ฝังยาคุม (ฝั่งยาคุม) และถอดยาคุมกำเนิด (ถอดเข็มยาคุม) ในราคาสบายกระเป๋า

ฝังยาคุม (ฝั่งยาคุม) และถอดยาคุม  

ฝังยาคุมและถอดยาคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้เวลาไม่นาน ช่วยให้คุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว และไม่เจ็บแผล ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์นาน 3-5 ปี ฝังยาคุมที่คลินิกเอกชน ราคาฝังยาคุม 3 ปี 5,650 บาท และ ราคาฝังยาคุม 5 ปี 5,990 บาท ยี่ห้อที่นิยมฝังได้แก่ Implanon (อิมพลานอน) แบบ 3 ปี และ Jadelle (จาเดลล์) แบบ 5 ปี

ถอดเข็มยาคุมได้ง่าย เมื่อถอดยาคุมแล้วจะไม่ส่งผลเรื่องการมีลูกยาก หากถึงเวลาที่ต้องการมีบุตรก็สบายใจได้ เพราะเลิกใช้งานยาคุมแบบฝังแล้วร่างกายจะพร้อมปรับฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติได้ภายใน 1 เดือน จึงมีโอกาสตั้งครรภ์สูง

เพื่อความเข้าใจในฝังยาคุมและถอดเข็มยาคุมกำเนิดสามารถศึกษาข้อมูลได้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้


 

ฝังยาคุมกำเนิด (Contraceptive implant)

การฝังยาคุมกำเนิด หมายถึง การใส่ยาคุมกำเนิดไว้ใต้ผิวหนังของแขน ห่างจากข้อพับแขนขึ้นมาประมาณ 8-10 ซม. เลือกจากแขนด้านที่ใช้งานน้อยหรือข้างที่ไม่ถนัด ภายในแท่งยาคุมแบบฝังมีการบรรจุฮอร์โมนโปรเจสตาเจน (แบบ 3 ปี) หรือ ฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล(แบบ 5 ปี) เพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นเวลา 3 หรือ 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ถือเป็นการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูง

 

ฝังยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์อย่างไร

  1. การฝังยาคุมกำเนิดจะทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวขึ้นหรือข้นขึ้นมากกว่าปกติ ดังนั้นอสุจิฝ่ายชายมีโอกาสผ่านเข้าไปได้ยากมากขึ้น

  2. หากอสุจิหลุดเข้าไป มีผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ทำให้เกิดภาวะไม่เหมาะสมในการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว

  3. ป้องกันหรือยับยั้งการตกไข่


 

ประเภทของยาฝังคุมกำเนิด

ประเภทของยาฝังคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของตัวยาที่ใช้ในการคุมกำเนิด ประเภทแรกตัวยาสำคัญที่ใช้จะเป็นฮอร์โมนชนิดเดี่ยว คือ ฮอร์โมนโปรเจสตาเจน (Progestagen) ตัวยาในกลุ่มนี้ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาฝังคุมกำเนิดคือ เอโทโนเจสเตรล (Etonogestrel) ซึ่งช่วยคุมกำเนิดได้ 3 ปี และประเภทที่ 2 คือ ฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ซึ่งช่วยคุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี
  เปรียบเทียบ 5 วิธีคุมกำเนิด : 
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

ยาฝังคุมกำเนิดที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกอีกรูปแบบคือ แบ่งตามลักษณะจำนวนของแท่งหลอดยาที่ใช้ในการคุมกำเนิด ชนิดแรกคือแบบ 1 แท่ง สามารถคุมกำเนิด 3 ปี และชนิดที่ 2 คือแบบ 2 แท่ง สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี  ชนิดของยาฝังคุมกำเนิด มีดังนี้

ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 3 ปี (1แท่ง) Implanon

1. ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 3 ปี (1 แท่ง)

ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 3 ปี ยี่ห้อที่นิยมคือ Implanon (อิมพลานอน) ประกอบด้วยแท่งยา 1 แท่ง ขนาดประมาณ 2 x 40 มิลลิเมตร มียาอีโทโนเจสตริลขนาด 68 มิลลิกรัม เมื่อฝังตัวยาลงบนท้องแขนแล้วแท่งยาฝังจะปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 60 - 70 ไมโครกรัมในสัปดาห์ที่ 5 - 6 

