การฝากครรภ์และคลอดบุตรใช้สิทธิประกันสังคม

ฝากครรภ์ ประกันสังคม และ คลอดบุตร ประกันสังคม

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเบิกค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรสิทธิประกันสังคม สถานที่ยื่นเรื่องเบิกประกันสังคมกรณีฝากครรภ์และกรณีคลอดบุตร ในบทความนี้จะไขข้อสงสัยให้คุณพ่อคุณแม่ว่าต้องเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง รวมทั้งตัวอย่างหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ,แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน เพื่อยื่นเอกสารกับสำนักงานประกันสังคม

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีฝากครรภ์

เบิกประกันสังคม กรณีฝากครรภ์

เอกสารเบิกกรณีฝากครรภ์

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม สปส.2-01

  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางกรณีต่างชาติ

  3. ใบเสร็จรับเงินการเข้ารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์

  4. ใบรับรองแพทย์ หรืออนุโลมให้ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์  ที่มีชื่อแม่ผู้ตั้งครรภ์และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์แทนได้

  5. ถ้าคุณพ่อมาเบิก ให้นำสำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสมาด้วย แต่ถ้าคุณแม่มาเบิกต้องใส่เลขบัตรประชาชนของคุณพ่อเพื่อป้องกันการใช้สิทธิซ้ำ

  6. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนเงิน


ฝากครรภ์แต่ละครั้งเบิกได้เท่าไร

เมื่อคุณแม่ได้ฝากท้องกับคลินิกสูตินรีเวชแล้วให้ขอใบเสร็จพร้อมใบรับรองแพทย์ เพื่อนำมาใช้เบิกกับสำนักงานประกันสังคมมีรายละเอียดดังนี้

  1. ฝากครรภ์ครั้งที่ 1  อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายตามจริงสูงสุด 500 บาท

  2. ฝากครรภ์ครั้งที่ 2  อายุครรภ์ระหว่าง 12- 20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายตามจริงสูงสุด 300 บาท

  3. ฝากครรภ์ครั้งที่ 3  อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงสูงสุด 300 บาท

  4. ฝากครรภ์ครั้งที่ 4  อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงสูงสุด 200 บาท

  5. ฝากครรภ์ครั้งที่ 5  อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายตามจริงสูงสุด 200 บาท

บริการฝากครรภ์เหมาจ่าย

หมายเหตุ

  • การเบิกฝากครรภ์ ประกันสังคมจะให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายมาใช้สิทธิ์ก็ได้แต่ต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ

  • ยื่นภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์จากคลินิกสูตินรีเวช

  • สามารถยื่นเป็นครั้งต่อครั้ง หรือยื่นครั้งเดียวพร้อมตอนคลอดบุตรก็ได้

  • ยื่นส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ไปยังพื้นที่ประกันสังคมได้ทุกแห่ง ยกเว้นสำนักงานใหญ่ประกันสังคม


เงื่อนไขเบิกประกันสังคมกรณีคลอดบุตร

เบิกประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร 

  2. จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน(ได้เฉพาะฝ่ายหญิง ได้แค่ 2 ครั้ง)

  3. กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง (เบิกได้ทั้งหญิงและชาย ไม่จำกัดจำนวนบุตร)


พิจารณาสั่งจ่ายค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร

เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

  3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

  4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)


เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ ดูตัวอย่างเอกสารคลิกที่นี่

  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางกรณีต่างชาติ

  3. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 

  4. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ดูตัวอย่างเอกสารคลิกที่นี่

  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก

หมายเหตุ

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง


สถานที่ยื่นเรื่อง

สถานที่ยื่นเรื่องเบิกค่า ฝากครรภ์ ประกันสังคม คลอดบุตร ประกันสังคม ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)


แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม

หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้