เด็กแต่ละคนมีการพัฒนาการด้านต่างๆที่ไม่เท่ากัน เด็กบางคนก็มีพัฒนาการที่รวดเร็ว บางคนก็มีพัฒนาการที่ค่อนข้างช้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ พันธุกรรม, ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์, สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของเด็กเอง
คุณพ่อคุณแม่อาจกังวัลว่าลูกของคุณจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น วันนี้เลยเอาเรื่องพัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน มาฝากเพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้รับมือเมื่อลูกมีการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาการเด็กทารก คืออะไร?
พัฒนาการเด็ก ทารก (ฺBaby Development) คือ ลำดับของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ภาษา ความคิด และอารมณ์ของทารก ในช่วงอายุ 1 – 12 เดือน เป็นช่วงอายุที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ
เด็กแต่ละคนจะมีการพัฒนาทางด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันตามช่วงวัยและปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรม และเหตุการณ์ในช่วงก่อนการคลอด สภาพแวดล้อมและความสามารถในการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง เป็นต้น
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 1

ทารกช่วงอายุนี้ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่ชัดว่าพัฒนาการเด็กแต่ละคนจะออกมาในทิศทางเดียวกัน แต่ทารกโดยส่วนมากทารกในวัยนี้จะมีพัฒาการในด้านต่างๆ ดังนี้

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ทารกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากพื้นเล็กน้อยเมื่อนอนหงาย
- สามารยกศีรษะขึ้นได้ชั่วคราว เมื่อมีคนคอยช่วย
- กำมือไว้แน่นๆได้
- ดูดกำปั้นหรือนิ้วมือตัวเอง

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- เอามือแตะริมฝีปากเมื่อหิว
- หาวและโค้งกลับเมื่อกระตุ้นมากเกินไป
- ร้องไห้แทนการแสดงความรู้สึก
- ชอบการจ้องมองหน้า
- นิ่งหรือเงียบชั่วครู่เมื่อถูกสัมผัสตัว

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- มีตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ
- มีการสะดุ้งหรือขยับตัวเมื่อได้ยินเสียง
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
เด็กวัยนี้จะมีระดับการมองเห็นอยู่ในระยะ 8 – 10 นิ้ว ซึ่งตาของทารกจะยังไม่สามารถระบุสีได้อย่างชัดเจน ทารกจึงชอบมองหน้าของพ่อแม่แบบใกล้ๆและเฝ้าสังเกต และพวกเขาจะค่อนข้างตกใจได้ง่าย จึงควรของเล่นที่มีเสียงแบบสบายๆ มีสีที่ตัดกันชัดเจนแยกแยะได้ง่ายอย่างสีสด หรือสีขาวดำ เช่น
- โมบาย
- ตุ๊กตาที่นุ่มนิ่ม
- กล่องดนตรี
วัคซีนสำหรับเด็กช่วงวัยนี้
- วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
- วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)

พัฒนาการเด็กทารกในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่กำลังน่ารัก เพราะเจ้าตัวน้อยนั้นเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น โดยเจ้าตัวน้อยนั้นจะสามารถยิ้มให้คุณได้แล้ว

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ยกศีรษะขึ้น และเริ่มดันแขนขึ้นขณะที่นอนหงาย
- ทำให้ตัวเองเคลื่อนไหวง่ายขึ้นด้วยแขนและขา
- ขยับแขนและขาทั้งสองข้างได้ดีเท่าๆ กัน
- เอามือเข้าปากตัวเอง

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- แสดงความรู้สึกด้วยการร้องไห้หรือยิ้ม
- ส่งยิ้มให้คุณ
- มองตามพ่อแม่
- ทำเสียง “อู” “อือ” ในลำคอ
- ร้องเพื่อแสดงความต้องการ
- มองไปตามทางเสียง

