ประเภทของสารเสพติดและวิธีการตรวจสารเสพติดมีอะไรบ้าง

ประเภทของสารเสพติดและวิธีการตรวจสารเสพติดมีอะไรบ้าง

สารเสพติดบางชนิดใช้ประโยชน์ในเชิงการรักษาได้ แต่ก็มีประเภทของสารเสพติดจำนวนไม่น้อยที่ถูกใช้อย่างผิดกฎหมาย การตรวจหาสารเสพติดมีความสำคัญสำหรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ อาทิ การสมัครงาน การบำบัดหรือฟื้นฟูผู้ป่วย ไปจนถึงการออกใบอนุญาตต่าง ๆ การตรวจสารเสพติดจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงประเภทและวิธีการตรวจสารเสพติดเพื่อความเหมาะสม ซึ่งในบทความนี้ได้ทำการรวบรวมสารเสพติด 13 ประเภทที่ควรเลือกตรวจอย่างถูกวิธีค่ะ

ตรวจเลือด

อะไรจากร่างกายที่ใช้ตรวจสารเสพติดได้บ้าง

การตรวจสารเสพติดในร่างกาย แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการตรวจ

ปัสสาวะ 

เป็นวิธีที่นิยมที่สุด สามารถบอกผลของสารเสพติดได้หลายชนิด มี 2 ขั้นตอนคือ ตรวจเบื้องต้นและขั้นยืนยันผล อาจมีความยุ่งยากเล็กน้อยในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ (โดยทั่วไปเก็บปริมาณไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิลิตร) แต่ราคาถูก ได้ผลรวดเร็ว ทั้งแบบซื้อที่ตรวจสารเสพติดมาทดสอบเองและการไปตรวจกับสถานพยาบาล


เลือด

เป็นวิธีที่แม่นยำกว่าการตรวจปัสสาวะ แต่ระยะเวลาที่มีโอกาสตรวจพบนั้นสั้น ไม่สามารถตรวจด้วยตนเองได้ ต้องไปทำการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญ ข้อผิดพลาดจึงน้อยกว่าวิธีอื่น แต่ใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีข้างต้น

เส้นผม

มักใช้ในกรณีบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดเรื้อรัง เพราะสามารถดูความถี่ ไปจนถึงรูปแบบการใช้ยาในช่วง 90 วัน หลังการใช้สารเสพติดครั้งล่าสุดได้ จึงมีราคาสูง การเก็บตัวอย่างจะเก็บจากผมด้านหลังศีรษะ ใช้กรรไกรตัดให้ใกล้หนังศีรษะมากที่สุด

  สามารถใช้ขนรักแร้ หรือขนส่วนอื่นๆ แทนได้   


น้ำลาย (ช่องปาก)

ใช้ตรวจการใช้สารเสพติดล่าสุด แทนการตรวจปัสสาวะ แต่ยังมีความแม่นยำน้อย เสี่ยงปนเปื้อน วิธีการคือใช้การสำลีถูกด้านในกระพุ้งแก้ม


เหงื่อ

วิธีนี้ไม่แพร่หลายนัก ค่าใช้จ่ายที่สูง ผลจะขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณยาที่รับประทาน และกระบวนการเผาผลาญของแต่ละบุคคล


ลมหายใจ

มีชื่อเรียกว่า Breathalyzer ผู้รับการตรวจต้องหายใจเข้าลึกๆ จากนั้นเป่าใส่หลอดเป่าของอุปกรณ์ ซึ่งจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข

วัดปริมาณแอลกอฮอล์

  ดูราคา ตรวจเลือด คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ 

ประเภทสารเสพติดที่จำเป็นต้องตรวจพร้อมวิธีตรวจสารเสพติด

1. แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ จัดเป็นสารเสพติดออกฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นสารเสพติดที่พบได้ในเครื่องดื่มอย่าง สุรา การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน การขับขี่บนท้องถนน

ทำได้โดยการใช้ Breathalyzer (เป่าลมหายใจ), การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือด


