TH
MM
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
บริการของเรา
ฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
แพทย์ประจำตัวโรคเบาหวานและความดัน
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค สมัครงาน,ทำใบขับขี่
ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร (10 โรค)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ (Work Permit Program)
ตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์เพื่อศึกษาต่อ
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ตรวจสุขภาพต่างด้าว)
ตรวจนรีเวชสำหรับสุภาพสตรี
ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิด
จี้หูด/ตัดติ่งเนื้อ/ฉีดคีลอยด์
ฉีดวัคซีน
วัคซีนเด็ก
วัคซีนผู้ใหญ่
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนโรคบาดทะยัก
บริการฉีดวัคซีนที่บ้าน
ฉีดวัคซีนองค์กรหรือรายกลุ่ม
ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หาหมอออนไลน์ Telemedicine
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Covid-19
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีวัยเก๋า
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โปรแกรมตรวจเตรียมตัวก่อนบวช
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนทำศัลยกรรม
โปรแกรมตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
โปรโมชั่นและแพ็คเกจ
เกี่ยวกับเรา
คลินิกของเรา
เกี่ยวกับเรา
สาขาตลิ่งชัน
สาขาดินแดง
สาขาคลองสาน
สาขาเจริญกรุง
สาขาอุดมสุข
แพทย์ประจำสาขา
ประสบการณ์จากผู้รับบริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
แผนที่คลินิก
ติดต่อเรา
คลินิกเวชกรรม
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้คุณ
วิธีการค้นหาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย
ความรู้สุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้
8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร
7 เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานกับอินทัชเมดิแคร์
การเตรียมตัวก่อนมารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การตรวจสุขภาพประจำปี
คำแนะนำก่อนตรวจสุขภาพประจำปี
การฝากครรภ์และตรวจหลังคลอด
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
การฝากครรภ์คุณภาพ
ความสำคัญของการฝากครรภ์
ฝากครรภ์แต่ละครั้งตรวจอะไรบ้าง
การดูแลสุขภาพมารดาช่วงตั้งครรภ์
วัคซีนที่จำเป็นในหญิงตั้งครรภ์
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่
การฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
ยาคุมแบบฝังและยาคุมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
12 ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง
ข้อควรคำนึงก่อนฝังยาคุม
แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุม
ถอดเข็มยาคุมแบบฝังต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง
หลังถอดเข็มต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง vs การทำหมัน แบบไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่ากัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ข้อแตกต่างระหว่างฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด
ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน ควรเลือกแบบไหน
ข้อแตกต่างระหว่างยาคุมแบบฉีดกับฝังยาคุม
การฉีดยาคุมกำเนิดมีข้อดีหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
วิธีการปฏิบัติตัวหลังการฉีดยาคุมกำเนิด
บทความน่ารู้เพื่อคุณ
บทความสุขภาพ
ลูกค้าองค์กร
Med refer
MED REFER คืออะไร
Med refer เข้าสู่ระบบ
Med refer ตรวจสอบผลตรวจ
เพิ่มเติม
TH
MM
คำถาม-คำตอบ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝังยาคุม
Last updated: 2022-05-06
|
1410 จำนวนผู้เข้าชม
|
เนื่องจากการป้องกันการตั้งครรภ์แบบชั่วคราวสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การฉีดยาคุม, การใส่ห่วง, การใส่ถุงยางอนามัย, การใช้แผ่นแปะ หรือการฝังยาคุม ซึ่งเป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน หากคุณต้องการฝังยาคุมแต่ยังมีข้อสงสัย และยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการนี้ดีหรือไม่ เรามี คำถาม คำตอบ ที่พบบ่อย เกี่ยวกับฝังยาคุม มาฝากให้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ฝังยาคุมคืออะไร?