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว
- มองสิ่งรอบข้าง
- สังเกตคนคนที่คุ้นเคยได้ในระยะไกล
- สะดุ้งกับเสียงดั
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
เช่นเดียวกับเด็กทารกช่วง 1 เดือน วัยนี้ก็ยังเหมาะกับของเล่นที่นุ่มนิ่มและไม่ก่อให้เกิดอันตราย และมีสีสันสดใสและตัดกันเพื่อดึงดูดความสนใจของลูก เช่น
- โมบาย
- หนังสือนุ่มนิ่ม
- กล่องดนตรี
- กระดิ่งลม
วัคซีนหลักสำหรับเด็กช่วงวัยนี้
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ เข็ม 1
- ปอลิโอชนิดกิน แบบหยอด ครั้งที่ 1
วัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนทดแทน
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ ชนิดไร้เซลล์ เข็ม 1
- ปอลิโอชนิดฉีด เข็ม 1
- นิวโมคอดคัส เข็ม 1
- โรต้าครั้งที่ 1
|
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 3
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 3 ทารกจะเริ่มมีความคุ้นเค้ยกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นและเริ่มมีการสื่อสารในวิธีของตัวเด็กเอง เด็กทารกจะเริ่มร้องไห้น้อยลงในขณะที่พวกเขาอยู่กับคนที่มีความคุ้นเคย

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ยกศีรษะและหน้าอกเมื่อนอนหงาย
- ขยับแขนและขาได้ง่ายขึ้น
- ควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- เงียบเมื่อได้ยินเสียงหรือสัมผัสสิ่งที่คุ้นเคย
- ยิ้มให้คน
- เพลิดเพลินกับการกอด
- หัวเราะคิกคักตอบ
- ร้องไห้เมื่อรู้สึกหิว หรือไม่สบาย

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- แยกความแตกต่างระหว่างอกแม่และขวดนมได้
- หันไปมองตามการเคลื่อนไหว
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ช่วง 3 เดือน แม้ว่าทารกจะยังมีพัฒนาการด้านต่างๆที่ยังไม่มั่นคงนัก แต่ก็สามารถทำได้หลายอย่าง การเลือกของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เช่น
- ของเล่นกรุ๋งกริ๋ง
- โมบาย
- ลูกบอลผ้า
- ตุ๊กตาเพลง
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 4
พัฒนาการเด็ก ทารกในเดือนที่ 4 การเคลื่อนไหวของทารกสามารถทำได้มากขึ้นจึงควรระมัดระวังในเรื่องของอุบัติเหตุ ไม่ควรวางทารกไว้บนที่สูงเพื่อป้องกันการพลัดตกลงมา รวมถึงควรเก็บวัตถุอันตรายให้ดีเพราะทารกอาจขว้าและนำเข้าปากได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
- จับศีรษะตัวเองแน่นๆโดยไม่ต้องให้คนช่วย
- คว้าและเขย่าของเล่น นำมือเข้าปาก
- วางเท้าลงบนพื้นแข็งๆได้
- นอนคว่ำและยกศีรษะตั้งขึ้น 45 องศา
- เอนตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง และม้วนตัวจากท้องไปด้านหลัง

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- ขยับมือและขาเมื่อรู้สึกตื่นเต้น
- เงียบและหยุดร้องไห้ เวลามีคนปลอบ
- ชอบเล่นกับคน เลียนแบบรอยยิ้ม หรือขมวดคิ้วตาม
- พูดเจื้อยแจ้วและเลียนแบบเสียง
- หัวเราะเสียงดัง
- ร้องไห้เพื่อแสดงความรู้สึกต่างๆ เช่น หิว เจ็บปวด หรือเหนื่อย

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- มองวัตถุที่เคลื่อนไหว กวาดสายตาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเพื่อดู
- สื่อสารได้ว่าเศร้า หรือมีความสุข
- มองหน้าเมื่อถูกป้อนอาหาร
- เอื้อมมือไปหยิบของเล่นและนำของเล่นเข้าปาก
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ดวงตาของเด็กทารกช่วง 4 เดือน จะมีการมองเห็นเฉดสีที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งทำให้อาจมีสีที่ทารกชอบเป็นพิเศษ และยังสามารถเฝ้ามองการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วได้ และรับรู้ถึงระยะตื้นลึกของวัตถุ ของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เช่น
- ของเล่นบีบมือมีเสียง
- ตุ๊กตาเพลง
- ยางกัด
- โมบาย
- กระจกพลาสติก
วัคซีนหลักสำหรับเด็กช่วงวัยนี้
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ เข็ม 2
- ปอลิโอชนิดกิน แบบหยอด ครั้งที่ 2
วัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนทดแทน
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ ชนิดไร้เซลล์ เข็ม 2
- ปอลิโอชนิดฉีด เข็ม 2
- นิวโมคอคคัส เข็ม 2
- โรต้าครั้งที่ 2
คลิกเพื่อดูโปรแกรมฉีดวัคซีนสำหรับเด็กได้เลยค่ะ |
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 5
พัฒนาการเด็ก ทารกในเดือนที่ 5 จะเริ่มมีเลียนแบบเสียงต่างๆที่พวกเขาได้ยิน และสามารถเอื้อมมือไปหยิบสิ่งของได้ด้วยตนเองในขณะที่กำลังนอนหงาย นอกจากนี้ยังยันแขนเหยียดขึ้นตรงได้ทั้งสองข้าง

