Last updated: 7 พ.ย. 2566 | 161506 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อพูดถึงใบรับรองแพทย์ เชื่อว่าแทบทุกคนน่าจะเคยได้ยินหรือเคยขอมาบ้าง แต่ถ้าถามลงลึกไปว่าประเภทใบรับรองแพทย์มี่กี่แบบและแบบไหนบ้าง หลายคนก็อาจจะยังไม่สามารถตอบได้ครบ เพราะในความเป็นจริงนั้นเอกสารตัวนี้ยังแบ่งย่อยออกไปได้หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งในบทความนี้เราจะพาดูตัวอย่างใบรับรองแพทย์ ทั้ง 17 ประเภทให้ละเอียดมากขึ้น
ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารที่ออกโดยแพทย์ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตจากแพทยสภา เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้ถือใบรับรองแพทย์มีการเข้ารับการตรวจสุขภาพจริง โดยมีการลงรายละเอียดของผลตรวจ ลายมือชื่อแพทย์ผู้ตรวจรวมถึงวันและเวลาที่มาตรวจจริง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการขอใบรับรองแพทย์นั้นมีหลายอย่างด้วยกันอาทิเช่น เพื่อใช้ในการทำใบขับขี่,ต่อใบขับขี่, สมัครงาน, สมัครเรียน หรือใช้ลาป่วย เป็นต้น
ใบรับรองแพทย์ 17 ประเภทมีดังนี้ (เลือกเนื้อหาที่คุณต้องการ)
เริ่มต้นกันด้วย ตัวอย่างใบรับรองแพทย์ที่ออกให้สำหรับผู้มาตรวจรักษาจริง โดยวัตถุประสงค์ในการใช้นั้นเพื่อยืนยันสุขภาพหรือความเจ็บป่วยแล้วนำไปเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการประกันภัย, ใช้สิทธิ์สวัสดิการของบริษัทเอกชน สิทธิ์ข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งนักเรียนนักศึกษา รายละเอียดสำคัญในเอกสารประกอบด้วยข้อมูลของแพทย์และสถานพยาบาลที่ทำการตรวจ ข้อมูลของผู้รับการตรวจ ข้อมูลสุขภาพและความเห็นของแพทย์ อายุของใบรับรองแพทย์ปกติทั่วไปจะอยู่ที่ 30 วัน
ตัวอย่างใบรับรองแพทย์ สำหรับลาป่วย น่าจะเป็นแบบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้งานนั้นก็ตามชื่อเลยก็คือใช้เพื่อการลาป่วย เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ตามที่ควรได้และให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทหรือองค์กร โดยตามข้อมูลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานระบุว่าถ้าเป็นการลาป่วยไม่เกิน 3 วันติดกันโดยนับวันหยุด ไม่จำเป็นที่จะต้องยื่นใบรับรองแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถรักษาได้เองที่บ้าน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานด้วย
ใบรับรองแพทย์ 5 โรค เป็นใบรับรองการตรวจสุขภาพที่ใช้สำหรับการ สมัครงาน, ทำใบขับขี่, ต่อใบขับขี่ , สมัครเรียน หรืออื่นๆ โดยแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพและรับรองว่าผู้มาตรวจไม่เป็นโรคต่างๆ ใน 5 โรคนี้คือ
โรคเรื้อน / Leprosy
วัณโรคระยะอันตราย / Advanced Pulmonary Tuberculosis
ไม่ปรากฏอาการติดยาเสพติดให้โทษ / Drug addiction
โรคพิษสุราเรื้อรัง / Chronic alcoholism
โรคเท้าช้าง /Elephantiasis
ทั้งนี้การนำใบรับรองแพทย์ 5 โรค ไปใช้นั้นต้องอยู่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่มีการตรวจและออกใบรับรองแพทย์ (ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ 5 โรค)
ใบรับรองแพทย์สำหรับสมัครงาน ถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ยื่นกับหน่วยงานและองค์กรที่เราจะสมัครงาน เพื่อยืนยันจากทางแพทย์ว่าบุคคลนั้น ๆ ไม่มีปัญหาในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ หรือความพร้อมในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ใบรับรองแพทย์ สมัครเรียน เป็นเอกสารการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อยื่นศึกษาต่อ สมัครเรียนต่อ ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในแต่ละสถาบันอาจมีรายการตรวจเพิ่มเติมก็ได้
ใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่ คือใบรับรองแพทย์ 5 โรค ที่เป็นแบบฟอร์มเฉพาะที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเท่านั้น โดยมีการปรับปรุงล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ครอบคลุมทั้งการทำใบขับขี่ , ต่อใบชับขี่ , เปลี่ยนประเภทรถ
ส่วนที่ 1 ส่วนของผู้ขอใบรับรองแพทย์
เป็นข้อมูล ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และระบุผลประวัติสุขภาพ ได้แก่ โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัด ประวัติการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โรคลมชัก โดยต้องได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียด รวมทั้งประวัติโรคอื่นๆที่สำคัญ
ส่วนที่ 2 ส่วนของแพทย์และคลินิก
ส่วนของแพทย์ จะเป็นการระบุข้อมูลของแพทย์ผู้ตรวจ วันที่เข้ารับการตรวจ สถานพยาบาลที่ทำการตรวจ ระบุโรค 5 โรค ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับขี่ ตามที่ระบุเอาไว้ในแบบฟอร์ม รวมถึงข้อมูลทั่วไปและความเห็นของแพทย์
