10 อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

Last updated: 10 พ.ย. 2565  |  10077 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อันตรายจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

1. ภาวะขาดออกซิเจน

สถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อม เพื่อจะทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ การตรวจสุขภาพอับอากาศทุกปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานนี้

 

 

2. อุบัติเหตุไฟไหม้ เช่น แก๊สระเบิด (Combustible Gas)

สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็น ท่อส่งแก๊ส หรือถังเก็บก๊าซ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ หรือ ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

 

3. การสูดฝุ่นละออง

ฝุ่นละอองเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องสวมหน้ากากป้องการสูดฝุ่นละออง และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากในพื้นที่เสี่ยง

 

4. ดมแก๊สพิษ

ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ รวมถึงบางแห่งเกิดก๊าซจากการสะสมสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดก๊าซพิษได้ ดังนั้นต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง และ ตรวจสอบหน้ากากว่าต้องแนบสนิทกับใบหน้าทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ

 

 

5. อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ

สถานที่อับอากาศบางแห่งอยู่สูงหรือลึกกว่าพื้นดิน ทำให้อุณหภูมิผิดปกติ ดังนั้นสุขภาพที่แข็งแรง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการปรับสมดุลของร่างกาย และอย่าลืมตรวจสุขภาพอับกาศเป็นประจำทุกปี

 

6. ประสิทธิภาพการได้ยินที่ลดลง

แน่นอนเมื่อเราใส่ชุดป้องกันเพื่อความปลอดภัย ความชัดเจนของการได้ยินจะลดลง อีกทั้งในสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่จะมีเสียงก้อง ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลงอย่างมาก ดังนั้นการตรวจการได้ยินในโปรแกรมตรวจสุขภาพอับอากาศเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง

 

7. การมองเห็นในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ บ่อยครั้งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทำให้มีความเสี่ยงในการทำงานที่ผิดพลาดหรือ กรณีฉุกเฉินการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการหนีออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที

 

8. ภาวะเครียดหรือกดดันจากสภาพงาน ส่งผลการทำงานที่ผิดพลาด

สถาวะแวดล้อมในพื้นที่อับอากาศให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน  และลดทอนความเสี่ยงที่จะให้เกิดความเครียด เช่น วิธีการพูดหรือสื่อสารระหว่างกัน

 

9. การอพยพหรือหนีภัยออกจากพื้นที่ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

อุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การซ้อมการหนีภัยและการอพยพเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรละเลย ควรจะตั้งใจและตระหนักถึงความสำคัญ เพราะเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเวลา

 

10. ผิวหนังอักเสบหรือไหม้จากสารพิษ

เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศมีโอกาสสัมผัสสารพิษ หรือ แมลงหรือสัตว์พิษบางชนิด ดังนั้นการสวมชุดอับอากาศที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น

 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก 
ไลน์ อินทัชเมดิแคร์
  @qns9056c
  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้