TH
MM
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
TH
MM
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์
Last updated: 2022-03-25
|
844 จำนวนผู้เข้าชม
|
การฝากครรภ์ (Antenatal Care) หรือฝากท้อง
คือ การดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด โดยสตรีที่เริ่มตั้งท้องควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์ทันที แพทย์จะทำการตรวจครรภ์และเก็บประวัติด้านสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมตลอดอายุครรภ์ ซึ่งระหว่างที่อยู่ในการดูแลนั้นอาจจะมีการตรวจสุขภาพ, ตรวจมะเร็งปากมดลูก, ตรวจภายใน หรือไม่ก็ทำอัลตร้าซาวน์เพื่อให้ทราบถึงเพศหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นและอาจมีการตรวจหลังคลอดด้วยขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เลือกและสถานพยาบาล ทั้งนี้ระหว่างตั้งท้องคุณแม่ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามภาวะครรภ์และรับแนวทางการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตามในการฝากครรภ์โดยเฉพาะกับท้องแรกด้วยแล้วคุณแม่หลายท่านอาจจะมีความกังวลหรือข้อสงสัยต่างๆ มากมาย เราเลยรวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝากครรภ์ มาไว้ในบทความนี้เพื่อให้คุณพ่อและคุณเองใช้เป็นแนวทางในการดูแลลูกน้อยในระหว่างตั้งครรภ์
เลือกเนื้อหาที่คุณต้องการ
ฝากครรภ์คุณภาพคืออะไร
ทำไมต้องฝากครรภ์ต่อเนื่อง
สามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน
ทำไมอายุครรภ์มากขึ้น แพทย์ต้องนัดถี่มากขึ้น
ความเสี่ยงของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ กับทารกในครรภ์มีอะไรบ้าง
ถ้าตรวจพบว่าคู่ของเรามีความเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นธาลัสซีเมีย จะทำอย่างไร?
ทำไมต้องเจาะเลือดหลายครั้งในการฝากครรภ์
ทำไมต้องกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจเบาหวานในการฝากครรภ์
ทำไมการฝากครรภ์ต้องให้สามีเจาะเลือดด้วย
ทำไมฝากครรภ์แล้วต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
1. ฝากครรภ์คุณภาพคืออะไร
การฝากครรภ์คุณภาพ คือ การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์และการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตลอดระยะเวลาของการตั้งท้อง เพื่อให้คุณแม่และลูกในท้องได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุดระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดลูกด้วย
2. ทำไมต้องฝากครรภ์ต่อเนื่อง
การที่ควรต้องฝากครรภ์ต่อเนื่องนั้นก็เพื่อลดอัตราเสี่ยงของความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งช่วยให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกและสุขภาพร่างกายมารดาได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสมด้วย
3. สามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน
หนึ่งในคำถามที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่สงสัยมากที่สุดเมื่อมีการตั้งครรภ์และฝากท้องก็คือจะสามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศของลูกน้อยได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน คำตอบของเรื่องนี้ก็คือสามารถอัลตร้าซาวด์ดูเพศของลูกได้ระหว่างอายุครรภ์ช่วง 18-24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตอนอัลตร้าซาวด์จะรู้เพศได้ ขึ้นอยู่กับท่าขดตัวของลูกในครรภ์ด้วย
4. ทำไมอายุครรภ์มากขึ้น แพทย์ต้องนัดถี่มากขึ้น
ช่วงใกล้คลอดลูกคุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้นเป็นทุกสัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด อาจมีการวางแผนการคลอดลูกในคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดเองได้ มีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการติดตามการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการอัลตราซาวด์ดูปริมาณน้ำคร่ำ ระหว่างนี้คุณแม่ควรนับครั้งที่ลูกดิ้นทุกวัน ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการเตรียมแผนการคลอดร่วมกันของทีมคุณหมอและคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
5. ความเสี่ยงของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ กับทารกในครรภ์มีอะไรบ้าง
อีกเรื่องที่เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยก็คือโรคและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งท้องทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งโรคที่อาจพบได้ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นก็คือ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และอาการครรภ์เป็นพิษ โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อฝากครรภ์คุณแม่ทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานระหว่างที่ตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่หลังคลอดลูกภาวะผิดปกติที่พบจะหายไป ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจพบได้ก็คือธาลัสซีเมียซึ่งเป็นความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ถ่ายทอดกันได้ทางพันธุกรรม
6. ถ้าตรวจพบว่าคู่ของเรามีความเสี่ยงที่จะมีลูกป่วยเป็นธาลัสซีเมีย จะทำอย่างไร?
