คันช่องคลอด คันอวัยเพศหญิง สาเหตุและการรักษาที่สาวๆ ต้องรู้

คันช่องคลอด คันอวัยเพศหญิง

คันช่องคลอดหรือคันอวัยเพศหญิง เป็นอาการที่สาวๆหลายเคยเจอ หรือกำลังเจอปัญหานี้อยู่ เมื่อเจอปัญหานี้แล้วบางคนตัดสินใจรักษาด้วยการซื้อยามาทานเอง ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ได้รับยาที่ไม่ผ่านการปรึกษาจากแพทย์ และเกิดเป็นกรณีการรักษาอาการคันอวัยวะเพศที่ไม่ตรงจุด เพราะฉะนั้นท่านใดที่มีอาการดังที่กล่าวมาควรมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกวิธี 

วันนี้เราจะพามาดูว่าอาการคันอวัยเพศหญิง เกิดจากอะไร สาเหตุมาจากไหน จะมีวิธีการบรรเทาอาการคันช่องคลอดอย่างไร รวมไปถึงวิธีการรักษาอาการคันอวัยเพศหญิงด้วยค่ะ 

คันช่องคลอด คืออะไร

คันช่องคลอด (Vaginal Itching) คือ อาการคันบริเวณอวัยวะเพศหญิงซึ่งคันได้ทั้งภายนอกและภายในช่องคลอด ได้แก่อาการคันเนินอวัยวะเพศหรือเนินหัวหน่าว (mons pubis), บริเวณขน, ปุ่มคลิตอริส (Clitoris), แคมใหญ่ (Labia Majora), แคมเล็ก (Labia Minora), กลีบ และคันเข้าไปในช่องคลอด ช่องปัสสาวะ (Urethral Opening) จนถึงปากช่องคลอด (Vaginal Opening) อาจจะส่งผลให้มีการติดเชื้อในช่องคลอดหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงมีอาการตกขาวผิดปกติ ปัสสาวะแสบขัด ร่วมด้วย

คันช่องคลอด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คันอวัยวะเพศ มี 2 แบบคือ คันภายนอกอวัยวะเพศ และคันภายในอวัยะเพศ ซึ่งมีสาเหตุการคันไม่เหมือนกัน ตามรายละเอียดด้านล่าง


คันช่องคลอด หรืออาการคันอวัยเพศหญิง เกิดจากอะไร

คันภายในช่องคลอด  โดยปกติแล้วในช่องคลอดของมนุษย์เรานั้นมีเชื้อประจำถิ่นอยู่แล้ว (Normal vaginal flora) การคันในช่องคลอดจึงมักเกิดจากการติดเชื้อต่างๆดังต่อไปนี้

  1. ติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) มักมีตกขาวสีเหลือง มีกลิ่นคาวร่วมด้วย

  2. ติดเชื้อรา (Candidal vaginitis) มักมีตกขาวเป็นลิ่มสีขาวๆ คล้ายก้อนแป้ง

  3. ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น  โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomonas vaginitis) มักจะมีอาการคันมาก ตกขาวมีสีเหลืองเขียว , โรคหนองใน และหนองในเทียม (Gonorrhea / Chlamydial infection)

หมายเหตุ : การสวนล้างช่องคลอด อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดอาการตกขาวผิดปกติและคันภายในช่องคลอดได้

คันภายนอกช่องคลอด

คันภายนอกช่องคลอด สาเหตุที่พบเจอได้บ่อยจะมีดังนี้

  1. การโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ

  2. การระคายเคืองจากผ้าอนามัย, ชุดชั้นใน หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

  3. การเสียดสีจากการใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กเกินพอดี

  4. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)

  5. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

  6. โรคเริม (Genital herpes) อาจทำให้เกิดอาการคันได้ในบางกรณี แต่ส่วนมากมักมีอาการปวด แสบ มากกว่า

  7. โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar cancer) อาจจะมีแผลเรื้อรัง และเลือดออกจากแผลร่วมด้วย


อาการคันอวัยเพศหญิง เกิดจากอะไร

สาเหตุอื่นๆของการคันช่องคลอดหรือคันอวัยเพศหญิงที่พบได้น้อย และพบเจอในคนไข้เฉพาะกลุ่ม

  1. กลุ่มคนไข้ที่หมดประจำเดือนไปแล้ว (postmenopausal women) อาจมีปัญหาเรื่องช่องคลอด และปากช่องคลอดแห้งจากระดับฮอร์โมนเพศที่ต่ำลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและรับยาฮอร์โมนทดแทนหากมีอาการดังกล่าว

  2. กลุ่มคนไข้อื่นๆ เช่น ได้รับอุบัติเหตุช่องคลอดฉีกขาดขณะคลอดบุตร หรือมีโรคมะเร็งบางชนิด ที่ทำให้เกิดรูเชื่อมระหว่างช่องคลอด และลำไส้ใหญ่ (fistula) อาจทำให้มีอุจจาระไหลออกจากช่องคลอด โดยไม่รู้ตัวได้ ทำให้มีอาการคันช่องคลอดต่อเนื่อง และมีอาการตกขาวเรื้อรังที่รักษาไม่หาย