*การนำไปใช้ต้องอยู่ภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่มีการตรวจสุขภาพและออกใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ ต่ออายุตัวทนายใช้สำหรับจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และต่ออายุใบอนุญาตทนายความ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ต่ออายุตั๋วทนาย นอกจากผู้ที่เป็นทนายความจะมีความรู้ความสามารถในทางกฎหมายแล้ว สุขภาพร่างกายก็ต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ด้วยว่าปราศจากโรคอันตรายพร้อมจะปฏิบัติงาน
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ ต่ออายุตั๋วทนาย)
อ้างอิงจาก : แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ใบรับรองแพทย์ มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นเอกสารอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ที่ทำงานมัคคุเทศก์จะต้องมี สำหรับยื่นขออนุญาตเพื่อทำงานเป็นการยืนยันจากแพทย์ว่าสุขภาพร่างกายไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ มัคคุเทศก์)
อ้างอิงจาก : แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ กรมการท่องเที่ยว
ใบรับรองแพทย์ กพ หรือสมัครงานราชการ ตรวจโดยแพทย์ สรุปความเห็นและข้อแนะนำของแพทย์ ว่าต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด (ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ กพ)
หมายเหตุ : ควรตรวจสอบกับองค์กรหรือหน่วยงานที่จะยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์ก่อนว่าต้องเป็นใบรับรองแพทย์จากคลินิกหรือโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น
อ้างอิงจาก : แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ สำนักงาน ก.พ.
ใบรับรองแพทย์เพื่อทำ Work Permit คือ การตรวจสุขภาพชาวต่างชาติ เพื่อออกใบรับรองแพทย์ว่าผู้เข้ารับการตรวจไม่เป็นโรคร้ายแรง 6 โรค (ใบรับรองแพทย์ 6 โรค ) ดังนี้คือ
โรคเรื้อน / Leprosy
วัณโรคระยะอันตราย / Advandced Pulmonary Tuberculosis
โรคยาเสพติดให้โทษ / Drug addiction
โรคพิษสุราเรื้อรัง / Chronic alcoholish
โรคเท้าช้าง / Elephantiasis
โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 / Tertiary syphilis
ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์เพื่อทำ Work Permit สำหรับชาวต่างชาติ ปกติมีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่เข้ารับการตรวจ (ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ ใบรับรองแพทย์เพื่อทำ Work Permit)
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานหรือซ่อมแซมในสถานที่อับอากาศ เช่น บ่อ, ห้องใต้ดิน, ห้องนิรภัย, ท่อ, เตา, ถังไซโล, อุโมงค์, หลุม จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ที่ทำงานในสถานที่อับอากาศ ว่าไม่เป็นโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน อาทิ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว, โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและหลอดเลือดหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหอบหืด, โรคปอด, โรคลมชัก, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเกี่ยวกับระบบประสาท, โรคกลัวที่แคบ, โรคทางจิตเวช, โรคเกี่ยวกับการได้ยินและการมองเห็น ซึ่งในตอนท้ายแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ตรวจสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่
ทั้งนี้อายุของใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ที่ทำงานในสถานที่อับอากาศอยู่ที่ 1 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์กรณีมีโรคที่สุ่มเสี่ยงจะก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ที่ทำงานในสถานที่อับอากาศ)
สำหรับใบรับรองแพทย์ 10 โรค จัดเป็นใบรับรองแพทย์ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพบริการเช่น พ่อครัว แม่ครัว พนักงานเสริฟ ซึ่งโรคที่ตรวจส่วนใหญ่นั้นจะเน้นในเรื่องของโรคที่มีโอกาสติดต่อไปยังเพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่มาใช้บริการ โดยเอกสารใบรับรองแพทย์ 10 โรค นั้นประกอบไปด้วย
วัณโรค / Tuberculosis
อหิวาตกโรค / cholera
ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) / Typhoid fever
โรคบิด / Dysentery
ไข้สุกใส / Chickenpox
โรคคางทูม / Mumps
โรคเรื้อน / Leprosy
โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ / Dermatitis
โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส / Hepatitis
โรคอื่นๆ / Other (ขึ้นกับความต้องการของผู้รับบริการ)
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ 10 โรค)
