อาการแพ้ท้อง อาการเป็นยังไง อาการแบบไหนต้องไปหาหมอ

อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการปกติเกิดขึ้นได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน อาจมีอาการมากหรือน้อย แตกต่างกันไป แต่อาการแพ้ท้องไม่ได้น่ากลัวคุณแม่สามารถรับมือได้ แต่หากคุณแม่ท่านใดที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงก็จำเป็นที่ต้องไปพบแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

หากมีอาการแพ้ท้องมากสามารถไปพบแพทย์ที่คลินิกสูตินรีเวชที่ไปฝากครรภ์ได้ เพื่อจะได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกวิธีค่ะ

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการแพ้ท้อง


อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร?

อาการแพ้ท้อง เกิดจากอะไร

อาการแพ้ท้อง (Morning sickness) เป็นอาการที่เกิดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (ช่วงอายุครรภ์ 1-3 เดือน) รกจะสร้างฮอร์โมน hCG


โดยระดับฮอร์โมน hCG ที่สูงขึ้น

สัมพันธ์กับอาการแพ้ท้องในหญิงตั้งครรภ์
รวมถึงสภาวะทางจิตใจที่มีความเครียด
สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้องได้


อ่านบทความ : คลินิกสูตินรีเวช คลินิกฝากครรภ์โดยแพทย์เฉพาะทางสูติ

อาการแพ้ท้อง เป็นยังไง

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่สามารถสังเกตอาการแพ้ท้องได้ดังนี้

  • คลื่นไส้ 

  • อาเจียน 

  • วิงเวียนศรีษะ 

  • บางคนอาจมีความอยากในการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป

  • อาจรู้สึกเหม็น หรือมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นบางกลิ่น

คุณแม่ทั้งหลายมักจะมีอาการแพ้ท้องในช่วงเวลาเช้า เพราะตามที่กล่าวในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่าอาการแพ้ท้องนั้นสัมพันธ์กับฮอร์โมน hCG ซึ่งช่วงเช้าเป็นช่วงที่ฮอร์โมนตัวนี้มีความเข้มข้นที่สุดนั่นเอง

มีอาการแพ้ท้องรุนแรงพบแพทย์

สังเกตอาการแพ้ท้อง สัปดาห์แรกจาก

สังเกตอาการแพ้ท้องในสัปดาห์แรก จากอะไรได้บ้าง

อาการแพ้ท้องสัปดาห์แรกสามารถสังเกตได้จากขาดประจำเดือน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายจะเริ่มสร้างฮอร์โมน hCG และเริ่มสร้างรก


"ดังนั้นหากคุณแม่ท่านใดที่มีอาการ
ที่เข้าข่ายว่ากำลังแพ้ท้องอยู่นะคะ
แพทย์ขอแนะนำให้เข้ารับการ
ตรวจ
ยืนยันการตั้งครรภ์อีกครั้งค่ะ"



อ่านเพิ่มเติม : ตรวจการตั้งครรภ์หรือตรวจท้อง มีกี่แบบ รู้ผลเร็วสุดกี่วัน?

จะเริ่มมีอาการของคนแพ้ท้องตอนไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องตอนช่วงอายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ เนื่องจากฮอร์โมน hCG เริ่มมีปริมาณสูงมากขึ้น


แพ้ท้องกี่เดือนถึงจะหาย

อาการแพ้ท้องจะหายได้เองตอนอายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์ เนื่องจากอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ จะสร้างฮอร์โมน hCG ลดลง


ฝากครรภ์ ฝากท้อง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

วิธีรับมือหากมีอาการ

การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ควรเริ่มจากการประเมินความรุนแรงก่อน หากอาการไม่รุนแรง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น อาจช่วยลดอาการได้ เช่น

วิธีรับมืออาการแพ้ท้อง
  • รับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้แน่นท้องมากเกินไป

  • ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง  เพราะการปล่อยให้ท้องว่างอาจกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ได้

  • ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ อาหารแห้ง ขนมปังกรอบ

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมัน อาหารที่มีกลิ่นฉุน อาหารที่มีความเป็นกรดสูง และ อาหารที่มีรสหวานมากๆ

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น, ความร้อน, ความชื้น, เสียงดัง และแสงไฟกะพริบ เป็นต้น

  • รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิง   เพราะขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ำขิง ลูกอม-รสขิง 

  • พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ 

มีอาการแพ้ท้องรุนแรงพบแพทย์

รู้สึกพะอืดพะอม แก้อย่างไร

หากมีอาการรู้สึกพะอืดพะอมให้คุณแม่หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ไม่ว่าจะกลิ่น เสียง ความร้อน อาหารบางชนิดแต่หากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการแล้ว แต่พบว่าอาการยังไม่ทุเลาลง

คุณแม่สามารถมาพบแพทย์และปรึกษาเพื่อรับยาที่ช่วยลดอาการได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิตามินบี 6 และยาตามอาการอื่น ๆ


คำแนะนำจากแพทย์เมื่อมีอาการแพ้ท้อง โดยแพทย์

แพ้ท้องหนักมากแค่ไหนต้องไปพบแพทย์

หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงตลอดเวลา จนกินอะไรไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำและอาหาร น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ อาจพบความผิดปกติของเกลือแร่, ไทรอยด์ฮอร์โมน และการทำงานของตับร่วมด้วย จนเกิดภาวะแพ้ท้องรุนแรง (Hyperemesis gravidarum) ควรไปพบแพย์เพื่อโดยด่วน เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

แนะนำควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์หรือทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ให้คำแนะนำ และวางแผนการฝากครรภ์ได้อย่างเหมาะสม “อาการแพ้ท้อง…รับมือได้ หากเข้าใจ
- แพทย์หญิง สุพรรษา  เหนียวบุปผา (แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำคลินิก) -

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้