และในช่วงท้ายของปีแรกจะลดลงเหลือ 35 - 45 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงท้ายปีที่ 2 จะลดลงเหลือประมาณ 35 - 45 ไมโครกรัมต่อวัน และในช่วงท้ายของปีที่3 จะลดลงเหลือ 25 - 30ไมโครกรัมต่อวัน สามารถช่วยคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี

ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 5 ปี (2แท่ง) Jadelle

2. ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 5 ปี (2 แท่ง)

ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 5 ปี เช่น ยี่ห้อ Jadelle (จาเดลล์) มักได้รับความนิยม ประกอบด้วยแท่งยาที่บางและยืดหยุ่นได้จํานวน 2 แท่ง ขนาดประมาณ 2.5 x 43 มิลลิเมตร แต่ละแท่งจะมีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 75 มก.  แท่งยาจะถูกสอดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณด้านในของแขนส่วนบน และจะค่อยๆ ปลดปล่อยฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลออกมาในปริมาณเล็กน้อย วันละ 40-100 ไมโครกรัม

ช่วงแรกจะปล่อยฮอร์โมนออกมาสูงแล้วค่อยๆลดลงจนคงที่ ออกฤทธิ์ได้นานและมีประสิทธิผลนานถึง 5 ปี (ฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลเป็นหนึ่งในตัวยาสําคัญของยาคุมกําเนิดชนิดเม็ดหลายยี่ห้อที่อยู่ในท้องตลาด) โดยจะออกฤทธิ์ทันทีที่ฝังยาคุมกำเนิดเข้าใต้ผิวหนัง

สนใจฝังยาคุมและถอดยาคุม line สอบถาม

วิธีการคุมกำเนิดด้วยยาฝังคุมกำเนิดนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงมาก ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคุมกำเนิด มีอัตราการล้มเหลวน้อย ออกฤทธิ์เร็วและยาวนาน ซึ่งประเภทของยาฝังคุมกำเนิด มีแค่ 2 ชนิดทำให้เข้าใจง่าย เมื่อถอดยาคุมออกแล้วใช้เวลาไม่นานร่างกายก็จะกลับมาพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้อีก

ประสิทธิภาพฝังยาคุมกำเนิดกับคุมกำเนิดแบบอื่นๆ

ประสิทธิภาพฝังยาคุมกำเนิด

ต่างจากวิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการมีบุตรหลังใช้ยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ยาฝังคุมกำเนิดยังมีข้อกำหนดในการใช้งานน้อย หากต้องการฝังหรือถอดยาคุมก็สามารถปรึกษาแพทย์และรับการบริการได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

ข้อควรคำนึง : ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใดที่สามารถคุมกำเนิดได้ 100% ทุกวิธีการมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ แต่การคุมกำเนิดทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ ขึ้นกับวิธีการคุมกำเนิด และการปฏิบัติตนหลังคุมกำเนิด


ช่วงเวลาฝังยาคุมกำเนิด

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝังยาคุมกำเนิด

สูติแพทย์แนะนำว่าควรฝังยาคุมกำเนิดภายใน 1-5 วันแรกของการมีประจำเดือนเพื่อความมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

หรือภายหลังการแท้งลูกไม่เกิน 1 อาทิตย์ หรือหลังการคลอดไม่เกิน 4-6 สัปดาห์ หากมีความต้องการฝังยาคุมนอกจากช่วงเวลาข้างต้นต้องตรวจการครรภ์ทุกครั้ง (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย)


หลักสําคัญในการฝังยาคุมให้ได้ผลคือควรทำการฝังยาใต้ชั้นผิวหนังของแขนข้างที่ไม่ถนัดตามขั้นตอนอย่างถูกต้องและระมัดระวัง ที่สำคัญควรสามารถคลำหายาฝังคุมแบบฝังที่อยู่ใต้ผิวหนังหลังจากที่ฝังแล้วได้ หากฝังลึกเกินไป (ฝังอยู่ลึกกว่าใต้ชั้นผิวหนัง) อาจไม่สามารถคลำพบได้ ทำให้การระบุตำแหน่งตอนถอดเข็มยาคุมออกนั้นทำได้ยาก