พัฒนาการด้านร่างกาย
- เริ่มเอื้อมมือเพื่อไปหยิบจับสิ่งของเองได้
- นอนใช้แขนเพื่อยันตัวขึ้นตรง

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- ทำเสียงเลียนแบบ
- สนใจเสียงคนพูด

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- มองตามของเล่นที่อยู่ในมือ
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
เด็กวัยนี้สามารถหยิบจับของได้เองแล้ว ของเล่นที่เหมาะกับเด็กช่วงวัยนี้ควรเน้นของเล่นที่เน้นการหยิบจับเพื่อให้เด็กๆได้ฝึกการหยับจับสิ่งของให้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น เช่น
- ยิมเด็ก
- ผ้าห่ม
- กรุ๋งกริ๋ง
- นิทานบอร์ดบุ๊ค
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 6
พัฒนาการเด็ก ทารกในเดือนที่ 6 พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวค่อนข้างดี สามารถลุกขึ้นมานั่งตัวตรงได้ รวมถึงพลิกตัวได้ทั้งทางด้านซ้ายและขวา และยังมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นสามารถเล่นกับคนได้แล้ว

พัฒนาการด้านร่างกาย
- พลิกตัวได้ทั้งซ้ายและขวา
- เริ่มนั่งตัวตรงได้ด้วยความช่วยเหลือเล็กน้อย
- รองรับน้ำหนักขาทั้งสองข้างเวลายืนและอาจกระเด้งได้
- โยกตัวไปมาบนมือและเข่า อาจคลานไปข้างหลังก่อนจะก้าวไปข้างหน้า

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- จำหน้าคนที่คุ้นเคยได้ และเริ่มรู้ว่าใครเป็นคนแปลกหน้า
- ชอบเล่นกับคน โดยเฉพาะคนในครอบครัว
- ส่งเสียงเมื่อมีความสุข หรือไม่พอใจ
- ออกเสียงว่า “บาบาบา” “ดาดาดา” “มามะ”
- เข้าใจเมื่อพูดคำว่า “ไม่”
- เลียนท่าทางได้ เช่น พยักหน้าเพื่อบอก “ใช่” และส่ายหัวเพื่อบอก “ไม่”

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- ใช้มือและปากเพื่อสำรวจสิ่งต่างๆ
- ย้ายของจากมือข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งได้
- สนใจและมองสิ่งต่างๆรอบตัว
- ชี้นิ้วไปที่สิ่งของ
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ทารกวัยนี้จะมีความสนใจสิ่งรอบข้าและสามารถชี้นิ้วตามได้ เหมาะกับของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างประสานสัมพันธ์ตาและมือ เช่น
- รูปภาพสีตัดกัน
- นิทานภาพ
- ของเล่นมีเสียงถือได้
วัคซีนหลักสำหรับเด็กช่วงวัยนี้
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ เข็ม 3
- ปอลิโอ แบบหยอด ครั้งที่ 3
วัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนทดแทน
- คอตีบ – ไอกรน – บาดทะยัก -ฮิบ ชนิดไร้เซลล์ เข็ม 3
- ปอลิโอชนิดฉีด เข็ม 3
- นิวโมคอคคัส เข็ม 3
- โรต้าครั้งที่ 3
คลิกเพื่อดูโปรแกรมฉีดวัคซีนสำหรับเด็กได้เลยค่ะ |
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 7
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 7 ทารกจะเริ่มจำชื่อตนเองได้แล้วหากคุณเรียกพวกเขาด้วยชื่อบ่อยๆ และสามารถคลานไปมาได้เป็นเวลานานขึ้น ควรระวังบริเวณบันไดเพื่อป้องกันการพลัดตก

พัฒนาการด้านร่างกาย
- คลานและนั่งได้เป็นเวลานาน
- พยายามกวาดของเล่นเข้ามาใกล้ตัว
- พยายามยกศีรษะและไหล่ขึ้นเมื่อนอนหงาย

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- ทำเสียงว่า “ป้อ” “แม่” “ป๊า” ได้
- รู้จักชื่อตัวเอง

