HIV กับ เอดส์ หรือ AIDS เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดว่า คิดว่าทั้งสองคือโรคเดียวกัน เนื่องจากเป็นเชื้อเริ่มต้นที่จะพาไปสู่การเป็นโรคเอดส์ ซึ่งความจริงแล้วตัวเชื้อ HIV เป็นเพียงแค่โรคที่ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอเท่านั้น หากมีการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกติ
ส่วนโรคเอดส์ จะทำให้มีระดับภูมิต้านทานต่ำลงมาก ทำให้ร่างกายได้รับโรคแทรกซ้อนได้ง่าย มีลักษณะรอยโรคบางอย่างที่จำเพาะ อย่างมะเร็งบางชนิด หรือการติดเชื้อที่รุนแรงบางตัวที่เป็นเอกลักษณ์
เลือกหัวข้อที่สนใจเรื่อง HIV กับ เอดส์
- HIV คืออะไร
- การติดเชื้อ HIV เกิดจากอะไร
- AIDS ย่อมาจากอะไร
- โรคเอดส์ สรุปแล้วคืออะไร
- ติดเชื้อ HIV กี่ปีถึงออกอาการ
- มีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV กับ เอดส์ ทำอย่างไร
- พฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
- พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
- ชุดตรวจที่จำเป็นเมื่อตรวจ hiv
HIV คืออะไร
HIV เป็นไวรัสที่ทำการโจมตีร่างกายเราและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หลังจากเชื้อ HIVสามารถเข้าสู่ร่างกายได้แล้ว มันจะมีเป้าหมายในการบุกทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4+ ที่มีความสำคัญต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เชื้อ HIV ก็จะกลายเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ต่อมา ซึ่งใช่ระยะเวลานานมากกว่าจะกลายมาเป็นโรค เอดส์
การติดเชื้อ HIV เกิดจากอะไร
การติดเชื้อ HIV เกิดจากสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อ HIV ได้เข้าสู่กระแสเลือดของอีกคนหนึ่งเท่านั้น สารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด และน้ำนมแม่
โรคเอดส์ สรุปแล้วคืออะไร
โรคเอดส์ คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงอย่างรุนแรง เป็นผลมาจากการติดเชื้อ HIV เมื่อการติดเชื้อ HIV ไม่ได้รับการรักษาหรือมีการจัดการที่ไม่ดี เชื้อสามารถพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้ ผู้ที่เป็นโรคเอดส์มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงอย่างมาก และมีความอ่อนไหวต่อการติดโรคฉวยโอกาสและมะเร็งได้หลายชนิด แถมการรักษายังเป็นเรื่องที่ยากกว่าปกติ นอกจากนี้เมื่อหายดีแล้วก็มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้
ติดเชื้อ HIV กี่ปีถึงออกอาการ
เมื่อได้รับเชื้อ HIV แล้วในระยะแรกจะยังไม่มีอาการ โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อ HIV จะเกิดอาการป่วยภายใน 8 – 10 ปี (สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย) โดยที่เชื้อไวรัสเอดส์สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-Lympho-cyte เพราะมีลักษณะพิเศษจากไวรัสอื่น คือเชื้อจะอยู่ในร่างกายได้ตลอดไป รอดพันจากการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถกระตุ้นเซลล์บางชนิดของร่างกายได้ เช่น เกิดมะเร็งได้
ซึ่งผู้ติดเชื้อเอดส์ จะมีอาการแสดงออกตามระยะของการติดเชื้อโรคเอดส์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะที่ 1 Asymptomatic HIV Infection ระยะไม่ปรากฏอาการ
- ระยะที่ 2 ARC-AIDS Related Complexes อาการสัมพันธ์กับเอดส์
- ระยะที่ 3 AIDS อาการเอดส์เต็มขั้น
บริการของคลินิกที่แนะนำ
มีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV กับ เอดส์ ทำอย่างไร
หากคุณพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่อาจจะติดเชื้อ HIV กับ เอดส์ ( AIDS) ควรหมั่นไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลใกล้เคียงเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และคนรอบข้าง ที่สำคัญเมื่อรู้ตัวเร็ว เราจะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะการติดเชื้อ HIV สามารถรักษาได้ และการรับยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV มาทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคเอดส์

พฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
- การจามหรือการไอ
- การจูบ การกอด หรือร้องไห้
- การถูกยุงกัด หรือโดนแมลงต่อย
- การบริจาคเลือด
- พื้นผิวหรือวัตถุต่างๆ เพราะเชื้อไม่สามารถอยู่นอกร่างกายได้นาน
- การใช้ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV
- การนอนร่วมเตียงเดียวกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
- การทานอาหารร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน โดยไม่ป้องกัน มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการติดเชื้อ HIV และเป็นโรคเอดส์
- การใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ฉีดอื่นๆ ร่วมกัน ที่อาจมีการปนเปื้อนของเลือดสามารถติดเชื้อได้
- เด็กสามารถติดเชื้อ HIV ได้จากการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมบุตร หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เด็กที่ติดเชื้อ HIV จะเป็นโรคเอดส์และเสียชีวิตก่อนอายุห้าขวบ
- การเจาะ และการสัก ตามร่างกายที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกต้อง
การติดเชื้อสามารถรักษาได้ หากคุณรู้ทันอาการเบื้องต้น และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้ตามปกติทั่วไป สามารถมีครอบครัวได้ มีเพศสัมพันธ์ได้
แต่ต้องมีการป้องกันเพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้ได้รับเชื้ออื่นๆ เข้ามา เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้มีเชื้้อมีความบกพร่อง อาจจะเกิดการเจ็บป่วยทรุดลงหนักได้
ดังนั้น จึงขอแนะนำให้หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี และผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีความกังวลว่าจะติดเชื้อ HIV อย่าลืมตรวจเลือดที่คลินิกใกล้ฉันหรือสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ และตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ
ชุดตรวจที่จำเป็นเมื่อตรวจ HIV
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti HIV แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti TP (VDRL) แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip HBsAg แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip HAV IgMIgG Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti HCV แบบ One Step Test

พ.ญ.อรอุมา เพียรผล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 05/04/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com