บทความเกี่ยวกับการฝังยาคุมที่แนะนำสำหรับคุณ

เพื่อให้คุณผู้หญิงได้ทราบถึงข้อดีการฝังยาคุมและข้อเสียการฝังยาคุม สำหรับประกอบการตัดสินใจในการเลือกวิธีคุมกำเนิด

ขั้นตอน ฝังยาคุมกำเนิด

ขั้นตอนฝังยาคุมกำเนิด มีดังต่อไปนี้

  1. ให้นอนหงายบนเตียงตรวจโรคโดยให้งอข้อศอกแขนข้างที่ไม่ถนัดและหมุนออกเพื่อให้ข้อมืออยู่เสมอแนวเดียวกับหูหรือติดกับศีรษะ

  2. กำหนดตำแหน่งที่จะฝังบริเวณท้องแขนประมาณ 8-10 เซนติเมตรห่างจากข้อศอก (เหนือ medial epicondyle ของกระดูกของต้นแขน)

  3. ทำเครื่องหมาย 2 แห่ง โดยจุดแรกให้ตรงกับตำแหน่งที่จะฝังยาคุมกำเนิด จุดที่สองซึ่งห่างไปจากจุดแรกไปทางต้นแขนไม่กี่เซนติเมตร จะเป็นตัวกำหนดทิศทาง

  4. ทำความสะอาดบริเวณที่จะฝังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

  5. ทำให้บริเวณที่จะฝังยาคุมไร้ความรู้สึก เช่นการฉีดยาชา

  6. ใช้มือข้างหนึ่งดึงผิวหนังบริเวณที่จะฝังยาด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้ และใช้ปลายเข็มแทงผิวหนังทำมุมน้อยกว่า 30องศาเล็กน้อย

  7. ปรับตำแหน่งอุปกรณ์ฝังยาลงมาในแนวราบ ในขณะที่ยกผิวหนังด้วยปลายเข็ม ให้เลื่อนดันเข็มไปจนเต็มด้าม อาจรู้สึกถึงแรงต้านทานเล็กน้อยแต่ห้ามใช้กำลังดันมากเกินไป

  8. ค่อยๆเลื่อนอุปกรณ์ถอยกลับ พร้อมกับการกดอุปกรณ์

  9. ตรวจสอบยาฝังคุมกำเนิดโดยการคลำที่ท้องแขนทันที

  10. ใช้ผ้าปิดแผลขนาดเล็กปิดตรงตำแหน่งที่ฝังยาคุม และให้คนไข้คลำหายาฝังคุมกำเนิด

  11. ใช้ผ้าก๊อซที่ปราศจากเชื้อกับผ้าพันแผลชนิดกดรัด ปิดแผลและพันเพื่อให้เกิดรอยฟกช้ำน้อยที่สุด

  12. กรอกข้อมูลลงในบัตรประจำตัวผู้ใช้ให้ครบถ้วน และส่งมอบให้คนไข้

ฝังยาคุมและถอดยาคุม line สอบถาม

ข้อควรระวังของขั้นตอนการฝังยาคุมกำเนิด

  1. ตำแหน่งการฝังยาอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ให้หลีกเลี่ยงร่องระหว่างกล้ามเนื้อไบเซ็บส์และไตรเซ็ปส์ และเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ในแขนงเส้นประสาทและหลอดเลือดที่อยู่ลึกลงในเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง

  2. ควรทำการฝั่งยาคุมในสภาวะที่ปราศจากเชื้อ

  3. หากไม่สอดเข็มได้เต็มด้าม ยาฝังคุมกำเนิดจะไม่ถูกฝังอย่างเหมาะสม

  4. สามารถเห็นการเคลื่อนที่ของเข็มที่ถูกสอดเพียงใต้ชั้นผิวหนังได้ชัดเจนที่สุด จากการมองด้านข้างไม่ใช่ด้านบน

  5. ต้องสามารถคลำยาฝังคุมกำเนิดพบทันทีหลังจากฝัง

  6. อุปกรณ์การฝั่งยาคุมมีไว้สำหรับใช้เพียงครั้งเดียว และต้องทิ้งให้ถูกหลักการควบคุมการกำจัดขยะชีวภาพ

  7. หากฝังยาคุมลึกอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทและหลอดเลือดได้ อาจทำให้เกิดอาการชา

  8. การสอดเข็มยาคุมเข้าไปในกล้ามเนื้อหรือพังผืดจะทำให้เกิดการย้ายที่ของยาฝังคุมกำเนิด

  9. การสอดยาเข้าไปในหลอดเลือด (ซึ่งพบได้น้อย)

ข้อควรระวังของขั้นตอนการฝังยาคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิดจะเริ่มออกฤทธิ์เมื่อไร (จะมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร)

  • ยาฝังคุมกำเนิดจะเริ่มออกฤทธิ์ทันที แต่ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น

  • หากฝังยาคุมกำเนิดในช่วง 7 วันแรกของการมีประจำเดือนสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทันที ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

  • หากฝั่งยาคุมในวันถัดไปหรือวันอื่นๆของรอบประจำเดือนสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 7 วันหลังจากวันที่ฝัง

  • ระหว่างนี้ควรใช้วิธีการคุมเนิดอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือ การหลั่งภายนอก เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยและกังวลว่าฝังยาคุมแล้วท้องไหม ระหว่างนี้ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นการใช้ถุงยางอนามัยหรือการหลั่งนอก เป็นต้น

คู่รัก หลังฝังยาคุม

ตารางเปรียบเทียบผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด

ตารางเปรียบเทียบผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด


ข้อปฏิบัติหลังฝังยาคุม 

ควรมาพบแพทย์ตามนัดหลังฝังยาคุมประมาณ 7 วัน เพื่อดูแผลบริเวณที่ฝัง และครั้งถัดไปจะนัดปีละครั้งเพื่อติดตามผล เมื่อครบกำหนด 3 ปี หรือ 5 ปี ต้องกลับมาคลินิกเพื่อถอดยาคุมออก ตรงตามช่วงวันที่ครบกำหนด หากพ้นกำหนดร่างกายจะสร้างไขมันและเนื้อเยื่อเคลือบเข็มยาคุม ทำให้เอาเข็มยาคุมออกยาก ในบางรายต้องเข้าห้องผ่าตัดเพื่อถอดเข็มยาคุมออก

  อ่าน แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุมกำเนิด เพิ่มเติม


ข้อห้ามในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด

ข้อห้ามในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด มีดังนี้

  1. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันก่อนฝังยาคุมอย่างน้อย 7 วัน

  2. ทราบหรือสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์

  3. เป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตัน เช่น บริเวณขา ปอด หรือ ตา

  4. เป็นหรือมีประวัติเป็นเนื้องอกที่ตับ ทั้งชนิดที่เป็นมะเร็งและชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง

  5. เป็นหรือมีประวัติว่าเป็นโรคเกี่ยวกับตับ

  6. การทำงานของตับผิดปกติ (ดูได้จากผลตรวจจากตรวจทางห้องปฏิบัติการ)

  7. เป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม

  8. เป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  9. มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝังยาคุม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝังยาคุม 

  • การออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดแบบฝังประเภทนี้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ จะเริ่มต้นทันทีหลังจากหญิงสาวทำการฝังยาคุมเอาไว้ภายในระยะเวลาเพียง 5 วัน นับจากวันที่มีประจำเดือน แต่ในกรณีเป็นวันอื่นที่ไม่ตรงกับการมีประจำเดือนจะต้องใช้เวลา 7 วัน เพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์

  • การฝังยาคุมหลังคลอดควรดำเนินการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังคลอดลูก ทั้งนี้หากดำเนินการภายใน 21 วันจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที แต่ถ้าหลังจาก 21 วันไปแล้ว อาจต้องรอเวลาให้ยาออกฤทธิ์อีก 7 วัน

  • โรคที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนฝังยาคุมกำเนิด ได้แก่ โรคภูมิแพ้ตนเอง หรือ SLE , โรคซึมเศร้า มีอาการซึมเศร้ารุนแรง (ยาที่ใช้รักษาอาจจะมีปฏิกิริยากับยาฝังคุมกำเนิด) , ไมเกรน , ความดันโลหิตสูง , กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดในสมอง,  ดีซ่าน อาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนดำเนินการฝังยาคุมเพื่อความปลอดภัย

