การขับรถเชิงพาณิชย์ เช่น รถขนส่งสินค้า รถบรรทุก รถน้ำมัน หรือรถเครน ต้องใช้ร่างกายที่แข็งแรง มีสมาธิ และตอบสนองได้รวดเร็วเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
การตรวจสุขภาพขับรถทางพานิชย์จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยคัดกรองผู้ที่มีความพร้อมในการขับขี่
- ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนขับรถทางพาณิชย์
- ราคาตรวจสุขภาพขับรถทางพานิชย์
- รายการตรวจสุขภาพคนขับรถเชิงพาณิชย์
- ข้อควรรู้ก่อนมาตรวจสุขภาพขับรถเชิงพานิชย์
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนขับรถทางพาณิชย์
🔴 ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ – เช่น สายตาพร่ามัว หัวใจวาย หรือหมดสติขณะขับรถ
🔴 ป้องกันการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ – ลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการขับรถขณะมึนเมา
🔴 ลดความเสี่ยงของภาวะง่วงนอนขณะขับขี่ – ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ป้องกันหลับใน
🔴 คัดกรองโรคติดต่อและโรคเรื้อรัง – เช่น วัณโรค เบาหวาน หรือไตเสื่อม ที่อาจส่งผลต่อสมรรถภาพร่างกาย
ราคาตรวจสุขภาพขับรถทางพานิชย์
- ราคาตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ขับรถทางพานิชย์ 2,650 บาท
- ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการแล้ว

รายการตรวจสุขภาพคนขับรถเชิงพาณิชย์
รายการตรวจสุขภาพสำคัญสำหรับคนขับรถเชิงพาณิชย์
✅ ตรวจการได้ยิน / Audiogram
เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรับรู้เสียงรอบข้าง เช่น เสียงแตรหรือเสียงเตือนจากรถคันอื่นได้ดี เช่น เสียงเตือนจากรถพยาบาล
✅ ตรวจสายตาเบื้องต้น
ตรวจความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้-ไกล ลดความเสี่ยงจากการขับขี่ในเวลากลางคืนหรือฝนตก หรือหากมีภาวะสายตาสั้น-ยาว อาจทำให้มองไม่เห็นรถที่เปลี่ยนเลนกะทันหัน
✅ ตรวจตาบอดสี / Color Blind Test
คนขับต้องแยกแยะสัญญาณไฟจราจรได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
✅ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด / CBC
คัดกรองภาวะโลหิตจาง หรือการติดเชื้อที่อาจทำให้เหนื่อยง่ายและส่งผลต่อสมาธิ หากมีภาวะโลหิตจาง อาจทำให้หน้ามืด เวียนหัว หรือหมดสติขณะขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
✅ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ / EKG
ตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคหัวใจที่อาจทำให้เกิดอาการวูบขณะขับรถ
✅ ตรวจน้ำตาลในเลือด / Glucose
ป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำที่อาจทำให้หน้ามืด หรือระดับน้ำตาลสูงที่อาจกระทบต่อการขับขี่
✅ ตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด / HBA1C
ตรวจภาวะเบาหวานเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อระบบประสาทและสายตา
✅ ตรวจการทำงานของไต / BUN
ไตเสื่อมอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หรือสะสมของเสียในร่างกาย ส่งผลต่อการขับขี่
✅ ตรวจการทำงานของตับเอนไซม์ / ALT (SGPT)
ตรวจภาวะตับอักเสบที่อาจเกิดจากโรค หรือการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อสมรรถภาพร่างกาย อาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า สมาธิสั้น และตัดสินใจผิดพลาด
✅ ตรวจเอ็กซเรย์ปอด / Chest X-ray
คัดกรองโรคปอด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อเรื้อรังที่อาจทำให้หายใจลำบาก อาจทำให้เหนื่อยง่าย หรือไอเรื้อรัง ส่งผลต่อสมรรถภาพในการขับขี่
✅ ตรวจความสมบูรณ์ของปัสสาวะ / UA
ตรวจหาโรคไต เบาหวาน หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่อาจทำให้ไม่สบายตัวขณะขับรถ
✅ ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ / Methamphetamine
ป้องกันการใช้สารเสพติดที่อาจส่งผลต่อสมาธิและการควบคุมรถ
✅ ตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า / 2Q
ภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดสูง อาจส่งผลให้มีความเครียดสะสม ทำให้ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจผิดพลาด หรือขาดความอดทนในการขับรถ
ข้อควรรู้ก่อนมาตรวจสุขภาพขับรถเชิงพานิชย์

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจ
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
- งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- งดอาหาร 8 ชั่วโมง หากต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
แจ้งโรคประจำตัวและยาที่ใช้เป็นประจำ
- หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ควรแจ้งแพทย์ก่อนตรวจ
ใส่เสื้อผ้าที่สะดวกต่อการตรวจสุขภาพ
- เช่น เสื้อแขนสั้นสำหรับการเจาะเลือด และเสื้อผ้าหลวมสบายสำหรับการตรวจเอกซเรย์
หากต้องตรวจสมรรถภาพร่างกายเพิ่มเติม
- อาจต้องมีการทดสอบแรงบีบมือ หรือทดสอบสมรรถภาพร่างกายอื่น ๆ ตามลักษณะของงานที่ขับ

นายอัชวิน ธรรมสุนทร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 18/02/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com