 100 กรัม แล้วเจาะเลือดในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 หลังกินน้ำตาล
2.2.กินน้ำตาล 75 กรัม แล้วเจาะเลือดในชั่วโมงที่ 1, 2 หลังกินน้ำตาล
9. ทำไมการฝากครรภ์ต้องให้สามีเจาะเลือดด้วย
การตรวจสุขภาพหรือตรวจเลือดของคุณพ่อเองก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เพราะจะได้ทราบว่าคุณพ่อนั้นมีโรคที่เสี่ยงจะติดไปยังคุณแม่หรือไม่ อาทิ ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบี, โรคเอดส์ หรือ โรคทางพันธุกรรมซึ่งพ่อและแม่มีอยู่ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งการเจาะตรวจเลือดก็ทำไปเพื่อที่จะได้ดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องตั้งแต่ตั้งท้องไปจนถึงหลังคลอดและในบางกรณีอาจต้องมีการตรวจหลังคลอดเพิ่มเติมด้วย
10. ทำไมฝากครรภ์แล้วต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
เมื่อมีการฝากครรภ์แพทย์มักให้คุณแม่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีความรุนแรงในคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่าคนธรรมดา และสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่รุนแรงได้มากกว่า เช่น ปอดบวม, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, หัวใจวาย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เพื่อลดอันตรายรุนแรงต่อแม่และเด็กจากโรคไข้หวัดใหญ่หลังคลอดลูก และควรได้รับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
การฝากครรภ์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่รู้ว่าตัวเองเริ่มตั้งครรภ์เพราะแพทย์จะคอยให้คำแนะนำปรึกษาตลอดจนตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนหลังคลอด สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการฝากครรภ์สามารถสอบถามเข้ามาได้จากช่องทางการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ หรือเลือกใช้บริการของอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมได้ทุกสาขาใกล้บ้านโดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางที่จะคอยดูแลคุณและลูกน้อยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุดจนรวมถึงการดูแลหลังคลอดอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line
081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
ฝากครรภ์
ฝากท้อง
ตรวจหลังคลอด
หลังคลอด
ตั้งครรภ์
ตั้งท้อง
คลอดลูก
อัลตร้าซาวน์
ใกล้ฉัน
ကိုယ်ဝန်ဆောင်သည်စောင့်ရှောက်မှု့
ဗိုက်အပ်ခြင်း
မွေးဖွားပြီးနောက်စစ်ဆေးခြင်း
မွေးဖွားပြီးနောက်
သန္ဓေတည်ခြင်း
သင်နှင့်နီးသော
ကိုယ်ဝန်ရှိခြင်း
အာထရာစောင်း
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2022-03-22
10 อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
2022-05-06
บริการตรวจโรคติดต่อ STD เช็คเพื่อชัวร์
2022-03-25
ลูกค้าของเรา
2022-05-03