ตอบคำถามเรื่องวัณโรค

ตอบคำถามเรื่องวัณโรค

สำหรับผู้ที่เป็นวัณโรคทุกคนมักจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรครวมทั้งการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคว่าจะต้องทำอย่างไร มีข้อห้ามหรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง วันนี้อินทัชเมดิแคร์จะมาตอบคำถามเรื่องวัณโรคให้หายสงสัยกันค่ะ

คำถามที่พบบ่อยเรื่องวัณโรค

ไม่เคยใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นวัณโรคเลย ทำไมจึงติดโรคได้

ไม่เคยใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นวัณโรคเลย ทำไมจึงติดโรคได้

  • คำตอบ : เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายผ่านทางอากาศ ผู้ป่วยอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคก็สามารถติดเชื้อได้ โดยสูดอากาศที่อาจมีละอองฝอยของเชื้อวัณโรคเข้าไปจากสถานที่อื่นๆได้

ผู้ป่วยวัณโรคสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ไหม

  • คำตอบ : สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้แต่ต้องมีมาตรการป้องกันการติดต่อเพิ่มเติม โดยเฉพาะ 2 สัปดาห์แรกหลังเริ่มการรักษา เช่น แยกห้องนอนออกจากสมาชิกในบ้าน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และทิ้งเสมหะในภาชนะมิดชิด

นอนกับคนเป็นวัณโรค จะติดเชื้อไหม

  • คำตอบ : สามารถติดเชื้อได้ โดยเชื้อสามารถออกมาจากคนเป็นวัณโรคได้จากการหายใจ การไอ การหาวหรือการพูดคุย หากเคยนอนกับคนเป็นวัณโรคแนะนำตรวจคัดกรองวัณโรคเพิ่มเติม และควรแยกห้องนอนออกจากผู้ป่วยวัณโรค

ดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้ป่วยวัณโรคได้ไหม

  • คำตอบ : ดื่มน้ำแก้วเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากเชื้อวัณโรคอาจปนเปื้อนมาในน้ำลายได้

วัณโรคใช้เวลารักษานานไหม

วัณโรคใช้เวลารักษานานไหม

  • คำตอบ : วัณโรคใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน โดยต้องทานยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยเป็นระยะเวลา 6 เดือน หากมีวัณโรคนอกปอด (Extrapulmonary TB) มีอาการแทรกซ้อน หรือการดื้อยาก็อาจจะต้องทานยานานขึ้น ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย

สนใจตรวจรักษากับอินทัชเมดิแคร์

วัณโรคปอด ห้ามกินอะไรบ้าง

  • คำตอบ : ระหว่างการรักษา ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเสริม หรือยาที่อาจจะเป็นอันตรายต่อตับและไต เนื่องจากอาจทำให้ยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์ได้ไม่ดีและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาฆ่าเชื้อได้มากขึ้น

วัณโรคมีโอกาสหายไหม

  • คำตอบ : วัณโรคสามารถหายได้ หากรักษาได้อย่างถูกต้องและทานยาฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง

กินยาวัณโรคกี่เดือน ถึงไม่แพร่เชื้อ

กินยาวัณโรคกี่เดือน ถึงไม่แพร่เชื้อ

  • คำตอบ : ทานยาฆ่าเชื้อวัณโรคอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก็สามารถลดปริมาณเชื้อและลดการแพร่เชื้อได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะมีการตรวจเสมหะยืนยันหลังทานยาอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าไม่พบเชื้อและไม่สามารถแพร่เชื้อได้

อาการดีขึ้นแล้ว หยุดกินยาได้ไหม

  • คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากเชื้อวัณโรคเป็นเชื้อที่รักษาได้ยาก แม้ว่าผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นแล้วแต่เชื้อวัณโรคในตัวผู้ป่วยจะยังไม่ตายทั้งหมด หากหยุดยาก่อน 6 เดือนหรือก่อนที่แพทย์สั่งให้หยุด จะมีโอกาสเชื้อกลับมาก่อโรคได้ใหม่และเกิดเชื้อดื้อยาได้มาก การรักษาครั้งใหม่อาจใช้เวลานานกว่าเดิมหรืออาจรักษาไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตได้

เป็นวัณโรค ถ้าลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลาหรือเลื่อนไปจากเวลาเดิมที่เคยกิน ต้องทำอย่างไร

  • คำตอบ : การปฏิบัติทำเหมือนกันทั้ง 2 กรณีเลย คือถ้ากินยาไม่ตรงเวลา หรือลืมกินยา ถ้าลืมกินไม่ถึง 12 ชม. ให้กินทันทีที่นึกได้ ถ้าเกินให้ข้ามมื้อนั้นไป และปรึกษาแพทย์ ถ้าลืมบ่อยต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เพราะบางกรณีอาจกินยาหลายตัว หลายเวลา หรือระยะวัณโรคคนละระยะก็ดูแลต่างกันค่ะ


เอกสารอ้างอิง

  • แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 (National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand 2021) กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
  • แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษา ผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย (Clinical Practice Guideline (CPG) of Tuberculosis Treatment in Thailand)  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ร่วมกับสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
  แก้ไขล่าสุด : 08/09/2023

website counter widget
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้