หลายคนอาจจะสงสัยว่าใบรับรองแพทย์ 10 โรค(ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร) กับ ใบรับรองแพทย์ 10 โรคและต่างกันอย่างไร ขออธิบายว่าใบรับรองแพทย์ 10 โรค ก็คือใบรับรองแพทย์ 9 โรค ที่เพิ่มขึ้นการตรวจมาอีก 1 โรคแล้วแต่ผู้รับบริหารหรือบริษัทต้นสังกัดระบุว่าต้องการตรวจเพิ่มเติม
ทั้งหมดนี้คือ ประเภทใบรับรองแพทย์ 9 แบบ ที่คลินิกส่วนใหญ่ต้องมี โดยการจะขอใบรับรองแพทย์แบบไหนนั้นก็ขึ้นกับแต่ละองค์กรกำหนด ในการเข้ารับบริการจึงต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการขอใบรับรองแพทย์เพื่อวัตถุประสงค์ใดหรือต้องการนำไปใช้ด้านไหนให้ถูกต้อง
ใบรับรองแพทย์ สณ 11 หรือเรียกอีกชื่อว่า ใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร คือ ใบรับรองแพทย์ 10 โรค ที่เป็นแบบฟอร์มเฉพาะของผู้สัมผัสอาหาร โดยในแบบฟอร์มสณ 11 จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับแพทย์ผู้ทำการตรวจสุขภาพ ตำแหน่ง สถานพยาบาล รายละเอียดของผู้เข้ารับบริการพร้อมวันที่ ผลการตรวจโรค 9 โรค และ โรคอื่นๆ (ขึ้นกับความต้องการของผู้รับบริการ) ซึ่งตอนท้ายจะมีสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของแพทย์พร้อมลงลายมือชื่อยืนยันผลการตรวจ ซึ่งประโยชน์ของใบรับรองแพทย์ สณ 11คือเป็นการช่วยคัดกรองว่าผู้ที่สมัครงานหรือผู้กำลังจะเริ่มงานไม่เป็นโรคติดต่อที่อาจแพร่เชื้อไปสู่เพื่อนร่วมงานหรือผู้มาใช้บริการ รวมถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านสุขอนามัยอีกด้วย
สำหรับธุรกิจบางอย่าง เช่น ร้านอาหาร ผลิตอาหาร ครัวกลาง มีความจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ สณ 11 เพื่อยื่นขออนุญาตประกอบกิจการหรือต่ออายุ
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ สณ11 หรือใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร)
ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการขอใบอนุญาตทำงานหรือต่ออายุการทำงานของชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรไทย สำหรับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา
ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวมีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่เข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาต
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว)
ใบรับรองแพทย์ ทำงานบนที่่สูง สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูง พนักงานทำงานบนที่สูงต้องไม่เป็นโรคที่อาจเกิดอันตรายต่อการทำงานเช่น โรคลมชัก, โรคระบบหัวใจ,โรคกลัวความสูงหรือโรคหลอดเลือด เป็นต้น ช่วยให้ทราบถึงความแข็งแรงของร่างกายว่าพร้อมปฏิบัติงานหรือไม่ และรู้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจ
กระทบกับการทำงาน
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ สำหรับผู้ทำงานบนที่สูง)
ใบรับรองแพทย์สมัครเรียน รด. เป็นเอกสารสำคัญมากในการสมัครเรียน รด. เนื่องจากการฝึกฝนร่างกายที่ค่อนข้างหนัก หากนักเรียนท่านใดที่ต้องการเรียนวิชาทาร หรือ รด. จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพตามที่หน่วยรักษาดินแดนได้ระบุไว้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนมีความพร้อมทางร่างกายในการฝึก และไม่มีโรคร้ายที่สามารถติดต่อผู้อื่นได้เพราะค่ายฝึกนั้นมีผู้เข้ารับการฝึกเป็นจำนวนมาก หากมีการป่วยสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และหากผู้ฝึกเองมีโรคประจำตัวอาจส่งอันตรายต่อตัวผู้ฝึกเองด้วย
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์สมัคร รด.)
ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท. เอกสารสำหรับการขอใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน และใช้ในกรณีต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ฯในกรณีที่บัตรใบอนุญาตเก่าครบกำหนดหมดอายุ ซึ่งใบรับรองแพทย์นี้จะต้องทำการประเมินสุขภาพจะต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น
(ข้อมูลเพิ่มเติม ใบรับรองแพทย์ สำหรับการขับขี่ยานพาหนะในเขตการบิน ทอท.)
สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยหรือต้องการขอใบรับรองแพทย์กับทางอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมของเราสามารถติดต่อเข้ามาได้จากช่องทางต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ หรือเลือกใช้บริการสาขาใกล้บ้านจากการค้นหาผ่านคลินิกใกล้ฉันใน Google เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงระบบการทำงานที่จะช่วยให้คุณได้รับผลการตรวจที่รวดเร็ว แม่นยำ ในราคาที่สบายกระเป๋า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
@qns9056c
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
14 มี.ค. 2565
22 มี.ค. 2565
3 พ.ค. 2565