อาการคันช่องคลอดของผู้หญิงตั้งครรภ์

อาการคันช่องคลอดของผู้หญิงตั้งครรภ์

  1. โดยทั่วไปแล้ว ด้วยระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการตกขาวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงอาการคันช่องคลอด

  2. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรดูแลช่องคลอดอย่างเหมาะสม ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หลีกเลี่ยงการเกา ถู และเสียดสี พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และไม่กลั้นปัสสาวะ

  3. อย่างไรก็ตามหากมีอาการตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนแป้งเพิ่มขึ้น หรือตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น อาจจะต้องพิจารณาเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อร้ายแรง


ทำอย่างไรหากมีอาการคันช่องคลอด, วิธีการบรรเทาอาการคันช่องคลอดเบื้องต้น

หากมีอาการอื่นใด นอกเหนือจากอาการคันช่องคลอด ให้พบแพทย์เพื่อทำการประเมินเพิ่มเติม หากมีอาการคันอวัยเพศหญิงภายนอก โดยไม่มีอาการอื่นร่วม อาจพิจารณาบรรเทาอาการดังต่อไปนี้

  1. ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ที่อ่อนโยนวันละ 1 ครั้งเฉพาะภายนอก

  2. งดเว้น การใช้สบู่ที่มีสารทำความสะอาดรุนแรง (เช่นสบู่สมุนไพร หรือสบู่ที่ใช้แล้วมีความตึงผิวสูง) บริเวณจุดซ่อนเร้น ให้ใช้สบู่ที่มีความอ่อนโยน หากจำเป็น *การใช้สบู่ที่มีความรุนแรงมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณปากช่องคลอด ทำให้ผิวหนังแห้ง และคันมากขึ้น

  3. ห้ามสวนล้างช่วงคลอดโดยเด็ดขาด

  4. หลังเสร็จกิจจากการถ่ายหนัก ควรทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนัก

  5. หลีกเลี่ยงการเสียดสีจากการใส่กางเกงในที่มีขนาดเล็กเกินพอดี

  6. หลีกเลี่ยงการใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดเข้าไปในช่องคลอด


อาการคันช่องคลอดที่ควรพบแพทย์

อาการอื่นที่พบร่วมกับอาการคันช่องคลอดและอาการที่ควรพบแพทย์

อาการร่วมที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการตกขาวผิดปกติ ซึ่งมักมีสาเหตุจากการติดเชื้อที่กล่าวไปข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมอื่นๆที่พบได้ ดังนี้

  1. มีไข้

  2. ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย

  3. มีแผลบริเวณปากช่องคลอด

  4. มีอาการปัสสาวะขัด

  5. มีเลือดออกผิดปกติ

หากมีอาการร่วมข้อใดข้อหนึ่ง ให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินเพิ่มเติม


ขั้นตอนที่แพทย์ต้องตรวจเช็คเมื่อมีอาการคันช่องคลอด

  1. ซักประวัติอาการร่วมอื่นๆที่มากับอาการคันช่องคลอด รวมไปถึงประวัติเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน

  2. แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อประเมินรอยโรคบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด รวมไปถึงปากมดลูก อาจพิจารณาเพื่อส่งตรวจหาเชื้อ หากมีลักษณะที่บ่งถึงการติดเชื้อร่วมด้วย


การรักษาอาการคันช่องคลอด

การรักษาอาการคันช่องคลอด

1. แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาอาการคันช่องคลอด คันอวัยเพศหญิง จากอาการร่วมเป็นหลัก หากมีอาการตกขาวผิดปกติร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้ยาดังต่อไปนี้

  • คันช่องคลอด ร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะรับประทาน เช่น Metronidazole, Clindamycin หรือ Doxycycline

  • คันช่องคลอด ร่วมกับการตกขาวที่มีลักษณะเหมือนเชื้อรา อาจพิจารณาให้ยาเหน็บในช่องคลอด เช่น Clotrimazole ชนิดเหน็บ

  • คันช่องคลอด ร่วมกับประวัติเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อครอบคลุม เชื้อโรคในกลุ่มหนองใน เช่น Ceftriaxone ชนิดฉีด ร่วมกับยารับประทาน Azithromycin

2. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาทา หากมีเพียงอาการคันบริเวณภายนอก ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะอาการร่วม เช่น ยา Clotrimazole cream หรือ Low-strength corticosteroid เป็นต้น

3. อาการคันช่องคลอด อาจพิจารณาให้ยาแก้แพ้รับประทานในกลุ่ม Anti-histamine เพื่อลดอาการคันได้เช่นกัน


เอกสารอ้างอิง

  • รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. ภายใน’ ดูแลอย่างไรดี. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 

  • ผศ.นพ. ชัยเลิศ พงษ์นริศร. ภาวะตกขาว (Vaginal Discharge). คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

  • Barad, D. H. Vaginal itching and discharge - gynecology and Obstetrics. MSD Manual Professional Edition.


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล
  แก้ไขล่าสุด : 27/12/2023

page counter
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้