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- มองหนังสือที่อ่านได้นาน 2-3 นาที
- รู้สึกสนุกเวลาได้ยินคำซ้ำ
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
เด็กวัยนี้สามารถมองหนังสือได้นานขึ้นเพราะฉะนั้นการให้ลูกดูหนังสือในช่วงนี้ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดี และพวกเขายังชอบฟังคำซ้ำๆด้วย ของเล่นที่แนะนำสำหรับเด็กวัยนี้ เช่น
- ของเล่นกดมีเสียง
- บล็อกทรงเรขาคณิต
- หนังสือผ้า
- นิทาน
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 8
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 8 อาจเป็นช่วงที่ค่อนข้างวุ่นวายเพราะทารกจะเริ่มติดคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นและเริ่มกลัวการที่จะห่างจากคุณ บางคนอาจถึงขั้นต้องอุ้มตลอดเวลา แต่ก็มีเรื่องดีๆคือพวกเขาเริ่มที่จะยืนด้วยขึ้นด้วยตนเองได้แล้วในช่วงนี้

พัฒนาการด้านร่างกาย
- พยายามที่จะยืนด้วยตัวเอง
- สามารถถือถ้วยหรือขวดเพื่อดื่มเองได้

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- ชอบพูดบ่นงึมงำ
- ไม่อยากห่างจากพ่อแม่

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- จับสิ่งของชิ้นใหญ่มากัด ชิม หรือขว้าง
- มองที่มือตัวเองขณะทำกิจกรรม
- ชอบสำรวจ

ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ทารกในวัยนี้จะชอบการสำรวจ ลองเอาของไปซ่อนและให้พวกเขาหาดู แต่พยายามอย่าซ่อนในที่ๆหายากจนเกินไปเพราะลูกอาจหมดสนุกก่อนได้ และลองหาของเล่นอื่นๆที่มีสีสันสดใสมาเสริม เช่น
- ของเล่นกดมีเสียง
- บล็อกทรงเรขาคณิต
- หนังสือผ้า
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 9 เริ่มมีการตั้งทำท่า “ตั้งไข่” ก่อนทำการลุกขึ้นยืน และเริ่มพูดคำที่มีพยางค์เดียวได้ชัดขึ้น และยังคงติดคุณพ่อคุรแม่รวมถึงคนที่คุ้นเคย

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ตั้งไข่เพื่อเกาะเดินได้
- คลานได้
- อยู่ไม่นิ่

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- พูดคำที่มีพยางค์เดียวชัด
- แสดงความรู้สึกด้วยการยิ้ม ร้องไห้ และชี้นิ้ว
- ชอบของเล่นเป็นบางอย่าง
- ติดผู้ใหญ่ที่รู้สึกคุ้นเคย
- ร้องไห้เมื่อคุณจากไปและเขินอายกับคนแปลกหน้า

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- ชอบขว้างสิ่งของ
- ชอบแอบดู
- เปลี่ยนหน้าในหนังสือเองได้
- หยิบของเข้าปาก
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ควรเลือกของเล่นที่มีความปลอดภัยเพราะทารกจะชอบเอาของเล่นเข้าปาก รวมถึงเริ่มมีการขว้างสิ่งของ ของเล่นที่เหมาะกับเด็กช่วงวัยนี้ เช่น
- ของเล่นกดมีเสียง
- นิทาน
- ตุ๊กตาผ้า
- บล็อกทรงเรขาคณิต
วัคซีนหลักสำหรับเด็กช่วงวัยนี้
- หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน เข็มที่ 1
- ไข้สมองอักเสบเจอี เข็มที่ 1
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 10
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 10 ทารกสามารถเดินได้แล้วแต่ยังคงต้องให้คนคอยจูงอยู่บ้าง และเริ่มมีการโบกมือทักทาย หรือบอกลาได้ด้วย แต่คุณอาจต้องปวดหัวสักหน่อยเพราะพวกเขาเริ่มชอบการรื้อของแล้ว

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ทำมือจีบนิ้วหยิบลูกปัด
- นั่งลงจากท่ายืน
- จูงมือเดินได้

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- โบกมือทักทาย
- เข้าใจคำว่า “ใช่” “ไม่” “สวัสดี” และ “ลาก่อน”
- รู้จักการโบกมือ พยักหน้า