2. กลุ่มยาบ้า (Amphetamine) 

ยาบ้า หรือ Amphetamine อยู่ในกลุ่มสารกระตุ้นระบบประสาททำให้ผู้เสพรู้สึกตื่นตัว ในหลายบริษัทจะให้ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานและขอใบรับรองแพทย์ สารเสพติดกลุ่มนี้จัดเป็นอันดับแรกๆ ที่มีการระบุให้ตรวจ เพื่อความแม่นยำไม่ควรซื้อชุดตรวจมาตรวจเอง ควรเข้ารับการตรวจเพื่อส่งตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ


3. กัญชา

การตรวจ THC (Tetrahydrocannabinol) ในกัญชา การตรวจปัสสาวะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะสารส่วนใหญ่มักถูกขับออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ ในปัจจุบันมีตัวเลือกมากมาย ทั้งการใช้ชุดตรวจแบบสำเร็จ และการเข้าตรวจกับผู้เชี่ยวชาญ ส่วนวิธีที่มักใช้ในกรณีเร่งด่วนคือ การตรวจเลือด อย่างเช่น เกิดอุบัติเหตุ


4. โคเคน

การใช้โคเคนมีมานาน การเสพโคเคนร่วมกับแอลกอออล์ จะช่วยเพิ่มชนิดของสารที่ตรวจเจอและช่วยยืนยันผลการเสพ ในปัจจุบันมีการตรวจหาได้อย่างง่ายๆ จากชุดตรวจปัสสาวะ แผ่นแปะ แต่หากต้องการความแม่นยำแนะนำให้ตรวจเลือด


5. ยาเค

เคตามีน (ketamine) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่ายาเค เพื่อความสะดวกสบาย การตรวจหาจะนิยมตรวจคร่าวๆ โดยชุดตรวจแบบตลับหยด ใช้ปัสสาวะในการทดสอบ

  ตลับบอกค่ามีลักษณะคล้ายกับชุดตรวจโควิด-19 ที่ต้องแสดงผลสองขีดจึงจะหมายความว่ามีเป็นลบ (ไม่พบสารเสพติด)  


13 สารเสพติดที่ควรตรวจ

6. สารจำพวกโอปิออยด์

โอปิออยด์ (Opioid) เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน โคเคอีน เป็นต้น มักถูกสั่งจ่ายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด สารเสพติดที่รักษาโรคได้เหล่านี้จะเปลี่ยนประโยชน์เป็นโทษทันทีหากไม่อยู่ในความควบคุมของแพทย์ การตรวจสามารถทำได้ด้วยการส่งตัวอย่างปัสสาวะ เลือด ผม น้ำลาย หรือเหงื่อ 


7. สารระเหยเฟนไซลิดีน (PCP)

สารระเหยเฟนไซลิดีน (PCP) วิธีที่รวดเร็วและเป็นที่นิยมคือ ใช้ชุดตรวจ มีทั้งชุดตรวจปัสสาวะและชุดตรวจน้ำลาย ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นเชิงปริมาณเท่านั้น


นิโคติน

8. ยาอี/ยาเลิฟ

ยาอี ยาเลิฟ ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาทและหลอนประสาท แนะนำให้ตรวจกับสถานพยาบาลโดยใช้ตัวอย่างปัสสาวะ เลือด หรือผม


9. กลุ่มยาเสียสาว

ยาเสียสาว ถูกใช้ในถูกอย่างผิดกฎหมายเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ หากได้รับเกินขนาด เสี่ยงที่จะเสียชีวิต จะอยู่ในเส้นผมได้นานที่สุด ปัสสาวะรองลงมา และอยู่ในเลือดเป็นลำดับสุดท้าย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจตามความเหมาะสม


10. นิโคตินิน

นิโคตินถูกขับออกไปได้อย่างรวดเร็ว ใช้การตรวจนิโคตินินซึ่งสามารถสะสมอยู่ได้ 17-19 ชั่วโมง การตรวจโดยใช้ปัสสาวะจะนิยมที่สุด เพราะถูกขับออกมามาก นอกจากนี้จะใช้เลือดหรือน้ำลายก็ได้

