การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรค

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้านสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน และเป็นส่วนที่สำคัญเพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จ โดยต้องใช้เวลานานพอสมควรบวกกับความมีวินัย กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

  ระยะวัณโรคที่ตรวจเจอไม่ว่าระยะไหนมีโอกาสสูงในการรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและญาติจึงควรให้ความสำคัญส่วนนี้อย่างมาก  

ข้อปฏิบัติที่ควรรู้

กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรค

กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ให้ผู้ป่วยวัณโรคกินยาต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอ ต้องกินยาทุกชนิด ทุกเม็ด ตามขนาดที่แพทย์สั่ง และควรจดบันทึกการกินยาและอาการข้างเคียงไว้ด้วยทุกวัน

การไม่กินยาทุกวันจะส่งผลให้เชื้อโรคดื้อยา ทำให้การรักษาไม่ประสบความสำเร็จ เวลาในการรักษาก็จะนานขึ้นไปอีก  ซึ่งการกินยารักษาวัณโรคผู้ป่วยจะต้องใช้ความอดทนและใช้เวลาเป็นอย่างมาก 

  การกินยาอื่นเพิ่มจากยารักษาวัณโรค ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ อย่าซื้อยาเอง!  


พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

ต้องมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

ผู้ป่วยวัณโรคต้องมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ถึงแม้ว่ายาที่กินจะยังไม่หมด ก็ต้องมาพบแพทย์ และสามารถมาพบแพทย์ก่อนเวลานัดเพื่อรับยาได้ หากวันที่นัดไม่สะดวก


มีอาการข้างเคียงมากรีบพบแพทย์

มีอาการข้างเคียงมาก ควรพบหมอทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียนมาก ตัวเหลือง ตาเหลือง อ่อนเพลีย ลุกเดินไม่ไหว ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากกินยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น เช่น มีผื่นทั่วตัว มีไข้ มีแผลในช่องปาก โดยนำสมุดบันทึกที่จดอาการข้างเคียงประจำวันไปด้วย


เลิกดื่มสุราและเลิกสูบบุหรี่

เลิกดื่มสุราและเลิกสูบบุหรี่

เพื่อให้การรักษาวัณโรคประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์  เลิกสูบบุหรี่ สารเสพติดทุกชนิด เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายสุขภาพ รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะทำให้กรดในกระเพาะหลั่งมากขึ้น


สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรค ข้อนี้ทำได้ง่ายมากคือการสวมหน้ากากอนามัย ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม เพื่อป้องกันละอองเสมหะฟุ้งกระจายไม่ให้ชื้อแพร่กระจายไปสู้ผู้อื่น

หากนั่งรถสาธารณะ เช่น รถตู้ รถบัส หรืออยู่ในบริเวณที่มีคนจำนวนมาก เช่น วัด ตลาด ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง


ตรวจวัณโรคที่อินทัชเมดิแคร์

บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด

บ้วนเสมหะ น้ำลาย ลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดแล้วเทลงในส้วม หรือขากเสมหะใส่ถุงพลาสติก โดยใส่น้ำยาล้างจานหรือน้ำผสมผงซักฟอกไว้ก็สามารถทำได้ แล้วทำลายโดยการฝังดิน หรือนำไปเผา หรือทำลายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำยาไลโซล ที่มีความเข้มข้น 2% ใส่ในกระโถนเสมหะแช่ทิ้งไว้ 6-12 ชม. จึงเททิ้ง 

  ไม่ควรขากเสมหะลงพื้น ไม่ขากเสมหะในห้องน้ำ  


ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรค ที่ต้องปรับในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยวัณโรค เพื่อให้ร่างกายไม่ป่วยเป็นโรคอื่นอีก ดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ เช่น ก่อนกินข้าว หรือ หลังจากเข้าห้องน้ำ

  • ใช้ช้อนกลางเมื่อกินอาหารร่วมกับคนอื่น  

  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนอื่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไข่เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้

  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

  • พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ

  • ออกกำลังกายเหมาะสม สม่ำเสมอ

  • ลดความวิตกกังวลและขจัดความเครียด


การแยกที่นอนเมื่อรู้ว่าเป็นวัณโรค

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคในช่วงแรกที่เริ่มรักษาและตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะของผู้ป่วย ให้แยกนอนคนเดียว เพื่อไม่ให้คนใกล้ชิดติดวัณโรค


อยู่ในที่อากาศถ่ายเทและสะอาด

  • จัดสถานที่ในบ้านให้สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก แดดส่องถึง เมื่ออยู่บ้าน อย่านั่งเหนือลมให้นั่งใต้ลม หรือนั่งไกลจากพัดลม ไม่มีคนอื่นนั่งข้างหลังผู้ป่วย 

  • สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้ทำความสะอาดโดยการนำที่นอน หมอน มุ้ง ซักล้าง และเอาออกตากแดดบ่อยๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรค


ข้อควรจำที่สำคัญเกี่ยวกับการกินยา

ข้อควรจำที่สำคัญเกี่ยวกับการกินยา

การกินยาถือเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของการรักษาวัณโรคและการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรค ผู้ป่วยต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • การกินยารักษาวัณโรคต้องกินอย่างต่อเนื่อง จนครบระยเวลาการรักษา (อย่างน้อย 6 เดือน)

  • การกินยาไม่ต่อเนื่องทุกวันหรือขาดยาเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะทำให้รักษาไม่หาย
    และอาจเกิดวัณโรคชนิดเชื้อดื้อยา

  • หากผู้ป่วยลืมกินยา ให้กินยามื้อที่ลืมทันทีที่นึกได้ และให้กินยามื้อต่อไปซึ่งเป็นวันเดียวกันห่างกันนานที่สุด ถ้ากังวลว่าทำไม่ถูกต้อง ขอให้รีบโทรสอบถามคลินิก หรือสถานพยาบาลที่รักษา

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

  • เมื่อกินยารักษาวัณโรคได้ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการดีขึ้น แต่ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด ต้องกินยาต่อเนื่องไปอีกจนครบการรักษาตามคำสั่งของแพทย์ (อย่างน้อย 6 เดือน)

  • การรักษาวัณโรคชนิดดื้อยา มีโอกาสหายน้อยมาก ต้องใช้เวลารักษานานขึ้น และต้องแจ้งคนที่นอนในบ้านเดียวกับคนไข้หรือคนที่ใกล้ชิดกัน มาตรวจวัณโรคที่สถานพยาบาลหรือคลินิกวัณโรค เพราะอาจได้รับเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเด็กต้องกินยาป้องกันการป่วยเป็นวัณโรค


ข้อปฏิบัติของญาติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากวัณโรคได้ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้น มีความเข้าใจสภาวะจิตใจผู้ป่วย และดูแลผู้ป่วยวัณโรคในบ้านของตนเองได้ มีข้อปฏิบัติสำหรับญาติที่ควรรู้ ดังนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของยา

ตรวจสอบความถูกต้องของยา

ผู้ดูแลตรวจสอบความถูกต้องของยาสำหรับให้ผู้ป่วยวัณโรค ต้องได้รับยาตามกำหนด ชนิดและขนาดของยาถูกต้อง และสามารถเป็นธุระในการไปรับยาของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถมารับยาได้


ดูแลผู้ป่วยรับประทานยาทุกเม็ดทุกมื้อ

ผู้ดูแลต้องช่วยกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค ต้องได้กินยาทุกเม็ด ทุกมื้อ จนครบถ้วน รวมทั้งให้กำลังใจให้ผู้ป่วยกินยาครบตามกำหนดการรักษา

  หากกินยาไม่ครบ ไม่ต่อเนื่อง หรือหยุดยาไปเอง ก็จะส่งผลต่อการรักษาให้ยากและยาวนานขึ้นไปอีก  


บันทึกการรับประทานยาตลอดการรักษา

ผู้ดูแลจะต้องทำการบันทึกการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคทุกวัน ลงในสมุดบันทึกที่สถานพยาบาลมีให้ ซึ่งในส่วนนี้จะต้องทำเป็นประจำทุกวันไม่ให้ขาด ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ทำการรักษาได้ง่ายขึ้น 


ดูแลผู้ป่วยวัณโรค

ดูแลผู้ป่วยในด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ

  • ให้การดูแลสุขภาพร่างกายผู้ป่วยวัณโรค ให้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ พาผู้ป่วยออกกำลังกายสม่ำสมอ ผู้ป่วยได้พักผ่อนเพียงพอ งดสิ่งเสพติด เป็นต้น 

  • การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ดูแลต้องเอาใจใส่แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอด การแสดงความเครพนับถือ และให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจในการรักษาพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง

  • ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวต้องให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งก็คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ของใช้ส่วนตัว รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าพาหนะในการเดินทางมาสถานพยาบาล


ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาญาติต้องแจ้งแพทย์ทันที

หากผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษา ญาติผู้ดูแลต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยต่อไป


พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้านคือการปฏิบัติร่วมกันทั้งสามฝ่าย ทั้งตัวผู้ป่วยเอง ญาติผู้ดูแล และแพทย์ผู้รักษา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาก็เพื่อให้การรักษาวัณโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จนการรักษาประสบความสำเร็จ


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
  แก้ไขล่าสุด : 06/09/2023

web counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้