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- ชอบรื้อของ ค้นของ
- ยื่นมือให้คุณ
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัยเพราะเด็กวัยนี้ชอบรื้อของอาจก่ออันตรายหากวางขวดสารเคมีหรือสิ่งของมีคมไว้ใกล้มือ ลองหาของเล่นที่เน้นการพัฒนากล้ามเนื้อช่วงแขนอาจเป็นสิ่งของที่ทารกสามารถหยิบจับได้ง่าย เช่น
- บล็อกตัวต่อ
- รถลากของเล่น
- ตุ๊กตาหุ่นมือ
- ตุ๊กตาล้มลุก
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 11
พัฒนาการเด็กทารกในเดือนที่ 11 พวกเขาจะเริ่มเรียนรู้ความหมายของคำได้แล้ว เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้คำอย่างระมัดระวัง เพราะเจ้าตัวเล็กอาจเลียนแบบคำพูดหรือการกระทำในเชิงลบของคุณได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ชอบการชี้นิ้ว
- หยิบจับของได้มั่นคงขึ้น
- เฝ้ามองของที่กำลังหล่น

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- พูดได้แล้วแต่ไม่ชัด
- เลียนแบบพ่อแม่
- พูดพล่ามโดยเลียนแบบเสียงของคุณ

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- เล่นหรือใช้สิ่งของตามประโยชน์ได้
- รู้ความหมายของคำ
- รู้จักขั้นตอนการแต่งตัว
ของเล่นเสริมพัฒนาการ
ช่วงวัยนี้สามารถเล่นของเล่นได้หลายอย่างเพราะ ทารกเริ่มใช้สิ่งของได้ตรงตามประโยชน์มากยิ่งขึ้น ของเล่นที่แนะนำสำหรับช่วงวัยนี้ เช่น
- บล็อกตัวต่อ
- รถลากของเล่น
- ตุ๊กตาล้มลุก
พัฒนาการเด็กในเดือนที่ 12 หรือช่วง 1 ปี เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ต่างก็เฝ้ารอ เจ้าตัวเล็กในช่วงวัยนี้ถือว่าอยู่ในช่วงที่เติบโตขึ้นไปอีกขั้น สามารถสื่อสารได้เข้าใจ และยังสามารถทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่เจ้าตัวเล็กเริ่มดื้อและต่อต้านในบางสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบใจ

พัฒนาการด้านร่างกาย
- ดึงให้ยืนและเดินจับเฟอร์นิเจอร์ได้
- เข้าสู่ท่านั่งโดยไม่ต้องช่วยเหลือ
- ยืนเองได้โดยไม่ต้องช่วย
- เดินด้วยตัวเองได้

พัฒนาการด้านการสื่อสาร อารมณ์ สังคม
- ทำท่าทางง่ายๆ เช่น ส่ายหน้า “ไม่” หรือโบกมือ “ลาก่อน”
- พูดเป็นคำได้มากขึ้น
- ชอบคนและของเล่นบางอย่าง
- เลียนแบบเสียง ท่าทาง หรือการกระทำเพื่อเรียกความสนใจของคุณ
- แสดงความรักกับคนคุ้นเคย

พัฒนาการด้านการเรียนรู้
- นำสิ่งของเข้าและออกจากภาชนะได้
- เริ่มดื้อและต่อต้าน
- ชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ โดยการกระแทก เขย่า หรือขว้าง
- จิ้มด้วยนิ้วชี้
- ขีดเส้นในกระดาษได้

ของเล่นเสริมพัฒนาการ
พัฒนาการเด็ก ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กมีประสานสัมพันธ์ของมือและตาที่ค่อนข้างดี ของเล่นที่มีปริศนาไม่ซับซ้อนจนเกินไปก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี คุณควรเลือกของเล่นที่มีสีสันสดใส ซึ่งของเล่นที่พวกเขาเล่นได้มีมากมาย เช่น
- บล็อกตัวต่อ
- รถลากของเล่น
- ตุ๊กตาล้มลุก
- เครื่องดนตรีของเล่น
- กล่อง Busy cube
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพัฒนาการเด็กทารกแต่ละคน อาจมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และพันธุกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ หากคุณพบเห็นว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ช้าผิดปกติ หรือรู้สึกกังวล ควรพาบุตรหลานของคุณไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการตรวจค่ะ
“เพื่อป้องกันโรคร้ายในเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาลูกน้อยของคุณไปฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆให้ครบถ้วนตามที่กำหนด เพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคและอาการรุนแรงหากเป็นโรคร้ายค่ะ”

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 09/09/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com