  • การฝังยาคุม ราคาถือว่าสูงในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหรือการฉีดยาคุม ดังนั้น ต้องรู้ว่ายาบางชนิดจะทำให้คุณภาพของการใช้งานลดลง ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ อาทิ ยา Rifabutin หรือยา Rifampicin, ยาแก้อาการลมชัก และยาสำหรับการรักษาผู้ป่วย HIV  

  • การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้แทบไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น โดยมีเพียง 2% ในช่วงระหว่างขั้นตอนการฝังยาคุมและการถอดเข็มยาคุมซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อได้ (แต่นับว่าน้อยถึงน้อยมาก) ถ้าเกิดขึ้นจริงก็รักษาไม่ยุ่งยากด้วยการทำความสะอาดและใช้ยาบรรเทาอาการติดเชื้อ


ยาคุมแบบฝัง หมดอายุเมื่อไร

ยาคุมแบบฝัง หมดอายุเมื่อไร

ยาคุมกำเนิดแบบฝังทั้งแบบ 3 ปี และ 5 ปี จะมีวันหมดอายุ/ยาสิ้นอายุ (Expiry Date) หรือ Exp. ระบุข้างกล่อง ซึ่งจะบอกปีและเดือน ส่วนวันที่ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ เช่น 2026-02 หมายถึง ยาหมดอายุวันที่ 28 เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2026


แพทย์จะทำการฝังยาคุมในระยะเวลาก่อนวันหมดอายุที่ระบุข้างกล่อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีของตัวยา เมื่อทำการฝังแท่งยาคุมเข้าไปในร่างกายแล้วจึงจะเริ่มนับเป็นวันแรกที่ยาออกฤทธิ์ไปจนครบกำหนดตามประเภทปีของยาคุม


ถอดยาคุมแบบฝัง (ถอดเข็มยาคุม)

การถอดยาคุมชนิดฝังทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน  โดยจะถอดเข็มยาคุมเมื่อครบกำหนดตามนัดหรือต้องการหยุดคุมกำเนิดเพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์ รวมถึงกรณีต้องการคุมกำเนิดด้วยยาคุมแบบฝังอีกก็สามารถเปลี่ยนแท่งยาแล้วฝังต่อได้เลย

สนใจบริการ ถอดยาคุมกำเนิด


ขั้นตอนถอดยาคุมกำเนิด

ขั้นตอนการถอดเข็มยาคุมออกมีดังต่อไปนี้

  1. แพทย์คลำหรือหาแท่งเข็มยาคุมบริเวณท้องแขน

  2. ทำความสะอาดบริเวณที่ฝังยาคุมไว้ ในท้องแขน

  3. ฉีดยาชาบริเวณรอบจุดฝังเข็มยาคุมเอาไว้

  4. ทำการกรีดเปิดแผลเล็กน้อยเพื่อนำเข็มยาคุมออกมา ซึ่งแผลมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 5 - 8 มิลิเมตร

  5. ค่อยๆกดท้องแขนและดันเข็ม เพื่อให้สามารถดึงเข็มยาคุมออกมาได้

  6. ให้คีบหนีบเข็มยาคุมทีละแท่ง จากใต้ท้องแขนจนครบ

  7. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซปลอดเชื้อ (Sterile Gauze) ตามด้วยปลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลสัมผัสน้ำ

  8. อธิบายแนวทางการดูแลแผล พร้อมทั้งคำแนะนำการวางแผนครอบครัว

ขั้นตอนการถอดเข็มยาคุมจะใช้เวลานานกว่าตอนฝังยาคุมเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วก็เพียงแค่ไม่กี่นาที


คำถามคำตอบการฝังยาคุมและถอดเข็มยาคุม

  • การฝังยาคุมจะทำให้อนาคตมีลูกยากรึเปล่า ?

ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดชั่วคราวมักจะมีข้อสงสัยกันอยู่เสมอว่าในอนาคตจะมีปัญหาการมีลูกยากหรือไม่ สำหรับการคุมกำเนิดด้วยวิธีฝังยาคุมจะไม่ทำให้มีลูกยากหลังจากที่ถอดยาคุมออก เมื่อเราทำการนำเข็มยาคุมกำเนิดออก ร่างกายจะมีการปรับระดับฮอร์โมนลงอย่างรวดเร็ว ไข่สามารถกลับมาตกแบบปกติได้ภายใน 1-2 เดือน กล่าวคือ ภายใน 1 ปี มีโอกาสสูงที่จะกลับมาตั้งครรภ์ได้ทันที เพราะฉะนั้นแล้วคุณแม่ที่เป็นห่วงเรื่องมีลูกยากในอนาคตหมดห่วงเรื่องนี้ไปได้เลย

 

  • ฝังยาคุมเกินกำหนด อันตรายไหม ?

ฝังยาคุมนานเกินกว่าเวลาที่กำหนดสามารถพบได้บ้าง ส่วนมากมักมาจากปัญหาส่วนตัวทำให้หลายคนต้องเลื่อนการถอดเข็มยาคุมออกไป ไม่พบผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ไม่ควรนานเกินไปเพราะจะทำให้เอาเข็มออกยาก บางรายต้องเข้าผ่าตัดเพื่อเอาออก หากเราสะดวกตอนไหนก็ค่อยไปถอดเข็มยาคุมออก แต่ว่าช่วงที่เลยกำหนดการถอดยาคุมมาแล้วควรมีการคุมกำเนิดแบบอื่นควบคู่ไปด้วย เพราะว่าตัวยาเสื่อมประสิทธิภาพแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูงมาก

 

  • ฝังยาคุมเกินกำหนดจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ?

ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์จะสูง หรือ แทบไม่มีผลในการป้องกันการตั้งครรภ์เลย เนื่องจากฮอร์โมนได้เริ่มหมดสภาพในการใช้งานแล้ว การฉีดยาคุมกำเนิดก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ช่วยคุมกำเนิดได้นาน 1 - 3 เดือน

 

  • หากต้องการฝังยาคุมกำเนิด สามารถไปฝังยาคุมได้เมื่อไร

หากต้องการฝังยาคุมควรไปฝังยาคุม ภายใน 5 วัน ของการมีประจำเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ด้ตั้งครรภ์อยู่ ในกรณีหลังคลอดบุตรสามารถฝังยาภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนกรณีแท้งบุตรสามารถฝังยาคุมได้ทันทีหรือภายใน 2 สัปดาห์ หลังแท้ง

 

  • การฝังยาคุมกำเนิดมีประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการคุมกำเนิดหรือไม่

ผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิดจะมีอาการปวดประจำเดือลดลง ปริมาณเลือดประจำเดือน้อยลง และอาจช่วยป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

 

  • หลังฝังยาคุมสามารถใช้แขนข้างที่ฝังยาคุมทำงานได้ปกติหรือไม่

แท่งยาคุมกำเนิดถูกฝังเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง ไม่ได้ฝังลึกในชั้นกล้ามเนื้อ จึงไม่ใด้มีผลต่อการใช้งานของแขนข้างที่ฝัง แต่ในช่วงแรกหลังฝังยาคุมใหม่ๆอาจมีอาการปวด บวม ช้ำ ที่แขนในบริเวณที่ฝังยาได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้อันตราย อาการเหล่านี้จะดีขึ้นใน 3-5 วัน

 

  • มีผลข้างเคียงหลังถอดเข็มยาคุมไหม ?

คำถามนี้เป็นที่ถูกถามเข้ามากันบ่อยๆ แต่ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด เพราะไม่มีผลข้างเคียงหรืออาการอันตรายเลย เพียงแต่อาจจะรู้สึกหน่วงบริเวณแผลผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งถือเป็นอาการปกติอยู่แล้ว

 

  • เมื่อถอดยาคุมแล้ว สามารถฝังยาคุมต่อได้ไหม ?

คนที่ต้องการคุมกำเนิดต่อสามารถแจ้งแพทย์ได้โดยตรง คุณสามารถฝังเข็มยาคุมต่อได้ทันที โดยแพทย์จะช่วยฝังเข็มยาคุมต่อให้ ช่วยให้มีการคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องกังวลกับปัญหาการตั้งครรภ์ หากถอดยาคุมแล้ว ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์จะสูง

 

  • ถอดยาคุมแล้วจะมีลูกเลยได้ไหม ?

