ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร ตรวจอะไรบ้าง?

Last updated: 10 ก.ย. 2567  |  52855 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร ตรวจอะไรบ้าง?

ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร ถือเป็นสิ่งจำเป็นหากคุณเป็นผู้ประกอบการด้านอาหาร หรือพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมและจัดการอาหาร เพราะเป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันว่าคุณได้ผ่านการตรวจสุขภาพตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือโรคติดต่อสู่ผู้บริโภค

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดการตรวจสุขภาพที่จำเป็น รวมถึงโรคที่ต้องตรวจ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าเตรียมตัวได้ครบถ้วนในการขอใบรับรอง​

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร


 

รายการตรวจสุขภาพเพื่อออกใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร

ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร จะประกอบไปด้วยรายการตรวจสุขภาพดังต่อไปนี้

  1. การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ / Physical Examination

  2. ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร 10 โรค  / Medical Certificate  เช็คว่า 10 มีโรคอะไรบ้าง

  3. การตรวจวัดชีพจร วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง / Vital Sign

  4. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  / HBsAg

  5. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ / HAV(Igm)

  6. ตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระ / Stool C/S

  7. ตรวจโดยการฟังปอด


 

ราคาใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร

  • ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร ราคา 1,290 บาท

หมายเหตุ: หากมีการรับบริการตรวจสุขภาพรายการอื่นเพิ่มเติม จะมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทางผู้รับบริการสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนได้


ขอใบรับรองแพทย์ คลิก

โรคที่ติดต่อจากผู้สัมผัสอาหารมีอะไรบ้าง

โรคที่สามารถติดต่อผ่านผู้สัมผัสอาหารได้มีดังนี้

โรคติดต่อจากผู้สัมผัสอาหาร

  1. วัณโรค (Tuberculosis)

  2. อหิวาตกโรค (Cholera)

  3. ไข้รากสาดน้อย หรือ ไทฟอยด์ (Typhoid Fever)

  4. โรคบิด (Dysentery)

  5. ไข้สุกใส (Chickenpox)

  6. โรคคางทูม (Mumps)

  7. โรคเรื้อน (Leprosy)

  8. โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (Dermatitis)

  9. โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (Hepatitis)

  10. โรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Other)

ขอใบรับรองแพทย์ คลิก

ผู้สัมผัสอาหารสามารถส่งต่อเชื้อได้หลายกรณี เช่น

  • สัมผัสโดนอาหารเป็นพาหะของโรคติดต่อทางเดินอาหาร โดยการสัมผัสอาหารที่มีเชื้อของโรคนั้นๆ เช่น โรคไข้รากสาดน้อย โดยไม่แสดงอาการ

  • ป่วยเป็นโรคที่แพร่กระจายเชื้อที่ติดต่อทางการสัมผัส โดนน้ำมูก น้ำลาย แล้วนำที่มือไม่สะอาด ไปหยิบจับอาหาร เช่น โรคไข้รากสาดน้อย, โรคอุจจาระร่วง และบิด 

  • ป่วยเป็นโรคที่แพร่กระจายเชื้อที่ติดต่อผ่านทางการไอ จาม น้ำมูกไหล ในขณะพูดคุยหรือละอองสัมผัสโดนอาหาร เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบเอ หวัด

  • ผู้ที่มีบาดแผล ฝี หนอง หรือเชื้อโรคในบาดแผล สามารถปนเปื้อนขณทำอาหาร หรือหยิบจับอาหารได้

  • ผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยขณะประกอบอาหาร หรือหยิบจับอาหาร อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้



ผู้สัมผัสอาหารคือใคร

ผู้สัมผัสอาหาร คือ ผู้ที่ทำงานหรือประกอบอาชีพ ที่มีความเกี่ยวข้องในด้านการทำอาหารทั้งหมด ได้แก่

ผู้สัมผัสอาหารคือใครบ้าง?

  • ผู้จัดเตรียมอาหาร

  • ผู้ปรุงอาหาร เช่น พ่อครัว แม่ครัว เชฟ

  • ผู้เสิร์ฟอาหาร (พนักงานเสิร์ฟ) พนักงานร้านอาหาร 

  • ผู้ทำการจำหน่ายอาหาร

  • ผู้เก็บและทำความสะอาดพาชนะและอุปกรณ์ ที่ใช้ประกอบอาหาร เช่น พนักงานล้างจาน

  • พนักงานขนส่งอาหาร หรือลำเลียงอาหาร

  • อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสอาหาร

ผู้สัมผัสอาหาร ต้องอบรมหรือไม่

สำหรับผู้ที่ต้องการมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร จะมีความจำเป็นต้องได้รับการอบรม 'หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร' ของกรมอนามัยหรือผ่านการทดสอบความรู้จากหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น โดยต้องได้คะแนนผ่านตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

เอกสารรับรองการอบรมมีอายุกี่ปี

  • มีอายุ 3 ปี โดยผู้ถือบัตรต้องดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวทุก 3 ปี และทั้งนี้ควรเข้ารับการอบรมฟื้นฟูความรู้ก่อนต่ออายุบัตรประจำตัว

ผู้สัมผัสอาหาร ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

หากต้องการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร จำเป็นต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 

  1. วุฒิบัตรว่าผ่านการอบรม หรือวุฒิบัตรว่าผ่านการทดสอบความรู้ โดยจำเป็นต้องเข้ารับการอบรมสุขาภิบาลอาหารก่อน

  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

  3. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว (ไม่เกิน 6 เดือน)

  4. ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร

 


สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพด้านการประกอบอาหาร ที่สนใจตรวจสุขภาพ สามารถรับบริการตรวจสุขภาพ เพื่อออกใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร ได้ที่อินทัชเมดิแคร์ทุกสาขา

เรามีทีมแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์ คอยให้คำแนะนำ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ปลอดภัย ตามมาตรฐาน มีการตรวจสุขภาพจริงก่อนออกใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลการตรวจที่แม่นยำมากที่สุด


เอกสารอ้างอิง

  • สํานักสุขาภิบาลอาหารและน้ํา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,ผู้สัมผัสอาหาร


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย นายอัชวิน ธรรมสุนทร
  แก้ไขล่าสุด : 10/09/2024
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาตเฉพาะในเชิงให้ความรู้หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้