ภาวะไข่ไม่ตก เกิดจากอะไร? สัมพันธ์กับ PCOS ยังไง

ภาวะไข่ไม่ตก เกิดจากอะไร?

ไข่ตก ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธ์ แต่ถ้าอยู่ดีๆเกิด ‘ภาวะไข่ไม่ตก’ ขึ้นล่ะ อย่างนี้ถือว่าเป็นอาการผิดปกติหรือไม่ แล้วการที่ไข่ไม่ตกสัมพันธ์กันกับอาการของ ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ PCOS อย่างไร สามารถรักษาได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบค่ะ

หัวข้อน่ารู้เกี่ยวกับภาวะไข่ไม่ตก


ภาวะไข่ไม่ตก คืออะไร

ภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) หมายถึง ภาวะที่ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่จนกระทั่งเป็นไข่ที่โตเต็ม จึงส่งผลทำให้ไม่มีไข่ที่ตก ออกมาจากบริเวณรังไข่ และเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่


ปกติไข่จะตกช่วงไหน

โดยปกติแล้ว ไข่จะตกช่วงประมาณ 14 วัน ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา


การที่ไข่ไม่ตก เกิดจากสาเหตุอะไร

การที่ไข่ไม่ตกนั้น มีสาเหตุของภาวะตกไข่ผิดปกติ โดยจะสามารถแบ่งได้คร่าวๆ คือ

ไข่ไม่ตก เกิดจากอะไรได้บ้าง?
  • เกิดจากความผิดปกติบริเวณของสมองและต่อมใต้สมอง

  • ภาวะรังไข่ล้มเหลว (Ovarian failure) เกิดจากสาเหตุ เช่น การบกพร่องทางพันธุกรรม , การได้รับสารพิษต่อรังไข่ และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เป็นต้น

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome; PCOS)

  • อยู่ในสภาวะมีความเครียด , การออกกำลังกายอย่างหนัก , การลดน้ำหนักในระยะเวลาอันรวดเร็ว , น้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป

  • มีภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

  • มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินมาก (Hyperprolactinemia)


  เกร็ดความรู้ 

ฮอร์โมนโปรแลคติน ผลิตโดยต่อมใต้สมอง
มีหน้าที่กระตุ้นต่อมที่เต้านมให้ผลิตและ
หลั่งน้ำนม รวมถึงช่วยให้ไข่ตกอย่างสม่ำเสมอ
โปรแลคตินสูงเกิดได้จากหลาย
ปัจจัย เช่น
เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง, การทานยาบางชนิด
หรือการกระตุ้นเต้านมบ่อยๆ

ภาวะไข่ไม่ตก มีอาการอย่างไร

ตัวอย่างอาการแสดงของภาวะไข่ไม่ตก เช่น

  • ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย แต่เมื่อเป็นประจำเดือนก็จะเป็นนานหรือมีปริมาณมากผิดปกติ

  • ขาดประจำเดือน 

  • หน้าเป็นสิว ผิวมัน ขนดกผิดปกติ

  • มีบุตรยาก


อ่านเพิ่มเติม : ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ที่มักมากับโรคอ้วน สิวเยอะ ฮอร์โมนเพศชายสูง ประจำเดือนผิดปกติ

ภาวะไข่ไม่ตก สัมพันธ์กับ PCOS อย่างไร

Polycystic ovary syndrome (PCOS) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ร่วมกับภาวะที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง โดยกลไกของการเกิดนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (Hypothalamic-pituitary-ovarian axis) และภาวะดื้ออินซูลิน


ตรวจ PCOS สอบถามเพิ่มเติมทักแชท
ไข่ไม่ตก ทำให้เกิดประจำเดือนมาผิดปกติได้

ไข่ไม่ตก จะมีประจําเดือนผิดปกติไหม

หากไข่ไม่ตก อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ เช่น มีอากาของประจำเดือนขาด ไม่มา หรือมาแบบกะปริบกะปรอย เป็นต้น


ถ้าไข่ไม่ตกสามารถตั้งครรภ์ได้ไหม

หากใครที่มีภาวะไข่ไม่ตกจะ ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้นะคะเนื่องจากไม่มีไข่สำหรับการปฏิสนธิ  ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการมีบุตรยาก


อ่านเพิ่มเติม : PCOS กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่คนวางแผนมีบุตรต้องรู้

ทํายังไงหากไข่ไม่ยอมตก

หากพบว่าไข่ไม่ตก แพทย์จะทำการหาสาเหตุ และแก้ไขสาเหตุเบื้องต้น เช่น

  • หากผู้ป่วยมีความเครียดมากก็ต้องกำจัดความเครียด

  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

  • งดการออกกำลังกายหนักๆ

  • รับประทานทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  • สังเกตุอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ เดินเซ มองเห็นไม่ชัด กินจุ น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากผิดปกติ เหนื่อยง่าย ใจสั่น


"หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น
ควรไปพบแพทย์ แพทย์อาจมีการแนะนำ
ให้ตรวจภายใน หรือตรวจนรีเวชเพิ่มเติมค่ะ"

แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
(แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำคลินิก)

การรักษาภาวะไข่ไม่ตก

แนวทางรักษาภาวะไข่ไม่ตก จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละโรคโดยแนวทางการรักษา เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนัก ลดความเครียด, ส่วนใช้ยาเช่น ยากระตุ้นไข่ , การผ่าตัด เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการไข่ไม่ตก โดยแพทย์

"ส่วนใหญ่หากแพทย์เจอผู้ป่วยที่มีอายุน้อย มีความเครียด มาพบแพทย์ด้วยสาเหตุประจำเดือนไม่มา แพทย์จะแนะนำให้ลองให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรับประทานยาปรับฮอร์โมนซึ่งอาการก็ดีขึ้น แต่หากกรณีที่สงสัยว่าเป็น pcos รวมถึงปรับพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น และสงสัยว่าเป็นภาวะอื่นๆ ก็จะแนะนำให้คนไข้ไปพบแพทย์เฉพาะทาง 

ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาจมีการอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) เบื้องต้น หรือให้รับประทานยาปรับฮอร์โมนดูก่อน และทำการเจาะเลือด เพื่อนำไปตรวจหาอาการที่คาดว่าจะเป็นค่ะ หรืออาจมีการตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือตรวจนรีเวชเพิ่มเติมด้วย"

- แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล (แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประจำคลินิก) -

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้