สำหรับคนที่ต้องการจะมีลูกเมื่อถอดเข็มยาคุมออกแล้ว ร่างกายจะมีการปรับตัวมาเป็นปกติอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1-2 เดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีการตกไข่ภายใน 3 เดือน หลังจากนั้นร่างกายจะกลับมาเป็นปกติดังเดิมและมีโอกาสมีลูกได้ทันที ทั้งนี้ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลตัวเองต่อไป

หลังจากถอดยาคุมกำเนิดและมีการตั้งครรภ์แล้ว ขอแนะนำให้มีการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลคุณแม่และลูกให้ปลอดภัย การฝากครรภ์จะช่วยให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุผิดปกติต่างๆ ช่วยให้รับมือกับปัญหาได้โดยไม่ต้องกังวลใจ สามารถตรวจดูความเสี่ยงต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดี

 

  • สามารถถอดยาคุมก่อนหรือหลังกำหนดได้หรือไม่ ?

จริง ๆ แล้วการถอดยาคุมไม่ได้เกี่ยวข้องกับระยะเวลาว่าต้องก่อนหรือหลังเวลาที่แพทย์กำหนดไว้ หากต้องการถอดเพื่อตั้งครรภ์ก็สามารถทำได้ทันที ไม่มีผลข้างเคียงใด หรือถ้าครบกำหนดแต่ยังไม่มีเวลาไปถอดออกก็สามารถปล่อยเอาไว้ได้ แต่ไม่ควรเกิน 1 เดือน หลังจากครบกำหนดถอดเข็มยาคุมคุณภาพของตัวยาจะไม่ได้ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว

  อ่าน คำถามที่พบบ่อยสำหรับการถอดเข็มยาคุม เพิ่มเติม


การดูแลหลังถอดเข็มยาคุมกำเนิดออก 

  • ห้ามใช้แขนด้านที่ถอดยาคุมทำงานประเภทยกของหนัก

  • ห้ามโดนน้ำหรืออาบน้ำ สามารถโดนน้ำได้หากใช้พลาสเตอร์กันน้ำ

  • ปกติหากไม่มีอาการปวดก็สามารถถอดผ้าก๊อสและปลาสเตอร์ปิดแผลออกได้หลัง 5-7 วัน แต่ถ้ามีอาการปวดบวมมากผิดปกติหรือเลือดออกมากควรรีบพบแพทย์  

" การคุมกำเนิดวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามพยายามกระทำ หรือนำยาคุมกำเนิดออกเอง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ "

ฝังยาคุมและถอดยาคุมโดยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ

แม้ว่าโรงพยาบาลของรัฐจะมีบริการฝังยาคุมฟรี แต่ต้องเสียเวลาในการทำนัดหรือรอคิวเป็นเวลานานบางท่านจึงไม่สะดวก 

เหตุผลที่ควรฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิดที่อินทัชเมดิแคร์ 

  • การฝังยาคุมกำเนิดของอินทัชเมดิแคร์ ใช้ตัวยายี่ห้อ Implanon NXT และ Jadelle มั่นใจในประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดได้จริง ปลอดภัย ไม่เกิดอาการข้างเคียง สะดวก รวดเร็วและไม่เจ็บ

  • ทำโดยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ  มั่นใจได้เรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย

  • คลินิกของเรามีทั้งหมด 6 สาขา ค้นหาคลินิกใกล้ฉัน แล้วเข้าไปใช้บริการได้เลย ยืนยันฝังยาคุม ราคาสบายกระเป๋า

ราคาฝั่งยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด

ฝั่งยาคุม ราคา ถอดเข็มยาคุม ราคา

  • ฝังยาคุม แบบ 5 ปี ราคา 5,990 บาท

  • ฝังยาคุม แบบ 3 ปี ราคา 5,650 บาท

  • ถอดยาคุมหรือถอดเข็มยาคุม ราคา 2,600 บาท (ราคาเริ่มต้น)

หมายเหตุ : 1. ถอดเข็มยาคุม ราคาแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี แพทย์จะเป็นผู้ทำการประเมินก่อนทุกครั้ง
                   2. การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามทำ หรือนำออกด้วยตัวเองเด็ดขาด



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล
  แก้ไขล่าสุด : 29/03/2013

 website counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้