ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.

ใบรับรองแพทย์สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.

ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่ผู้ที่ต้องการขอใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน (airside driving permits) ต้องจัดเตรียมไว้ให้พร้อม ก่อนติดต่อยื่นเรื่องขอเพื่อขอรับใบอนุญาตตามกำหนดของระเบียบการบินพลเรือนไทย ว่าด้วยมาตรฐานของระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินงานสนามบิน พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย อันได้แก่ ระยะการมองเห็น ความสามารถในการเห็นสี การได้ยินเสียงและโรคต้องห้ามอื่นๆ

  โดยต้องใช้ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. เป็นเอกสารยื่นประกอบการพิจารณา ร่วมกับเอกสารจำเป็นตามที่กำหนด เช่น หนังสือแจ้งความประสงค์และแบบคำร้องขอรับการอบรม/ทดสอบเพื่อทำใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน สำเนาใบอนุญาตขับขี่จากกรมขนส่งทางบก สำเนาสัญญาจ้าง เป็นต้น  

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.


ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?

ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. คือ เอกสารสำคัญทางการแพทย์ที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและสภาวะทางจิตใจของผู้ที่มีความประสงค์สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานภายในพื้นที่เขตการบิน ทอท. และมีความจำเป็นต้องขอใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบินใหม่ หรือผู้มีความประสงค์ต่อใบอนุญาตขับขี่ฯในกรณีที่บัตรเก่าครบกำหนดหมดอายุ

ยานพาหนะที่ใช้ในเขตการบิน ที่จำเป็นต้องมี ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.

เพื่อใช้เป็นหนังสือรับรองทางการแพทย์ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ถูกต้องตามมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติและสุขภาพร่างกายของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ไม่ปรากฏอาการของโรคอันเป็นอุปสรรคในการขับขี่ยานพาหนะในระหว่างการปฏิบัติงาน ทั้งนี้แพทย์ผู้ทำการประเมินสุขภาพจะต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น


สนใจเข้ารับบริการ

เขตการบิน ทอท. คืออะไร?

เขตการบิน (airside) คือ พื้นที่ภายในสนามบินที่ใช้สำหรับการขึ้น-ลง และการขับเคลื่อนของอากาศยาน นอกจากนี้ยังนับรวมไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทั้งพื้นดิน อาคารหรือส่วนของอาคารที่ออกไปสู่พื้นที่นั้น ซึ่งมีการควบคุมการเข้า-ออก โดยมีองค์ประกอบสำคัญของเขตการบินภายในสนามบิน ได้แก่

  • รันเวย์

  • แท็กซี่เวย์

  • ลานจอดอากาศยาน (apron)

  • จุดเชื่อมต่อตัวอาคารผู้โดยสารกับอากาศยาน

  • สถานีดับเพลิงและกู้ภัย



โรคต้องห้ามที่กำหนดในใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. มีอะไรบ้าง?

ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. มีการกำหนดให้ประเมินสุขภาพร่างกาย จิตใจและมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ดังนี้

ตรวจผลเอกซเรย์ปอดหาเชื้อวัณโรค โรคต้องห้ามในใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.
  • โรคเรื้อนในระยะติดต่อ หรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม ที่เกิดจากการติดเชื้อ Mycobacterium leprae (M.leprae) ทำให้มีรอยตุ่มนูนแดงวงด่างขาว ผื่นรูปวงแหวนกระจายทั่วทั้งร่างกายและสามารถแพร่กระจายไปสู่บุคคลที่อยู่รอบข้างได้  

  • วัณโรคในระยะอันตราย (โดยจะพิจารณาจากผลเอกซเรย์ปอด ผลการตรวจมีอายุไม่เกิน 6 เดือน) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจเมื่อเข้าสู่ระยะกำเริบจะแพร่กระจายไปสู่บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดได้

  • โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรียเข้าไปอยู่อาศัยภายในระบบน้ำเหลืองจนเกิดการอุดตันส่งผลให้แขนบวม ขาบวม เต้านมขยายใหญ่ ฯลฯ

ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. และการตรวจระยะการมองเห็น
  • โรคติดยาเสพติดให้โทษ โดยใช้วิธีตรวจหาสารเสพติดแอมเฟตามีนในปัสสาวะ 

  • นอกไปจากนี้ยังมีการกำหนดรายการตรวจตามมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ได้แก่

  • ระยะการมองเห็น (โดย Snellen chart) ทั้งตาข้างขวาและตาข้างซ้าย จะต้องมีค่าการมองเห็นไม่ต่ำกว่า 20/40 ฟุต หรือเมื่อสวมใส่แว่นประกอบสายตาแล้วมีค่าการมองเห็นไม่ต่ำกว่า 20/40 ฟุต

  • ความสามารถในการมองเห็นสี (โดย Ishihara test 24 plates) ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่จะต้องสามารถแยกสัญญาณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีขาว ได้ตามปกติ

  • การได้ยินระดับเสียงพูดคุยปกติ (โดย Free-field hearing test) ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่จะต้องมีระดับการได้ยินการพูดคุยและสนทนาในระดับปกติ

ทั้งนี้ยังมีการประเมินสุขภาพอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ น้ำหนักตัว ความสูง ระดับความดันโลหิตและระดับชีพจร พร้อมการประเมินว่าบุคคลเหล่านั้นไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต จิตฟั่นเฟือนหรือปัญญาอ่อน ไม่มีอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่มีประวัติโรคลมชักหรือรับประทานยากันชัก รวมถึงไม่มีอาการของโรคเส้นเลือดในสมองหรือโรคทางระบบประสาทที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว

  โดยแพทย์ผู้ทำการตรวจประเมินสุขภาพจะต้องลงข้อสรุปความคิดเห็นและลายมือชื่อ พร้อมตราประทับของสถานพยาบาล/คลินิกกำกับในใบรับรองแพทย์สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. จึงจะกลายเป็นเอกสารใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งใบรับรองแพทย์ที่ใช้จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอจนถึงวันที่ต้องใช้เอกสาร (ใช้ฉบับตัวจริง)  


พบแพทย์เพื่อขอใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.

ตรวจร่างกายใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. ต้องตรวจที่ไหน ใช้ของคลินิกได้ไหม?

โดยทั่วไปแล้วการตรวจร่างกายเพื่อขอใบรับรองแพทย์ สำหรับทำใบขับขี่ทั่วไปรวมถึงใบขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาล/คลินิกเวชกรรมทุกแห่งที่รับตรวจ (ใช้แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. ตามกำหนด) ซึ่งส่วนใหญ่มักเลือกขอใบรับรองแพทย์ที่คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน

สนใจเข้ารับบริการ


ราคาขอใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.

ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. ราคาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาลหรือคลินิก

  ตัวอย่างใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.  


สำหรับใครที่ต้องการขอรับใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. ใบรับรองแพทย์คลินิกใกล้ฉัน สามารถติดต่อเข้ามาที่อินทัชเมดิแคร์ คลินิกในกรุงเทพ

เราพร้อมให้บริการตรวจสุขภาพอย่างครบครันพร้อมออกใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. โดยทีมเจ้าหน้าที่ พยาบาลและแพทย์ผู้ชำนาญการ ออกใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้องใช้งานทางการได้ตามกฎหมายแพทยสภาได้อย่างถูกหลัก สะดวกและรวดเร็วยิ่งกว่า หากสนใจสามารถค้นหา คลินิก ใกล้ฉัน อินทัชเมดิแคร์ สาขาใกล้ฉัน ใน google ได้เลย

รายการตรวจของใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
 แก้ไขล่าสุด : 27/10/2023

free hit counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้