อย่างที่บอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าโรคธาลัสซีเมียสามารถเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม แต่ไม่ต้องกังวลใจมากจนวิตกเนื่องจากแพทย์จะยิ่งให้ความสำคัญในการตรวจอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อหาความรุนแรงที่อาจส่งผลไปยังทารกในครรภ์ และให้แนวทางในการดูแลรักษาที่เหมาะสมมากที่สุดต่อไป ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรมีการวางแผนการตั้งครรภ์และตรวจสุขภาพล่วงหน้าเพื่อหาความผิดปกติต่างๆ
7. ทำไมต้องเจาะเลือดหลายครั้งในการฝากครรภ์
ใครที่เคยผ่านการตั้งครรภ์หรือฝากท้องมาบ้างรวมทั้งคุณแม่มือใหม่ด้วยอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องมีการเจาะเลือดหลายครั้ง ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ต้องทำการเจาะเลือดบ่อยๆ นั้นประกอบไปด้วย
เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด และตรวจหาภาวะซีด
เพื่อตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย โดยหากพบว่าคุณแม่มีความผิดปกติแฝง คุณพ่อจะต้องตรวจเพิ่มด้วย
เพื่อตรวจโรคที่มากับเพศสัมพันธ์ คือ HIV และซิฟิลิส (Syphilis) รวมทั้งโรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B ) หากคุณแม่มีการติดเชื้อ ต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของลูกในครรภ์
ตรวจหากรุ๊ปเลือด
การตรวจเลือดเป็นการคัดกรองหาความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งท้อง มีประโยชน์ในด้านการวินิจฉัย การให้การรักษา รวมถึงการป้องกันภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้
8. ทำไมต้องกลืนน้ำตาลเพื่อตรวจเบาหวานในการฝากครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยจะต้องกลืนน้ำตาล เพื่อดูว่าร่างกายของเรานั้นจัดการกับน้ำตาลได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
ตรวจแบบคัดกรอง โดยไม่ต้องงดน้ำ-งดอาหาร กินน้ำตาล 50 กรัม รอ 1 ชั่วโมง เจาะเลือด 1 ครั้ง
ตรวจแบบวินิจฉัย ต้องงดน้ำ-งดอาหาร เจาะเลือดก่อนกินน้ำตาล มี 2 แบบ
2.1.กินน้ำตาล 100 กรัม แล้วเจาะเลือดในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 หลังกินน้ำตาล
2.2.กินน้ำตาล 75 กรัม แล้วเจาะเลือดในชั่วโมงที่ 1, 2 หลังกินน้ำตาล
9. ทำไมการฝากครรภ์ต้องให้สามีเจาะเลือดด้วย
การตรวจสุขภาพหรือตรวจเลือดของคุณพ่อเองก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เพราะจะได้ทราบว่าคุณพ่อนั้นมีโรคที่เสี่ยงจะติดไปยังคุณแม่หรือไม่ อาทิ ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบี, โรคเอดส์ หรือ โรคทางพันธุกรรมซึ่งพ่อและแม่มีอยู่ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งการเจาะตรวจเลือดก็ทำไปเพื่อที่จะได้ดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องตั้งแต่ตั้งท้องไปจนถึงหลังคลอดและในบางกรณีอาจต้องมีการตรวจหลังคลอดเพิ่มเติมด้วย
10. ทำไมฝากครรภ์แล้วต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
เมื่อมีการฝากครรภ์แพทย์มักให้คุณแม่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีความรุนแรงในคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่าคนธรรมดา และสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่รุนแรงได้มากกว่า เช่น ปอดบวม, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, หัวใจวาย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เพื่อลดอันตรายรุนแรงต่อแม่และเด็กจากโรคไข้หวัดใหญ่หลังคลอดลูก และควรได้รับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
การฝากครรภ์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่รู้ว่าตัวเองเริ่มตั้งครรภ์เพราะแพทย์จะคอยให้คำแนะนำปรึกษาตลอดจนตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนหลังคลอด สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการฝากครรภ์สามารถสอบถามเข้ามาได้จากช่องทางการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ หรือเลือกใช้บริการของอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมได้ทุกสาขาใกล้บ้านโดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางที่จะคอยดูแลคุณและลูกน้อยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุดจนรวมถึงการดูแลหลังคลอดอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line
081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
ฝากครรภ์
ฝากท้อง
ตรวจหลังคลอด
หลังคลอด
ตั้งครรภ์
ตั้งท้อง
คลอดลูก
อัลตร้าซาวน์
ใกล้ฉัน
ကိုယ်ဝန်ဆောင်သည်စောင့်ရှောက်မှု့
ဗိုက်အပ်ခြင်း
မွေးဖွားပြီးနောက်စစ်ဆေးခြင်း
မွေးဖွားပြီးနောက်
သန္ဓေတည်ခြင်း
သင်နှင့်နီးသော
ကိုယ်ဝန်ရှိခြင်း
အာထရာစောင်း
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
10 อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
2022-05-06
บริการตรวจโรคติดต่อ STD เช็คเพื่อชัวร์
2022-03-25
ลูกค้าของเรา
2022-05-03
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2022-03-22