การสูดดมจะทำให้ได้รับนิโคตินมากกว่าวิธีอื่น อย่างการสูบ/สูดบุหรี่


สนใจตรวจสารเสพติด ทักแชท

 

อีเฟดรีน

11. อีเฟดรีน

อีเฟดรีน (Ephedrine) ต้องระมัดระวังในการใช้ ส่วนใหญ่จะใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ตรวจพบในปัสสาวะได้ในระยะ 2-5 วัน หลังการใช้ นอกจากนี้ยังใช้วิธีตรวจเลือดได้ด้วย


12. เฟนเทอร์มีน 

เฟนเทอร์มีน (Phentermine) เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ เพื่อใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายในผู้ที่ต้องการรักษาโรคอ้วน อยู่ในร่างกายได้ประมาณ 4 วัน วิธีที่ใช้กันทั่วไปในการตรวจหาเฟนเทอร์มีนคือ ตรวจจากปัสสาวะ


13. ซูโดอีเฟดรีน

ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ใช้ในการรักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ บรรเทาอาการคัดจมูกและไซนัส อยู่ในเลือดได้นานประมาณ 2 วัน ควรตรวจโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาตามความเหมาะสมว่าจะตรวจโดยใช้ปัสสาวะหรือเลือด


สารเสพติดอยู่ในร่างกายได้นานแค่ไหน 

สารจำพวกโคเคน แอมเฟตามีน อยู่ได้หลักชั่วโมง กัญชา อาจอยู่ได้เป็นสัปดาห์ สารระเหยอาจอยู่ได้เป็นเดือน ทั้งนี้ล้วนขึ้นอยู่กับประเภทและปัจจัยอื่นๆ เช่น ปริมาณที่ใช้ ความถี่ในการใช้ เป็นต้น แต่โดยทั่วไปถูกร่างกายขับออกใน 3-4 วัน


กรณีใดบ้างที่ต้องได้รับการตรวจสารเสพติด

  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมหรือการขับขี่ที่เสี่ยงต่อต่ออุบัติเหตุ

  • การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือรักษา/บำบัด

  • การตรวจเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมอย่างการทหาร

  • การตรวจเป็นหลักฐานทางกฎหมาย

  • การบริจาคโลหิต เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อในเลือด

1. การซื้อชุดตรวจสารเสพติดมาตรวจเอง

ในปัจจุบันมีหลายบริษัทผลิตชุดตรวจสารเสพติดขึ้นมา เพื่อความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายต่อผู้ใช้ที่ไม่สะดวกเดินทาง ทั้งยังต้องการผลตรวจแบบรวดเร็ว

ก่อนตัดสินใจซื้อควรเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง

2. การตรวจที่สถานพยาบาล

การตรวจสารเสพติดที่สถานพยาบาล นอกจากผลการทดสอบที่แม่นยำก็จะเป็นเรื่องของความปลอดภัย สามารถซักถามเพื่อของคำแนะนำ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเอกสารยืนยันการตรวจสารเสพติด หรือมีอาการที่จำเป็นต้องใช้การประเมินเชิงลึก

 

ข้อควรคำนึงถึงเมื่อตรวจหาสารเสพติด

ควรพิจารณาหลายๆ เหตุผลประกอบกันเพราะทุกวิธีตรวจสารเสพติดมีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสารเสพติดชนิดนั้นๆ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ระดับความแม่นยำตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระ

บทความนี้ได้กล่าวถึง 13 ประเภทสารเสพติดที่จำเป็นต้องเลือกตรวจอย่างถูกวิธี สารกลุ่ม Amphetamine  หรือที่เรียกกันติดปากว่ายาบ้า เป็นประเภทของสารเสพติด ที่นิยมตรวจมากที่สุด ส่วนวิธีที่สะดวก ราคาถูก ใช้ตรวจอย่างแพร่หลายคือ ตรวจผ่านปัสสาวะนั่นเองค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ


 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 25/03/2024

page counter

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้