ฝังยาคุม คือ วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ อีกทั้งยังป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3-5 ปี วิธีนี้เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ดีและมีประสิทธิภาพดีกว่าการคุมกำเนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการฝังยาคุม
1. ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด มักจะมีอาการคล้ายกับการใช้ยาคุมกำเนิดแบบทั่วไป คือ เจ็บคัดเต้านม มีอาการปวดศีรษะ เกิดสิว ฝ้า มีอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า และในช่วงแรกของการฝังยาคุมอาจมีประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย และจะค่อยๆ หายไป ซึ่งแต่ละคนอาจมีประจำเดือนที่แตกต่างกัน เช่น บางคนมีมากขึ้น ถี่ขึ้นกว่าปกติ บางคนมาช้า มาเร็ว หรือบางคนประจำเดือนอาจไม่มาเลยก็ได้
2. ฝังยาคุมแล้วอ้วนไหม
บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย และยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ชัดเจน ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการฝังยาคุมจริงหรือไม่ เพราะโดยส่วนใหญ่มักจะมีปัจจัยมาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมมากกว่า แต่ถ้ารู้สึกว่าน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น โดยไม่เกี่ยวการรับประทานอาหาร ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อาจเกิดจากภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น
3. ฝังยาคุมมีข้อห้ามอะไรไหม
ผู้ที่สงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีภาวะเลือดประจำเดือนผิดปกติ ผู้ที่เป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฝังยาคุมว่ามีผลกระทบต่อการรักษาโรค และการคุมกำเนิดหรือไม่
4. ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ต้องฝังยาคุมตอนไหน
หากประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา หรือไม่ต้องการรอรอบประจำเดือน สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการฝังยาคุมได้เลย เพียงแต่หลังจากการฝังยาคุมจะต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไปอีก 7 วัน เพื่อให้ยาคุมชนิดฝัง สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียก่อน
5. ประจำเดือนมา ฝังยาคุมได้ไหม
โดยปกติแล้วเพื่อให้ยาคุมสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การฝังยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมจะฝังระหว่างวันที่ 1-5 ของการประจำเดือนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหากประจำเดือนมา และอยู่ในช่วง 1- 5 วัน ของการประจำเดือน ย่อมฝังยาคุมได้อย่างแน่นอน
6. ฝังยาคุมแล้ว สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร
หากฝังยาคุมในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน สามารถมีเพศสัมพันธ์เลย แต่ถ้าฝังยาคุมในวันอื่นๆ ของการมีรอบเดือน และต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่กันไป เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น
7. การฝังยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้กี่เปอร์เซ็นต์
คำถามสุดท้ายที่หลายคนสงสัยก็คือการฝังยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้กี่เปอร์เซ็นต์ โดยหากเทียบกับการคุมกำเนิดแบบอื่นแล้วการฝังยาคุมนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดคือมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.05 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ในขณะที่การคุมกำเนิดแบบอื่นมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าคือ ใส่ห่วงคุมกำเนิด 0.2%, ยาฉีดคุมกำเนิด 0.2%, ยาเม็ดคุมกำเนิด 0.3%, สวมถุงยางอนามัย 2%, ยาคุมฉุกเฉิน 15-20% และ หลั่งภายนอก 27%
8. การฝังยาฝังคุมกำเนิด ฝังที่ใดของร่างกาย
การฝังยาฝังคุมกำเนิด จะฝังหลอดยาบริเวณต้นแขนด้านใน กึ่งกลางระหว่างรักแร้และข้อศอก โดยจะฝังเป็นรูปพัดในกรณีที่ใช้ 6 หลอด โดยฉีดยาชาให้ก่อนแล้วใช้สอดหลอดยา เข้าไปใต้ผิวหนัง แผลจะเล็กมากไม่ต้องเย็บแผลเพียงปิดด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ แผลจะหายเป็น ปกติ ภายใน3-5 วัน หลังจากทำไปแล้วไม่ให้ถูกน้ำ 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน จะนัดมาดูแผลอีกครั้ง
9. การใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะทำให้ผอม เป็นฝ้า ใบหน้าหมองคล้ำ มึนศีรษะ จริงหรือไม่
ไม่จริง การฝังยาฝังคุมกำเนิดไม่มีผลทำให้อ้วน หรือ ผอม และไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือ หน้าดำ อาการมึนศีรษะที่เกิดขึ้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับยาฝังคุมกำเนิด แต่ควรหาสาเหตุที่แน่นอนเสียก่อน
10. แพทย์นัดดูแผลหลังฝังยาคุม ไม่ไปพบมีอันตรายไหม
เนื่องจากแพทย์ต้องการดูแผลหลังฝังยาคุมเสร็จ และตรวจดูตำแหน่งยาคุมว่าอยู่บริเวณที่เหมาะสม รวมถึงสามารถคลำแท่งยาคุมเจอเพื่อสะดวกและง่ายต่อการถอดเข็มยาคุมออกเมื่อครบกำหนด ดังนั้นผู้รับบริการควรไปพบแพทย์ตามนัด
คำถามเหล่านี้เป็นคำถามยอดฮิตที่สาวๆ ส่วนใหญ่มักจะเกิดความสงสัยอยู่เสมอ ซึ่งการฝังยาคุมยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมนอกเหนือจากคำถามเหล่านี้สามารถขอคำปรึกษาได้ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขา โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉัน ใน Google หรือติดต่อผ่านช่องทางบนหน้าเว็บไซต์ เรามีแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำด้านสุขภาพ เพื่อให้คุณมั่นใจ และวางแผนการคุมกำเนิดได้ปลอดภัยมากที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line
081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คำถามที่พบบ่อย
การฝังยาคุมกำเนิด
မကြာခဏတွေ့ရသောမေးခွန်း
သန္ဓေတားဆေးပစ္စည်းထည့်သွင်းခြင်း
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2022-03-22
ลูกค้าของเรา
2022-05-03
10 อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
2022-05-06
บริการตรวจโรคติดต่อ STD เช็คเพื่อชัวร์
2022-03-25